 |
"เตาแกลบ"แทนเตาแก๊ส ทั้ง"ประหยัด-ช่วยชาติ"
|
|
..........................วัดศรีคิรินทราราม วัดเล็กๆ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่
วัด แห่งนี้ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของประชาชนศรัทธารอบวัดและผู้คนโดยทั่ว ไป ถึงแม้ว่าพระปลัดชัยวัฒน์ กัมมสุทโธ เจ้าอาวาสอายุยังน้อยแต่ให้ความสนใจกับความสุขของผู้คน จึงมิได้ทำหน้าที่เพียงงานด้านศาสนาเท่านั้น ยังนำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาปรับใช้ในการทำให้เกิดความสุขกับความพอดี ตามหลักการพึ่งพาตนเองและไม่เบียดเบียนผู้อื่น
เตาแกลบ หรือเตาแก๊สชีวมวล เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ถูกนำมาจัดแสดงไว้ในวัด เป็นเครื่องมือหนึ่งในการดำรงชีวิตในครัวเรือนที่ทำให้ประหยัดไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ในการหุงต้มอาหารที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเรื่องเชื้อเพลิงหุงต้ม
ข้อ ดีของเตาแกลบคือประหยัด ใช้วัสดุในท้องถิ่น ลงทุนเพียงค่าเตาเท่านั้นก็อยู่ได้นาน เหมาะกับเกษตรกร หรือชาวบ้านที่อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ นอกจากนี้ ยังไม่มีควันทำให้หม้อดำเหมือนฟืนอีกด้วย
นายฤทธิชัย บุตรชา ผู้อำนวยการกองช่าง เทศบาลตำบลเด่นชัย เป็นผู้หนึ่งที่ใช้เวลานอกราชการออกมาทำงานเพื่อสาธารณะ กล่าวว่า การทำเตาแกลบหรือเตาแก๊สชีวมวลเพื่อลดการใช้แก๊สหุงต้มในครัวเรือน โดยมีหลักคิดในเรื่องของการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เตาแกลบราคาไม่สูงนัก จะทำเองก็ได้ถ้าเข้าใจวิธีการ ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นค่าเหล็กที่นำมาประกอบเป็นเตา มีพัดลมคอมพิวเตอร์ หม้อแปลงไฟฟ้าบ้านเป็นค่าไฟฟ้า 6-12 โวลต์
การ ทำเตาแก๊สชีวมวล ถึงแม้จะมีต้น แบบมาจากกระทรวงพลังงาน แต่นายฤทธิชัย นำมาดัดแปลงเพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน ใช้เวลาดัดแปลงอยู่นานถึง 3 เดือน โดยเฉพาะอุปกรณ์ ขนาดเตา และประสิทธิภาพของเตา กระทั่งสามารถดัดแปลงทำให้ต้นทุนในการทำเตาลดลง จากเดิมต่อตัวอยู่ที่ 3,000 บาท ลดลงเหลือเพียง 1,600 บาทเท่านั้น
นายฤทธิชัย เล่าให้ฟังว่า การใช้เตาแกลบในการหุงต้มนั้นไม่ยาก วัสดุที่นำมาใช้ก็หาได้ง่าย ตราบใดที่คนไทยยังปลูกข้าว กินข้าวอยู่ เราจะมีแกลบไว้ใช้เป็นวัตถุดิบได้ตลอดไป
วิธีการคือนำแกลบมาใส่ใน ช่องกระบอกเตาอัดให้แน่น เตาที่ใช้จุแกลบได้ 1.2 ก.ก. ก็เต็มกระบอก จากนั้นจุดไฟที่ด้านบนด้วยเศษกระดาษ เมื่อไฟติดแกลบเล็กน้อย เปิดสวิตช์พัดลมที่ค่าไฟ 6 โวลต์ ลมจะเป่าย้อนจากด้านล่างขึ้นมา ทำให้ไฟติดและมีเปลวแรง นำฝาคลอบหรือฐานตั้งภาชนะสวมปิดด้านบน จะดูเหมือนเตาแก๊สทั่วไป
การใช้งานสามารถใช้หุงต้มได้นานถึง 50 นาที การหุงต้มสามารถพักเตาได้ ด้วยการปิดพัดลมทำให้เปลวไฟหยุดลง แต่เตายังคุกรุ่นอยู่ เป็นการประหยัดเชื้อเพลิง เมื่อพร้อมจะใช้ติดไฟอีกครั้งง่ายมาก คือเปิดพัดลม ไฟจะปะทุขึ้นมาอีกหรือใช้ไม้ขีดจุดช่วยที่ด้านบนของเตาก็ได้เมื่อไฟติดควัน จะหมดไป
นายฤทธิชัย กล่าวว่า หลักการทำงานคือการใช้พัดลมคอมพิวเตอร์ 12 โวลต์เป่าอากาศสู่ห้องเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดการเผาไหม้ดี จะเกิดปฏิกิริยาระหว่างคาร์บอนกับออกซิเจน ทำให้เกิดคาร์ บอนมอนอกไซด์ เกิดแก๊สไฮโดรเจน และแก๊สมีเทน แก๊สที่มีอุณหภูมิสูงจะลอยสู่ด้านบนเกิดการลุกไหม้เป็นเปลวไฟได้ความร้อน เท่าเทียมแก๊ส แอลพีจี
"ตามปกติเราหุงข้าวกันใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ผัดๆ ทอดๆ ก็ไม่นาน เรามีเวลาพอที่จะใช้เชื้อเพลิงเพียงแกลบกิโลครึ่งได้อย่างสบายๆ และให้ความร้อนสูงอีกด้วย แถมท้ายเมื่อทำเสร็จจะได้ขี้เถ้าแกลบสีดำ ที่สามารถนำไปใช้เป็นวัสดุปลูกต้นไม้ได้อีกด้วย ทำครัวครั้งหนึ่งจะเสียค่าไฟฟ้า 0.03 บาทเท่านั้น วันหนึ่งทำสองครั้งเสียไม่ถึง 1 บาท เรียกว่า ปีหนึ่งถ้าทำทุกวันเสียเงินไปไม่ถึง 100 บาท ส่วนคนที่ต้องซื้อแกลบก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่ไม่มาก เรียกว่าน้อยกว่าการใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่น เป็นการลดค่าเชื้อเพลิงได้หลายเท่าตัว และที่สำคัญเป็นการลดการนำเข้าแก๊สจากต่างประเทศ" นายฤทธิชัย กล่าว
พระ ปลัดชัยวัฒน์ กัมมสุทโท เจ้าอาวาส กล่าวว่า วัดถือเป็นศูนย์กลางของชุมชน และในปัจจุบันวัดน่าจะมีหน้าที่มากกว่าการให้แสงสว่างทางธรรมะเท่านั้น จึงคิดเรื่องแหล่งเรียนรู้เป็นฐานให้ผู้ที่เข้ามาในวัดได้เห็นและได้คิดตรง กับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดย พยายามยามทำงานให้วัดเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ เตาแก๊สชีวมวลหรือเตาแกลบ เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้คนหันมาเรียนรู้และฉุกคิดที่จะใช้ พลังงานท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า รู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อการพึ่งตนเองได้ในระดับครอบครัวและชุมชน
สำหรับ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อเข้ามาขอรับการอบรมได้ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอ เพียงวัดศรีคิรินทราราม ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่ โทร.0-5461-3249
ที่มา http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVEUyTURFMU13PT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1DMHdNUzB4Tmc9PQ==
จากคุณ |
:
ญี่ปุ่น35
|
เขียนเมื่อ |
:
16 ม.ค. 53 01:06:23
|
|
|
|  |