Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    ความเสี่ยงจาก "ถ่ายเลือด" และ/หรือ "การให้พลาสม่า"

    ที่เขียนเรื่องนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านการถ่ายเลือด หรือการใช้พวกพลาสม่า หรือซีรั่ม ในการรักษาโรคในสัตว์นะครับ เพียงแต่ความที่เป็นหมอเราก็ต้องชี้ข้อดีข้อเสีย เพื่อประโยชน์ต่อชีวิตสัตว์ที่เรารักครับ

    เลือดปกติ หรือที่หมอเรียกว่า Whole Blood นั้นจะประกอบด้วย 3 ส่วนเมื่อนำไปปั่นเหวี่ยง คือ
    1 ชั้นของเม็ดเลือดแดง
    2 ชั้นของ Buffy coat ซึ่งจะเป็นชั้นของเม็ดเลือดขาว และพยาธิในเม็ดเลือดบางชนิดถ้ามีก็หาเจอในชั้นนี้แหละ นอกจากนี้ยังพบพวกเกล็ดเลือดก็อยู่ในชั้นนี้เช่นกัน
    3 ชั้นของ Plasma หรือน้ำเลือดนั่นเองครับ ซึ่งจะมีพวกสารประกอบโปรตีน สารอาหารต่างๆ (ไว้เลี้ยงเลือด) สารที่ทำให้เลือดแข็งตัว ฮอร์โมน รวมถึงพวกสารที่เป็นภูมิคุ้มกันที่เราเรียกว่าพวก Immunoglobulins ต่างๆก็อยู่ในพวกโปรตีนที่ว่ามา

    ซึ่งวันนี้ผมอยากเน้นไปในเรื่องของพลาสม่า และ/หรือ ซีรั่ม เป็นหลักนะครับ

    ปัจจุบันในคนมีการคัดแยกพวก พลาสม่า หรือเกล็ดเลือด จากผู้ให้ หรือ Donor เพื่อนำมารักษาโรคในผู้ป่วย สำหรับในคนนั้นเป็นเรื่องง่ายมากที่จะแยกเจ้าสองสิ่งนี้ออกมาจากเลือดเราๆนี่แหละ เพราะเขามีเครื่องที่เรียกว่า Apheresis (แปลตรงตัวว่า to remove) เจ้าเครื่องที่ว่านี้ก็ใช้หลักการปั่นเหวี่ยงเซลล์ตามน้ำหนักนี่แหละ แต่เค้าจะมี chamber หรือที่เก็บและแยกเซลล์ชนิดต่างๆแตกต่างกันออกไปตามชนิดของเซลล์....ไม่ใช่ว่ามีเครื่องก็ทำได้นะ ต้องซื้อ chamber จำเพาะต่อชนิดของเซลล์ด้วย รวมถึงเครื่องก็ต้องมีโปรแกรมรองรับด้วย

    กรณีของการปั่นแยกเอาเฉพาะเกล็ดเลือด เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ สเต็มเซลล์ ก็เช่นกันครับใช้เครื่องที่ว่านี้แยกทั้งนั้นครับ

    มาพูดถึงพลาสม่ากันเป็นหลักของวันนี้ก่อน.....นอกจากที่ผมเขียนข้างต้นแล้วว่าพลาสม่าหรือ ซีรั่มนั้นมันมีสารอะไรอยู่ข้างในแล้วนั้น มันก็มี "เชื้อโรค" หรือสิ่งปนเปื้อนอีกอยู่เช่นกัน เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ปรสิต ซึ่งล้วนแต่มีผลกระทบหากนำไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย หรือหมาป่วยทั้งสิ้นครับ

    ลองอ่านนี้ดูครับ ผมลอกเค้ามาเป็นของคนนะ

    1) Transfusion-associated bacterial sepsis is estimated to occur in 1 case per 6 contaminated units transfused , and can be fatal in up to 1 in 4 cases.

    2) In the UK, Serious Hazards of Transfusion (SHOT) data from 1996 to 2001 indicate that 60% of all reported cases of transfusion-transmitted infection were attributed to bacterial contamination.

    3) In France, Haemovigilance Network data reported 15% of transfusion-related deaths between 1996 - 1997 were due to bacterial contamination

    นี่ขนาดของคนที่เราทำอย่างสะอาดที่สุด ทุกขั้นตอนมีการตรวจสอบ เรายังพบว่ามีการปนเปื้อนสูงขนาดนี้ได้เลยครับ

    นอกจากนี้ที่น่ากลัวคือ ระยะ window period หรือระยะฟักตัวของเชื้อโรคที่ยังไม่แสดงอาการออกมา ก็เป็นสิ่งที่น่ากลัวมากครับว่า ผู้ป่วยหากได้รับเชื้อระยะฟักตัวเข้าไปแล้ว ไม่นานหลังจากนั้นโรคอื่นจะเข้ามาแทรกอีก หากเป็นโรคร้ายแรงก็คงรู้ๆกันนะครับว่าคำตอบคืออะไร $%^&*

