 |
ความคิดเห็นที่ 5 |
|
ในช่วงหน้าแล้ง (ธ.ค. - ม.ค.) ความชุ่มชื้นในดินก็ลดน้อยถอยลงไปด้ว ความเค็มหรือเกลือในช่วงหน้าฝน ก็จะถูกเจือจางไปกับน้ำฝนทำให้ปัญหาในช่วงนี้ยังแสดงออกมาไม่มาก แต่เมื่อใดที่ดินแห้ง ขาดน้ำ ก็จะทำให้เกลือที่อยู่ในดินมีความเข้มข้นสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นพิษต่อใบพืช ในปัจจุบันนี้รู้สึกว่า แถวแปดริ้ว จะมีข่าวน้ำทะเลหนุนมากกว่าปรกติ จึงคิดว่าน่าจะเป็นปัญหานี้ด้วยหรือเปล่า เมื่อเทียบกับรุ่นที่คุณย่าปลูก ในอดีตอาจจะมีความเค็มหรือเกลือสะสมน้อยทำให้พืชยังเจริญเติบโตได้ดี
วิธีการแก้ไข น่าจะนำแกลบมารองก้นหลุมให้หนาสัก 30 เซนติเมตร เพื่อแล้วรดน้ำให้เปียกชุ่มโชก หรืออาจจะใช้กลุ่มของสารอุ้มน้ำ โพลิเมอร์ ที่สามารถอุ้มน้ำได้ถึง 200 เท่า (1 กิโลกรัม แช่น้ำแล้วพองขยายตัวได้ถึง 200 ลิตร/กิโกกรัม) มาช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่แกลบเพิ่มก็ได้ เมื่อไอเกลือที่ระเหยขึ้นมาเหมือนไส้ตะเกียง ก็จะมาติดอยู่กับแกลบที่เปียกชุ่มน้ำ ไอเกลือก็จะกลายเป็นหยดน้ำไหลกลับลงดินไปทำให้พิษของเกลือคือความเค็ม ค่อยเจือจางลดน้อยลงไป ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี
พืชส่วนใหญ่จะไม่ชอบเกลือ (โซเดียม) ยกเว้นมะพร้าว, แสม, โกงกาง, ลำพู, ลำแพน ฯลฯ ถ้าได้รับเกลือมากเกินไปจะทำให้ใบไหม้ครับ
จากคุณ |
:
Mont20 (greenagro)
|
เขียนเมื่อ |
:
19 ส.ค. 52 12:31:02
|
|
|
|
 |