 |
ความคิดเห็นที่ 2 |
การค้นพบ EM ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ผู้เชียวชาญสาขาพืชสวน (Horticulture) จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น เป็นอาจารย์สอนอยู่คณะเกษตรศาสตร์ ด้านพืชสวนมหาวิทยาลัยริวกิว ท่านมีความเชียวชาญด้านพืชสวน จึงอาสาที่จะแก้ไขปัญหาให้กับชาวสวนส้มในโอกินาวา ท่านจึงได้พบกับการไม่สิ้นสุดของปัญหา เกษตรเคมี โดยได้ใช้ความพยายามแก้ปัญหาด้วยสารเคมี เพื่อปรับปรุงรสชาติและแก้ปัญหาการเกิดโรคและอื่นๆ ซึ่งจะได้ผลในระยะแรกเท่านั้น ระยะต่อไปจะเกิดปัญหาไม่รู้จบ แม้กระทั้งนำผลไม้ไปให้ ลิง กินลิงมันก็ยังไม่ยอมกิน การคลุกคลีอยู่กับสารเคมีทำให้เวียนศีรษะ บ่าและไหล่ตึงคลื่นไส้อยู่เสมอ สุดท้ายท่าน ดร.ฮิหงะ ก็ปลงอนิจจังที่ไม่สามารถแก้ปัญหาให้เกษตรกรได้ ทั้งที่ตัวเองเป็นนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้เชียวชาญด้านพืชสวน ความรู้ที่เรียนมาแทบเป็นแทบตายใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย การแก้ปัญหาไม่รู้จบทำให้รู้แจ้งว่าสิ่งที่เรียนมาจนได้ปริญญาเอก เป็นอวิชชา (ความหลงผิด) ท่านจึงหันหลังให้กับสิ่งที่เรียนมา แล้วมุ่งไปหาความจริง ความเป็นเที่ยวแท้ทางวิชาการนิรันดร์ โดยการหันมาศึกษาค้นคล้าธรรมชาติด้วยตนเอง ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ท่านโมกิจิ โอกาดะ ผู้คิดจุลินทรีย์ EM นักการศาสนาแนวทางธรรมชาติ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ท่านได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติตามแนวทางของ ท่านโมกิจิ โอกาดะ หรือ ท่านเมชุซะมะ ท่านเป็นนักศาสนา ปัจจุบันนี้จะเรียกว่า ศาสดา ก็น่าจะไม่ผิดนัก เป็นผู้ก่อตั้งองค์การศาสนาเซไคคิวเซเคียว ที่คนไทยรู้จักกันในชื่อของ โยเร และมีผู้ที่นับถือและปฏิบัติร่วมแสนคนในประเทศไทย องค์การศาสนาเซไคคิวเซเคียว มีจุดมุ่งเน้นอยู่ 3 ขอ เพื่อจะขจัดทุกข์ของมวลมนุษย์ชาติ คือ 1. โรคภัยไข้เจ็บ 2. ความยากจน 3. การทะเลาะวิวามทบาดหมาง ผมต้องขอโทษต้องขอหยุดเรื่องของ ท่านโมกิจิ โอกาดะ และองค์การศาสนาเซไคคิวเซเคียว ไว้เพียงแค่นี้ก่อน ถ้าใครสนในเรื่องนี้ขอให้ไปที่ สำนักงานสาขาศูนย์โยเร ซึ่งมีอยู่หลายแห่งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เราจะมาคุยกันเรื่องของ ท่านดร.ฮิหงะ ผู้ค้นพบ จุลินทรีย์ EM กันต่อไป EM คืออะไร EM คือ จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorganisms) ที่ได้คัดสรรมาแล้วว่ามีประโยชน์และมีคุณภาพ ไม่มีพิษภัยใดๆ (หากจุลินทรีย์ยังมีชีวิตอยู่) เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ ลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม กลิ่นเปรี้ยวหวานบรรจุในภาชนะที่อากาศเข้าไม่ได้ ที่มีจำหน่ายอยู่ประเทศไทยบรรจุในกระป๋องพาสติกสีขาวทึบ มีฝา 2 ชั้น ชั้นนอกเป็นฝาเกลียวสีเขียว ฝาในเป็นฟลอย์ มีคำว่า EM KYUSEI (อี เอ็ม คิวเซ) พิมพ์ทั่วแผ่นปิดอยู่ จุลินทรีย์ในองค์ประกอบของ EM EM ที่ทำใช้ในประเทศไทยมีสูตรเดียว เรียกว่า EM รวม บางคนเรียก ซูปเปอร์ EM (ในญี่ปุ่นแยกใช้เป็น 3 ชนิด) จุลินทรีย์ EM เป็นองค์ประกอบที่ได้คัดสรรมาอย่างดีแล้วจากธรรมชาติในประเทศไทย หรือจากธนาคารจุลินทรีย์ทั่วไปมากกว่า 80 ชนิด ที่ไม่มีพิษมีภัย มีแต่ประโยชน์ต่อพืช