 |
ความคิดเห็นที่ 62 |
|
เอาข้อมุลมาฝากด่วนๆๆน่ะครับ เมื่อวานลืมเอาข้อมุลนี้มาลงครับ
อย่ลืมอ่านน่ะครับ
สำคัญมากเลยล่ะครับ
"ไอเวอร์แมกติน" (Ivermectin) เป็นยาอีกตัวหนึ่งซึ่งนิยมใช้กันมากในการรักษาสัตว์ และผมคิดว่าเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในบรรดาผู้เลี้ยงสัตว์ด้วยเช่น กัน จึงแนะนำเป็นยาน่ารู้ประจำฉบับเพื่อให้เข้าใจอย่างถูกต้องครับ "ไอเวอร์แมกติน" มีชื่อทางการค้าที่รู้จักกันดีจนเรียกติดปากกันว่า "ไอโวแมก" (Ivomec) ชื่อนี้ผมได้ยินเป็นเกือบทุกวันจากเจ้าของสัตว์ที่พบปัญหาเห็บรบกวนสัตว์ เลี้ยง โดยคิดว่าเป็นวิธีที่สะดวกและง่าย เห็นผลเร็วดี นอกจากจะได้ผลดีในการกำจัดเห็บแล้วยังสามารถกำจัดพยาธิภายในและภายนอกชนิด อื่นๆได้อีกด้วย เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า พยาธิในปอด ไรขี้เรื้อน ไรในหู หมัด เหา ฯลฯ แต่การใช้ในการกำจัดพวกพยาธิต่างๆและเห็บ หมัดนั้น จริงๆแล้วในสุนัขและแมวเป็นการใช้นอกเหนือการรับรองครับ กล่าวคือไม่ได้รับการอนุญาตให้ใช้อย่างเป็นทางการจาก FDA (Food and Drug Administration) หรือองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา "ไอเวอร์แมกติน" เป็นที่รู้จักและนำมาใช้กับสัตว์ครั้งแรกเพื่อกำจัดพยาธิต่างๆ เมื่อประมาณกลางปี ค.ศ.1980 นี้เอง จัดเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับ macrolide antibiotic สกัดได้มาจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่อยู่ในดินชื่อว่า Streptomyces avermitilis จากนั้นมีการอนุญาตให้ใช้และได้รับความนิยมใช้กันมากในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1983 เพื่อใช้ในการกำจัดพยาธิและแมลงในปศุสัตว์ เช่น พยาธิเข็มหมุด (pin worm), พยาธิไส้เดือน(ascarids), พยาธิเส้นขน ( hair worm), พยาธิในปอด (lung worm), เห็บ เหา ไร หนอนแมลงในปศุสัตว์ สำหรับสุนัขนั้น "ไอเวอร์แมกติน" ได้รับการรับรองอนุญาตให้ใช้โดย FDA เพื่อใช้ในการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ โดยวิธีการกินเดือนละ 1 ครั้ง ในขนาด 6 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมาก แต่ได้มีการนำมาใช้นอกเหนือจากที่ FDA กำหนด เพื่อการรักษาโรคที่เกี่ยวกับพยาธิในสุนัขและแมวหรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆ หลายโรค เช่น รักษาโรคขี้เรื้อนแห้ง โรคขี้เรื้อนเปียก ฆ่าตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิหนอนหัวใจ ( microfilariacide) โรคไรในหูของสุนัขและแมว หรือแม้แต่ใช้ในการกำจัดเห็บหมัดในสุนัขและแมว แต่เนื่องจากว่าการใช้ยานี้ในการรักษาโรคต่างๆข้างต้นนั้นจะต้องให้ยาในขนาด ที่สูง มากๆหลายเท่ากว่าที่ FDA อนุญาตให้ใช้ในสุนัขเพื่อป้องกันพยาธิหนอนหัวใจเพราะฉะนั้นการใช้ควรปรึกษา และได้รับการพิจารณาจากสัตวแพทย์เท่านั้น โดยใช้ได้ตามความจำเป็นและเห็นสมควรของสัตวแพทย์ต่อสัตว์เป็นกรณีๆไป เนื่องจากว่าปริมาณยาที่ใช้ในการรักษานั้นสูงมากๆ ครับ ตั้งแต่ 50-100 เท่าของขนาดที่ให้ใช้ในการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจตามที่ FDA ได้กำหนดไว้ ดังนั้นจึงอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงของท่านได้ ถ้าผู้เลี้ยงใช้เองโดยไม่ระมัดระวัง "ไอเวอร์แมกติน" สามารถดูดซึมได้ดีทั้งจากการฉีดเข้าใต้ผิวหนังและทางเดินอาหารโดยการกิน ลักษณะของตัวยาที่ใช้กันในคลินิกเป็นของเหลวใส ค่อนข้างหนืด มีความเข้มข้นของตัวยาอยู่หนึ่งเปอร์เซ็นต์ เมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนังสัตว์จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน แต่ถ้าให้กินจะมีรสขม เผ็ดร้อน