Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
เลี้ยงผึ้งจิ๋ว...........ต่อ  

บทที่ 1
ถิ่นกำเนิดของชันโรง
( Origin of Stingless Bees )

จากหลักฐานการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของผึ้งที่พบนั้น มีตัวอย่างและยกระดับอายุของซากดึกดำบรรพ์สูงขึ้นมาเป็นลำดับ เริ่มจากบรรพบุรุษของผึ้งรวงมีอายุประมาณ 30 ล้านปี และได้หลักฐานทางประวัติศาสตร์เพิ่มขึ้นอีกว่าผึ้งนั้นกำเนิดมานานกว่า 38 ล้านปีมาแล้ว จนกระทั่งพบซากดึกดำบรรพ์ของชันโรงโดยศาสตราจารย์มิชเชนเนอร์และกลิมัลดีตีพิมพ์ข้อมูลการค้นพบในปี1988 รายงานว่า ซากชันโรงที่พบมีอายุประมาณ 83 ล้านปี มีชื่อว่า Trigona prisca ซึ่งกำเนิดขึ้นทีหลังไม้ดอกอย่างแน่นอน กล่าวคือไม้ดอกเริ่มกำเนิดในยุค ครีตาเซียสเริ่มแรกประมาณ 124 ล้านปีมีขึ้นแบบหรอมแหรม ต่อมามีหนาตามากขึ้นหลังจาก 112 ล้านปี โดยมีพวกด้วงช่วยผสมเกสรให้ดอกไม้เหล่านั้น หลังจากนั้นเวลาผ่านมานานถึง 29 ล้านปี พวกชันโรงจึงได้อุบัติขึ้นมา กินอาหารได้แก่ เกสร น้ำต้อยและน้ำมันจากดอกไม้แต่มีพฤติกรรมผสมเกสรให้ดอกไม้เหล่านั้นแพร่ขยายพันธุ์ เกิดสายพันธุ์ไม้ดอกใหม่ๆที่หลากหลายในธรรมชาติในปัจจุบัน
ข้อสังเกต สำหรับก้อนอำพันที่พบบนหาดในทะเลบอลติก นั้นมีน้ำหนักเบา กึ่งลายจึงจม เป็นไปได้ไหมว่า มันถูกน้ำทะเลพัดพามาขึ้นบนหาดในมลรัฐนิวเจอร์ซี่ แต่ที่มาของแท่งอำพันนั้น ก็จะต้องหาหลักฐานกันต่อไป
หลักฐานที่พบซากชันโรงในอำพันหรือยางสนที่หลอมละลายห่อหุ้มตัวชันโรงไว้นั้น นำลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่เห็นมาเปรียบเทียบกับชันโรงในปัจจุบัน นักอนุกรมวิธานจึงแน่ใจว่าซากชันโรงตัวนั้นเป็นบรรพบุรุษของชันโรงในปัจจุบัน และให้ความเห็นว่า ชันโรงเคยอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกามาก่อน แต่หลังจากเปลือกโลกเย็นแล้วเกิดยุคน้ำแข็ง ชันโรงจึงค่อยๆร่นถอยลงมาอาศัยในเขตร้อนใต้เส้นรุ้งที่ 24 องศาเหนือ ( ทรอปิคอล ออฟ แคนเซอร์ ) และ ใต้ ( ทรอปิค ออฟ แคปริคอร์น ) ชันโรงเป็นแมลงที่ให้ประโยชน์แก่ธรรมชาติ และมนุษย์ ช่วยผสมเกสรให้ดอกไม้ป่า มาก่อนที่มนุษย์จะได้ประโยชน์จากชันโรงทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่นทรัพยากรป่าไม้ และผลิตผลจากป่าที่หลากหลาย เพราะชันโรงเป็นตัวหนึ่งในการสร้างป่าให้ยั่งยืน ยิ่งเห็นชัดเมื่อป่านั้นเกิดสภาพเสื่อมโทรม จะไม่มีพวกผึ้งรวง ( honey bees ) อพยพเข้าไปอาศัยช่วยฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับคืนมาแต่อย่างใด เนื่องจากความหนาแน่นของดอกไม้มีน้อยเกินไป มีเพียงชันโรง2-3 ชนิดเท่านั้นที่ทำรังถาวรอาศัยอยู่ประจำถิ่น ไม่อพยพเหมือนผึ้งรวง โดยฉพาะชันโรงใต้ดิน ( Trigona collina Smith ) ต้องหากิน ช่วยผสมเกสรดอกไม้ป่าที่เหลืออยู่ในละแวก ดอกไม้ป่าเกิดการผสมเกสรติดเมล็ด เป็นลูกไม้เจริญเติบโตขึ้นมาทดแทน พื้นที่ว่าง จนในที่สุด สภาพป่าก็จะกลับคืนมา หากไม่มีการทำลาย
ส่วนมนุษย์นั้นได้ประโยชน์จากชันโรง เมื่อเริ่มทำการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร อาศัยชันโรงในท้องถิ่น ใกล้เคียงลงตอมดอกเกิดการติดผลได้ดีมีคุณภาพ

จากคุณ : athit
เขียนเมื่อ : 22 ก.ค. 52 09:59:56 A:202.41.187.241 X:

จากคุณ : ผึ้งจิ๋ว
เขียนเมื่อ : 22 ก.ค. 52 22:29:00




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com