    กลับมาที่หากการปั่นไม่ดี หรือดีแต่ไม่เพียงพอ เช่น มีการปนเปื้อนของเม็ดเลือดขาวล่ะ ??? อย่าคิดว่าถึงแม้จะใช้เครื่องอย่างดีราคา 3 ล้านบาท มันก็ไม่แน่ที่จะมีการปนเปื้อนครับ อย่าลืมว่าชั้น Buffy coat มันติดกะชั้นพลาสม่า ไม่มีทางทีเราจะปั่นให้ตายยังไงเม็ดเลือดขาวจะตกไปอยู่ในชั้น Buffy coat ทั้ง 100% หรอกครับ "ไม่มีทาง" เซลล์มันก็มีฟุ้งอยู่ในชั้นพลาสม่าบ้างอยู่ดีแหละ ต่อให้ตั้งค่าตามค่ามาตรฐาน 3000 รอบ 4 องศาเซลเซียส 3 นาที ไอ้เจ้า 3000 รอบของเครื่องนี้ก็ไม่เท่ากับ 3000 รอบของเครื่องอีกรุ่นด้วยซ้ำ

    ...เมื่อมีการปนเปื้อนเม็ดเลือดขาวแล้วอะไรจะเกิดขึ้น ในหมาก็จะเกิดปฏิกิริยาของเจ้า Dog Leukocytic Antigen (DLA) อ่ะดิ ผลที่ตามมาคือ การไม่ยอมรับเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายเข้าไปที่เรียกว่า Graft versus Host Disease (GVHD) หากเป็นน้อยก็แค่ผื่นขึ้น มีไข้ สูงขึ้นมาก็ถ่ายพุ่งเป็นเลือด และตายได้

    ในคนนั้นหมออาจต้องเฝ้าระวังการเกิด GVHD ตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 1 ปีครับ เพราะหากเป็นแบบเฉียบพลันก็เห็นผลทันทีทันใด หากเป็นแบบเรื้อรังมันก็เห็นผลช้าออกไป

    ในคนมี HLA ในหมาคือ DLA ขนาดในคนนั้นโอกาสที่พ่อแม่จะมี HLA ตรงกะของลูกยังแค่ 1 ใน 4 ครับ (ตามกฎของเมนเดล) ดังนั้นในหมาจึงยิ่งต้องระวังครับ เพราะยิ่งหมาต่างสายพันธุ์ ข้ามพันธุ์ยิ่งมั่วนั้น DLA ก็จะยิ่งมั่วครับ

    ในประเทศไทยตำราใหม่เค้าคาดว่า โอกาสที่คนไทยมี HLA ตรงกันนั้นมีเพียง 1 : 20000 (สองหมื่น) เรียกว่าซื้อหวยยังง่ายกว่า สองปีที่แล้วเค้าว่า 1 : 50000 ครับ........

    เอาหล่ะ...แล้วผมมีแต่พูดในแง่ให้ระวังนู่นระวังนี่ แล้วจะให้ทำไง...%^&*) ...เออนั่นดิ...ตอบแบบทำข้อสอบตอนเรียนมหาลัยเลยครับว่า

    1 เรียนรู้ Basic ให้ถ่องแท้ครับ พื้นฐานไม่แข็งแรง สร้างเจดีย์ยังไงก็ล้ม

    2 สมมติฐานมีแล้ว ก็มาทดลองในหลอดทดลองก่อนใช้ชีวิตสัตว์ที่แท้จริงครับ เพราะจาก Basic มันบอกว่าอันตรายนะ

    3 สร้างมาตรฐานตั้งแต่การเจาะเลือด อาจใช้เข็มระบบปิด หรืออยากได้แต่น้ำเลือดใช่ม่า...หาซื้อหลอดของบริษัท BD รุ่น SST II Advance สิ เค้ามีเจลแยกชั้นซีรั่มให้ด้วย.....แต่ศึกษาก่อนนะว่าเจลนี้ปลอดภัยไม่มีสารตกค้างต่อผู้ใช้ หากต้องนำไปฉีดกลับหลังจากปั่นให้คนไข้ ...อันนี้ผมไม่รู้นะ

    4 ไอ้เรื่องปนเปื้อนสิ่งต่างๆที่ผมได้กล่าวมา เราต้องทำไงก็ได้เพื่อทำการ Inactivate มัน คือ ทำให้มันไม่สามารถทำงานได้ เช่น ผ่านการใช้ UV เพื่อ inactivate มันเป็นต้นครับ

    หากทำได้ 4 ข้อ เท่าที่ผมนึกได้ตอนนี้หลังตื่นนอน ผมเชื่อว่า พลาสม่า หรือซีรั่มที่ได้นั้นก็จะมีมาตรฐาน และสามารถนำไปใช้ได้อย่างสบายใจครับ และก็อาจเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการรักษาอย่างที่คุณ I am Soda หวังและตั้งใจไว้ครับ ผมถึงบอกว่าไม่มีการ "จับผิด" ครับ แต่เราต้อง "จับถูก" ให้เป็น ในเมื่อเราแย้งอะไรใครไปนั้น เราก็ต้องมี "ทางออก" ให้เค้าด้วย

    เมื่ออ่านเรื่องนี้จบอีกสิ่งที่จะได้คือ การใช้เม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Pack red cells) นั้นดีกว่าการใช้ Whole blood ไปให้ในหมาป่วยที่ต้องการเลือดครับ

    ....หากข้อเขียนครั้งนี้มีอะไรผิดพลาดก็รบกวนผู้รู้แก้ไขให้ด้วยนะครับ....

     
     

    จากคุณ : Dr. Doggy - [ 14 มี.ค. 52 12:48:34 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป


Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com