 |
ความคิดเห็นที่ 4 |
Parasite
ปรสิตที่เป็นสาเหตุหลักของโรคทางระบบประสาทของกระต่ายที่มีรายงานในประเทศสหรัฐอเมิรกา คือ Encephalitozoon cuniculi (หรือ Nosema cuniculi) และ Baylisascaris procyonis
Encephalitozoon cuniculi
สาเหตุ
Encephalitozoon cuniculi เป็นโปรโตซัวในแฟมิลี่ microsporidia ซึ่งสามารถติดได้ในสัตว์หลายๆ ชนิด รวมทั้งในมนุษย์ด้วย โดยการติดเชื้อในมนุษย์นั้นถือว่าพบได้ยาก ยกเว้นในกลุ่มผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรค AIDS ในสัตว์บางชนิดเช่น สุนัขและแมวพบว่าสามารถเสียชีวิตได้จากการติดเชื้อหรือสามารถรอดและขจัดเชื้อได้อย่างสมบูรณ์ก็ได้ แต่ในกระต่ายและหนูนั้นพบว่าการติดเชื้อจะอยู่ตลอดชีวิตโดยที่อาจมีหรือไม่มีการแสดงออกของโรคก็ได้ และพบว่าพันธุกรรมของสัตว์ในกลุ่มนี้จะมีผลต่อความทนทานต่อเชื้อด้วย
E. cuniculi จะถ่ายทอดจากสัตว์ที่ติดเชื้อไปกับปัสสาวะ แล้วเข้าสู่ oral route ซึ่งถือว่าเป็นเส้นทางสำคัญที่มีการติดต่อมากที่สุด และสปอร์ของเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจก็ได้ ทั้งนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าการติดต่อของโรคนี้จะสามารถผ่านทางรกไปยังตัวอ่อนได้หรือไม่ ซึ่งอัตราการติดเชื้อในลูกสัตว์ถือว่าค่อนข้างสูงเมื่อแม่สัตว์ให้ค่า positive ต่อโรคนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถระบุแน่ชัดได้ว่าการติดโรคที่เกิดขึ้นเกิดจากการที่สปอร์ของเชื้อกระจายอยู่ในสิ่งแวดล้อมหรือมีการติดต่อผ่านทางน้ำนมหรือรก เมื่อสปอร์ของเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะเกิดการกระจายไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ทั้ง ไต, ตับ, ปอด, ไขสันหลัง และสมอง ส่วนของ microsporidia ที่เข้าไปอยู่ในส่วนของไตจะสร้างสปอร์ และส่วนของสปอร์เหล่านั้นจะออกมากับปัสสาวะในปริมาณที่ค่อนข้างมากภายในระยะเวลา 30 วัน และสปอร์ดังกล่าวยังคงสร้างอยู่จน 90 วัน ภายหลังการติดเชื้อ E. cuniculi ถือเป็นโรคที่สำคัญของกระต่าย โดย 80% ของกระต่ายที่ไม่แสดงอาการของโรคให้ค่า positive ต่อการทดสอบโรคดังกล่าว และการติดต่อของโรคนี้ไม่ได้มีแต่เพียงกระต่ายที่เลี้ยงเท่านั้น การตืดต่อยังจะมาจากกระต่ายป่าและสัตว์กลุ่มฟันแทะต่างๆ ด้วย ในประเทศไทยยังไม่สามารถมีห้องปฎิบัติการที่สามารถตรวจ E.caniculi ได้
อาการ
พบว่ากระต่ายส่วนใหญ่ที่มีการติดเชื้อจะไม่แสดงอาการของโรคตลอดชีวิตของกระต่าย แต่อย่างไรก็ตามกระต่ายบางตัวก็สามารถแสดงอาการตั้งแต่แบบไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นรุนแรงก็ได้ แต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุที่ทำให้กระต่ายบางตัวมีอาการแสดงออก ในขณะที่บางตัวไม่แสดงอาการป่วยเลย ทั้งนี้ก็มีข้อสันนิษฐานว่าส่วนหนึ่งของการแสดงออกทางอาการขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของกระต่ายด้วย และกระต่ายที่มีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันบกพร่องก็ถือว่ามีความเสี่ยงสูง
อาการแสดงออกของกระต่ายมักมีความเกี่ยวข้องกับ ไต สมอง และไขสันหลัง ถ้ามีปัญหาทางโรคไตอย่างรุนแรง มักจะพบอาการอ่อนแรงซึ่งอาจสับสนกับปัญหาทางระบบประสาทได้ นอกจากอาการซึมและหมดแรงแล้ว กระต่ายอาจมีอาการของความอยากอาหารลดลง กินน้ำเป็นปริมาณมาก พบปัสสาวะบ่อย และมีกลิ่นของแอมโมเนียออกมากับลมหายใจ และกระต่ายอาจเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้
แก้ไขเมื่อ 20 ต.ค. 52 22:38:41
จากคุณ |
:
แม่หมีตัวอ้วน
|
เขียนเมื่อ |
:
20 ต.ค. 52 22:33:28
|
|
|
|
 |