สัตว์และสิ่งแวดล้อม ทั่วไปแยกได้เป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลายอินทรีย์สาร สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน (Aerobic condition) มีคุณสมบัติ ต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ทำหน้าที่ผลิตปุ๋ยหมัก ใช้หมักแอลกอฮอล์เป็นส่วนใหญ่ ช่วยย่อยสลายสารอินทรียวัตถุให้มีอณูเล็กลง และรากพืชสามารถดูดไปใช้เป็นอาหารได้ง่าย จุลินทรีย์เชื้อราที่สำคัญได้แก่ Pennicillium spp..Trichoderma spp. Aspergillus spp..fusarium Mucor spp.. กลุ่มที่ 2 เป็นจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ธาตุไนโตรเจน (N2), กรดอะมิโน (Aminoacid), น้ำตาล (Sugars), วิตามิน (Vitamins), ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพิ่มประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ให้แก่ดิน และยังช่วยสร้างความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันกับจุลินทรีย์ Azotobactor ด้วย ในการสังเคราะห์ธาตุไนโตรเจนในดิน Chlorobium liimicolf f. thiosulfatophillu. Chiorofiexus aurantiacus. Chromatium vinosum กลุ่มที่ 3 เป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zymogenic or fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระทำให้ดินเปลี่ยนจากสภาพต้านทานโรค (Disiase resistant) เข้าสู่วงจรย่อยสลายแบบหมักและแบบสังเคราะห์ (Fermentation and synthetic or zymogenic micro-organisms) เป็นหัวเชื้อในการผลิดปุ๋ยหมัก เป็นตัวกระตุ้น Azotobactor และ mycorrhizae ทำงานได้ดีในดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด แขงพืชและสัตว์ รวมทั้งสามารถใช้บำบัดมลพิษในน้ำเสียเกิดจาก สิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ จุลินทรีย์หลักได้แก่ Ray fungi (Achinomycetes), ยีสต์ (Yeasts) และพวกราหมักต่างๆ เช่น Streptomyces spp..Sac-charomyces cereviseae และอื่นๆ กลุ่มที่ 4 เป็นจุลินทรีย์พวกตรึงธาตุในโตรเจน (Nitrogen-fixing micro-organisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซในโตรเจนจากอากาศ ในดิน ผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น พวกโปรตีน (Proteins), กร้อมิโน (Amino acid), กรดอินทรีย์ (Organic acids), แป้ง (Starch or carbohydrates), น้ำตาล (Sugars), กรดไขมัน (Fatty acids), วิตามิน (Vitamins), ฮอร์โมน (Hormones) ส่วนใหญ่ได้แก่ Azotobactor spp..Anabaena spp.. กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลกติก (Lactic acids) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ จุลินทรีย์พวกนี้ส่วนใหญ่เป็นพวกไม่ต้องการอากาศหายใจ (Anaerobic microorganisms) ในสภาวะปกติทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินจากดินเน่าเปื่อยหรือดินก่อโรค ให้กลายเป็นดินที่ต้านทานโรคโดยช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชต่างๆ ให้มีจำนวนลดน้อยลงหรือให้หมดไป และสามารถทำให้อินทรีย์สารในดินมีประโยชน์มากขึ้น และอยู่ในสภาพไร้ออกซิเจนหรือสภาพไร้อากาศ นอกจากนั้นยังช่วยย่อยสลายเปลือกของเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกเร็วกว่าปกติอีกด้วย ส่วนใหญ่ 90% ประกอบด้วยจุลินทรีย์แบคทีเรียพวก Lactobacillus spp.. เช่น L.brugaricus. Streptococcus lactis เป็นต้น