ระคายเคืองต่อเยื่อบุช่องปากเล็กน้อย เมื่อให้สัตว์กินควรผสมกับอาหารหรือทำให้เจือจางก่อน ยาตัวนี้ออกฤทธิ์ทำให้พยาธิตายได้โดยจะมีผลกับระบบประสาทของพยาธิทำให้เกิด เป็นอัมพาตและตายในที่สุด ไม่ส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเนื่องจากว่าระบบประสาทที่ "ไอเวอร์แมกติน" มีผลนั้นมีเฉพาะในระบบประสาทส่วนกลางเท่านั้น ซึ่งเป็นที่ๆ "ไอเวอร์แมกติน" ไม่สามารถซึมผ่านไปได้ หรือซึมผ่านไปได้ยาก ความปลอดภัยจึงมีมาก แต่มีข้อยกเว้นคือ ถ้าสัตว์ได้รับยาในปริมาณที่สูงมาก อาจทำให้เกิดความเป็นพิษกับสัตว์ได้เช่นกัน พบได้บ่อยครั้งในลูกสัตว์หรือตัวที่มีน้ำหนักตัวน้อยซึ่งการให้ยากับสัตว์ เหล่านี้มักเสี่ยงต่อการให้ในปริมาณที่เกินขนาดได้ง่าย สำหรับสุนัขบางสายพันธุ์ การใช้ "ไอเวอร์แมกติน" นอกเหนือจากการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจโดยการกินเดือนละหนึ่งครั้งแล้ว การใช้ในกรณีอื่นต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งครับ เนื่องจากว่ามีสุนัขบางสายพันธุ์มีความไวต่อความเป็นพิษของยาตัวนี้อย่าง สูง สายพันธุ์เหล่านั้นได้แก่ สุนัขพันธุ์คอลลี่(Collie) พันธุ์เชทแลนด์ ชีพด็อก (Shetland Sheepdog) พันธุ์โอลด์ อิงลิช ชีพด็อก (Old English Sheepdog) และพันธุ์ออสเตรเลียน ชีพด็อก (Australian Sheepdog) รวมทั้งพันธุ์ผสมของสุนัขสายพันธุ์เหล่านี้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ ผู้ใช้ต้องเป็นสัตวแพทย์และอยู่ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์อย่างใกล้ชิด พิษของยา "ไอเวอร์แมกติน" ต่อสัตว์นั้นส่วนมากมักเกิดจากการที่สัตว์ได้รับยาในปริมาณมากเกินขนาด ซึ่งจะแสดงอาการซึม การยืนและการทรงตัวผิดปรกติ เดินโซเซเหมือนคนเมาเหล้า คอตก น้ำลายไหลยืด รูม่านตาขยายถ้ารุนแรงมากจะมีอาการสั่น ชัก หมดสติ และอาจถึงตายในที่สุด สัตว์ที่แสดงอาการพิษบอกได้เลยครับว่า ต้องทำใจ เนื่องจากไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะหรือไม่มียาแก้พิษโดยตรง การรักษาเป็นเพียงการรักษาตามอาการเพื่อประคับประคองอาการ โดยการให้น้ำเกลือ ยาปฏิชีวนะ ยาบำรุง หรืออาจใช้ยา Picrotoxin หรือ Physostigmine ร่วมด้วย เคยมีรายงานว่าสามารถช่วยลดความเป็นพิษของ "ไอเวอร์แมกติน" ลงได้ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเช่นกัน เพราะว่ายาทั้งสองตัวนี้มีความปลอดภัยในการใช้ต่ำ สำหรับ"ไอเวอร์แมกติน" สามารถขจัดออกจากร่างกายของสัตว์เองอย่างช้าๆ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป ดังนั้นสัตว์ที่ป่วยจากความเป็นพิษของของยาชนิดนี้ ถ้ามีชีวิตรอดได้เกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป น่าจะมีโอกาสรอดมากขึ้นตามลำดับ ขนาดของ "ไอเวอร์แมกติน" ที่ใช้กันในทางสัตวแพทย์นั้น แตกต่างกันตามแต่วัตถุประสงค์ในการใช้ดังนี้คือ - 6 ไมโครกรัม / กิโลกรัม ใช้สำหรับป้องกันพยาธิหนอนหัวใจในสุนัขโดยการกินในรูปแบบของเม็ด เดือนละ 1 ครั้ง ทุกๆเดือนโดยสามารถเริ่มป้องกันได้ตั้งแต่สุนัขมีอายุ 2 เดือน
- 200 ไมโครกรัม / กิโลกรัม ใช้สำหรับฆ่าพยาธิตัวอ่อนระยะติดต่อในกระแสเลือด (microfilariacide), ใช้กำจัดพยาธิภายใน (endoparasite) เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน พยาธิแส้ม้า เป็นต้น
- 300-600 ไมโครกรัม / กิโลกรัม ใช้สำหรับกำจัดพยาธิภายนอก (miticide) หรือกำจัด เห็บ หมัด เหา ไร ชนิดต่างๆ และ ใช้รักษาโรคไรขี้เรื้อน
http://www.petgang.com/healthy/index.php?Group=11&Id=73
อ่านเพิ่มเติม http://collie.108dog.com/18
จากคุณ |
:
108dog.com และเพื่อนๆ
|
เขียนเมื่อ |
:
17 พ.ย. 52 08:34:57
A:161.200.255.162 X:
|
|
|
|
 |