 |
ทำหมันสุนัขแบบใหม่ โดยเฉพาะตัวผู้ ถ้าซ้ำขออภัยค่ะ
|
|
ไม่ทราบว่าได้อ่านกันหรือยังคะ
คณะแพทย์ จุฬาฯ ประสบผลสำเร็จทำหมันสุนัขด้วยวิธีฉีดยาทำลายอสุจิแทนการผ่าตัด หลังทดลองแล้วกว่า 2 พันตัว พบประชากรเจ้าตูบในพื้นที่ลดน้อยลง แถมยังช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า เผยปีนี้มีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น
รศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า สวทช.กับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยและพัฒนาวิธีทำหมันสุนัขเพศผู้ จนประสบความสำเร็จด้วยการใช้ยาฉีดเข้าไปในอัณฑะแทนการผ่าตัด เพื่อช่วยลดประชากรสุนัขและลดความเสี่ยงในการเป็นโรคพิษสุนัขบ้า สอดคล้องกับนโยบายขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ ที่ต้องการให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากโลกภายในปี 2563 ในส่วนประเทศไทยมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าไม่มากนัก โดยเฉลี่ย 10-15 รายต่อปี แต่ผู้ที่ได้รับเชื้อและไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันนั้น เชื้อโรคพิษสุนัขบ้าจะเข้าไปทำลายสมองทำให้เสียชีวิตทุกราย
รศ.นพ.ประสิทธิ์กล่าวว่า ในแต่ละปีมีผู้ถูกสุนัขกัดและต้องฉีดวัคซีนป้องกันปีละกว่า 5 แสนราย ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายหลายร้อยล้านบาทต่อปี และเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา พบว่าได้เกิดการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าขึ้นอีกในจังหวัดกาญจนบุรี ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตในปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 22 ราย ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วที่มีเพียง 9 ราย ขณะเดียวกัน สวทช.ยังได้มอบทุนสนับสุนกลุ่มนักวิจัยอาชีพให้แก่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และคณะ เพื่อศึกษาโรคพิษสุนัขบ้าทางอณูชีววิทยา และภูมิคุ้มกันของระบบประสาทในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า และศึกษาพยาธิกำเนิดของโรค จนสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคพิษสุนัขบ้าจากองค์การอนามัยโลก
"ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์และคณะวิจัยได้รับทุนจาก สวทช. ทำให้องค์ความรู้ทางด้านโรคพิษสุนัขบ้าได้พัฒนาไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นกลไกการเกิดโรคในสัตว์และในคน การตรวจวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็วและการรักษาโรค นอกจากนี้ยังได้พัฒนาวิธีทำหมันสุนัขเพศผู้ โดยการฉีดสารละลายเข้าในอัณฑะสุนัขเพื่อทดแทนการผ่าตัด ซึ่งเป็นวิธีการที่จะช่วยควบคุมประชากรสุนัขได้ดียิ่งขึ้น" ผอ.สวทช.ระบุ
ด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงการทำหมันแบบฉีดยาในอัณฑะว่า ที่ผ่านมาได้ทดลองใช้แล้วกับสุนัขประมาณ 2,000 ตัว ที่จังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และเพชรบุรี โดยสำรวจพบอัตราการเกิดลูกสุนัขในพื้นที่ดังกล่าวมีจำนวนลดลง โดยฉีดยาหมันเข้าไปที่ลูกอัณฑะของสุนัขเพศผู้ข้างละ 1 เข็ม เพื่อเข้าไปทำลายเซลล์ที่เป็นแหล่งผลิตตัวอสุจิประมาณ 3-4 สัปดาห์ จากนั้นยาจะออกฤทธิ์ให้สุนัขเป็นหมัน ลูกอัณฑะฝ่อเล็กลง สำหรับผลข้างเคียงนั้น ในช่วงแรกสุนัขจะมีอาการซึม ไม่กินอาหารและอาเจียน แต่อาการจะดีขึ้นเป็นปกติในวันรุ่งขึ้น ส่วนอาการบวมแดงที่ลูกอัณฑะจะหายภายใน 2 สัปดาห์
"การทำหมันสุนัขแบบฉีดยาช่วยแก้ปัญหาการผ่าตัดทำหมัน ซึ่งมีขั้นตอนยุ่งยากและใช้เวลานาน และช่วยควบคุมประชากรสุนัขอย่างถาวร และลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโรคพิษสุนัข ซึ่งในปีนี้มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มขึ้น คาดว่าจะนำวิธีฉีดยาทำหมันไปใช้กับสุนัขทั่วประเทศต่อไป" ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าว และว่า ขณะนี้การพัฒนาวิธีการรักษาโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์และในคนได้ก้าวหน้าไปอีกขั้น โดยสามารถค้นพบวิธียับยั้งการสร้างโปรตีนและการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัส ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับห้องปฏิบัติการแล้ว และอยู่ระหว่างการศึกษาต่อยอดในสัตว์ทดลอง.
ส่วนตัวว่าแบบเดิม มัน วางยาเสี่ยงแต่แบบใหม่มันจะเก็บกว่าป่ะ ตอนฉีดยา เข้าอัณฑะ ทีละข้างเขาจะยอมให้ฉีดไหมอ่ะ แล้วน้องหมา เป็นทองแดง จะทำแบบนี้ได้ไหม ตังเม กำลังสนใจ คร๊าบ
จากคุณ |
:
+G@To+
|
เขียนเมื่อ |
:
30 พ.ย. 52 12:15:04
|
|
|
|  |