เท็คนิคในการนำจุลินทรีย์ทั้ง 5 กลุ่มนี้มาเพาะรวมกันเป็นเท็คนิคพิเศษไม่สามารถเปิดเผยและชี้แจงรายละเอียดได้ เพราะเป็นความลับของผู้ผลิต เคยมีครั้งหนึ่งผู้ผลิตได้เคยบอกวิทีการเพาะจุลินทรีย์ทั้ง 5 ชนิดรวมกัน กับปรากฏว่ามีผู้เอาไปทำแล้วไม่มีคุณภาพ เมื่อเอาไปใช้แล้วมีคนต่อว่ากลับมาในทางเสียหาย จึงไม่ควรบอก ในความเห็นของผมถ้าคนเอาไปผสมเองถ้าคิดในแง่เฉพาะด้านผลประโยชน์ทางธุรกิจ อาจจะไม่ได้ผล และในทางกลับกันอาจจะสร้างผลเสื่อมเสียด้วย ...ดีแล้วที่สูตรนี้ไม่มีการเปิดเผย จุดอ่อนของ EM ที่ควรระมัดระวังให้มากก็คือ เมื่อเอา EM เก็บไว้นานๆ EM จะเน่าหรือตายแล้วจะผลิตสาร ABC (Abscisic acids) ขึ้นมาเป็นลักษณะของฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช (Growthinhibiting hormones) เมื่อนำไปผสมน้ำรดหญ้าหรือวัชพืชก็ได้อีกทางหนึ่ง การเกิดการเน่าเปื่อยของสิ่งต่างๆ จะส่งกลิ่นเหม็น และเกิดโรคร้ายต่างๆ ก็เพราะว่าเกิดปฏิกิริยาภายใต้สภาวะไร้อากาศ (Anaerobic reaction) ปฏิกิริยาประเภทนี้มีแบกทีเรีย (Bacteria) ที่สามารถทำงานได้ในสภาวะไร้อากาศ ทำการย่อยสะลายสารอินทรีย์ เปลี่ยนธาตุคาร์บอนให้เป็นก๊าซมีเทน (CH) เปลี่ยนธาตุกำมะถันให้เป็นธาตุก๊าซไข่เน่า (H S) และเปลี่ยนธาตุไนโตรเจน (N) จากสารโปรตีนให้เป็นแก๊ซแอมโมเนีย NH) และสารประกอบอื่นที่มีแอมโมเนียเป็นองค์ประกอบ (RNH) เป็นต้น ทำให้เกิดการเน่าเหม็นในสภาวะแวดล้อมเพราะแก๊ซที่ได้ส่วนใหญ่มีกลิ่นเหม็น ส่วนปฏิกิริยาการเติมออกซิเจน (Oxidation) หรือ (Aerobic reaction) นั้นคือ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายใต้สภาวะมีอากาศจะย่อยสะลายสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์แบคทีเรีย (Bacteria) ที่ทำงานภายใต้สภาวะอากาศออกซิเจนอยู่ด้วยจะเปลี่ยนธาตุคาร์บอน (C) ในสารอินทรีย์ให้เป็นแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO) และน้ำ (H O) และเปลี่ยนธาตุกำมะถัน (S) ในสารอินทรีย์ให้เป็นแก๊ซพิษ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO) และเปลี่ยนธาตุไนโตรเจน (N) ในสารอินทรีย์ภายใต้สภาวะนี้ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเน่าและส่งกลิ่น ฉะนั้นถ้าเราใช้ EM สารช่วยปฏิกิริยาการเติมออกซิเจน (Oxidation process) หรือปฏิกิริยาภายใต้สภาวะมีอากาศ (Aerobic recess) ก็เท่ากับเป็นการยับยั้งปฏิกิริยาภายใต้สภาวะไร้อากาศ (Anaerobic reaction) ของสิ่งต่างๆ ถ้าใช้ EM แล้วจะสามารถป้องกันปัญหานี้ได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วๆ ไป นอกจากนี้ EM ส่วนหนึ่งยังประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยยับยั้งปฏิกิริยาการเติมของออกซิเจน (Antioxidant) อีกด้วย ข้อมูลทั้งหมดเอามาจาก นิตยสารเกษตรธรรมชาติแนวใหม่ คิวเซ ของมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา ถ้าต้องการรู้รายละเอียดวิธีการใช้ EM ขยาย EM เข้าไปดูที่ http://www.emkyusei.com/
ที่มา..http://www.chowthainews.com/exchange/temp_news.php?type1=1&type2=6&page=0&topic=219&view=0.
แก้ไขเมื่อ 19 พ.ย. 52 13:16:12
จากคุณ |
:
คนดง คนเดิม
|
เขียนเมื่อ |
:
19 พ.ย. 52 13:13:47
|
|
|
|
 |