 |
ความคิดเห็นที่ 8 |
เราก็เป็นคนนึงที่สั่งสินค้านำเข้ามาเหมือนกันค่ะ ก็เจอปัญหานี้เหมือนกันค่ะ โดนบางไม่โดนบ้าง
หลักเกณฑ์การเรียกเก็บภาษีศุลกากรคร่าว ๆ พอจะเป็นดังนี้นะค่
1. สินค้าที่นำเข้ามาในแต่ละครั้งจะโดนสุ่มตรวจหรือเข้าคลังสินค้าเพื่อเรียกเก็บภาษีประมาณ 10-20% ของสินค้าทั้งหมด
2. สินค้าที่มีราคาประเมินเกิน 20,000.- บาท หรือมีขนาดบรรจุตั้งแต่ 2 กก. ขึ้นไปผู้นำเข้าจะต้องดำเนินการเสียภาษีค่ะ
หมายเหตุ : บางคนอาจจะบอกว่าเคยนำของน้ำหนักและราคาเกิน ข้อ 2 ทำไมไม่ต้องเสียภาษี และบางคนอาจจะเคยนำเข้าของแค่ 1.5 กก. แต่ราคาสินค้าไม่ถึง 20,000 บาท แล้วทำไมต้องเสียภาษี ให้ย้อนกลับไปดูที่ ข้อ 1 ค่ะ
การประเมินราคาต่าง ๆ จะอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของ เจ้าหน้าที่ศุลกากร หรืออ้างอิง Inv. เป็นหลักค่ะ บางคนอาจจะบอกว่า Inv. show 7000.- บาท ทำไม จนท. ถึงประเมินเป็น 10000 บาท อันนี้ ก็สามารถทำได้เหมือนกันค่ะ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ จนท. ค่ะ แต่ก็จะมี Handbook ของกรม สำหรับหลักการของการประเมินราคาสินค้าด้วยค่ะ
3. กรณีของมีราคาเกินกว่า 40,000.- บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน) ผู้รับของจะต้องจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า และส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าระบบคอมพิวเตอร์กรมศุลกากร (ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์และอากาศยาน จัดเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำการจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าและมี Service Counter ให้บริการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
4. กรณีของมีราคาไม่เกิน 40,000.- บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน) ผู้รับของไม่ต้องจัดทำใบขนสินค้าขา เข้า โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะประเมินราคาและจัดเก็บค่าภาษีอากร ณ จุดเดียวกัน
ในกรณีที่เมื่อสินค้ามาถึงแล้วมีเอกสารแจ้งจากทางไปรษณีย์ให้คุณไปเสียภาษี หากคุณไม่ยอมรับในภาษีที่เกิดขึ้น คุณสามารถยื่นอุทรณ์ลดหย่อนภาษีถึงกรมศุลกากร ณ ที่ทำการไปรษณีย์ที่คุณรับสินค้าค่ะ
จนท. ไปรษณีย์ จะส่งคำอุทรณ์ของคุณพร้อมกับสินค้ากลับไปที่ศุลกากรอีกครั้งเพื่อทำการลดหย่อนภาษี มากน้อยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ จนท. ศุลกากรค่ะ ฉะนั้นเมื่อคุณเขียนเอกสารยื่นอุทรณ์ภาษีไปที่ศุลกากร คุณควรเขียนเหตุผลที่เหมาะสมและเชื่อถือได้ในการให้ จนท. พิจารณา ส่วนใหญ่ที่เคยเจอ ลดมากสุดที่ 50% ค่ะ แต่น้อยมาก ๆ ค่ะที่จะได้ถึง 50% ระยะเวลาในการพิจารณาของ จนท. ศุลการกรจะใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ค่ะ คุณก็จะได้รับเอกสารตีกลับมาเพื่อไปเสียภาษีใหม่
หากเมื่อคุณยื่นอุทรณ์แล้ว ทางศุลกากรส่งราคาภาษีที่ลดหย่อนแล้วให้คุณ ถือเป็นอันสิ้นสุดค่ะ คุณจะไม่สามารถยื่นอุทรณ์ซ้ำได้อีก หากคุณไม่พอใจที่จะไปรับสินค้า หรือเสียภาษี สินค้าจะถูกเก็บไว้เป็นเวลา 1 เดือนค่ะ หลังจากนั้นทางประเทศไทย จะส่งกลับไปต้นทางของสินค้าที่มา พร้อมกับคิดราคาค่าขนส่งคืนให้กับประเทศตันทาง ครึ่งนึงค่ะ โดยค่าขนส่งนี้จะถูกเรียกเก็บจากผู้รับปลายทางนะค่ะ
งงไหมเอ่ย เช่นคุณสั่งของมาจากบริษัท XXX ในจีน และมีการส่งสินค้าคืนโดย จนท. ของไทย ทางบริษัท XXX ในจีนจะต้องเป็นผุ้จ่ายค่าขนส่งคืนครึ่งหนึ่งค่ะ
ฉะนั้น หากคุณจะไม่ไปรับสินค้าเนี่องจากราคาภาษีที่สูงลิบลิ่ว สิ่งที่คุณจะต้องสูญเสียคือ 1. ค่าสินค้าที่คุณจ่ายไป ก่อนหน้านี้ เพราะน้อยมากที่ Supllier จะคืนเงินค่าสินค้าให้คุณหากเกิดกรณีสินค้าตีกลับ โดยเหตุผลเรื่องของภาษีอากร หรือ
2. Supplier อาจจะคืนเงินให้คุณโดยหักเงินค่าขนสินค้าคืน (ซึ่งมันเกิดขึ้นได้น้อยมาก ๆ ) คุณอาจจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะได้รับเงินคืน และ
3. อันนี้แน่นอนที่สุด เสียชื่อค่ะ 555 มี supplier บางประเทศที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นแล้ว เขาอาจจะตัดความสัมพันธ์ในการค้าขายครั้งต่อไปกับคุณเลย อันนี้ต้องระวังมาก ๆ ค่ะ
ฉะนั้น หากไม่ต้องการจะเสียเงินหรือเสียชื่อ เมื่อการอุทรณ์ค่าภาษีอากรสิ้นสุดลง ถ้าไม่สาหัสเกินไปนัก ก็ไปรับสินค้าเถอะค่ะ ดีที่สุด เพราะ Lot ต่อไปคุณอาจจะไม่ต้องเสียภาษีก็ได้ ถ้าสินค้าของคุณโชคดีไม่โดนสุ่มตรวจ และคุณก็ยังสามารถซื้อสินค้าจากเจ้าเดิมได้อีกด้วยค่ะ
หลักเกณฑ์การคำนวณภาษีคร่าว ๆ นะค่ะ หากต้องการแบบละเอียด แนะนำให้ศึกษาพิกัดภาษีอากรค่ะ (อันนี้ยาวมากค่ะ ละไว้ไม่ต้องอธิบายแล้วกันนะค่ะ)
เช่นราคาสินค้า ประเมิน หรือหน้า Inv. อยู่ ที่ 2000.- บาท
โดยคร่าว ๆ จะคิดภาษีที่ 30% ก็คือ 600.- บาทค่ะ
หลังจากนั้นก็เอาราคาภาษี + ราคาสินค้าเพื่อคิด Vat ต่อนะค่ะ จะได้ดังนี้ ค่าสินค้า 2000+ ค่าภาษี 600 บาท = 2600 * Vat 7% = 182 บาท
ฉะนั้นทางจนท. ศุลกากรจะคิดภาษีอาการทั้งหมด 782 บาทค่ะ
คร่าว ๆ ก็เป็นฉะนี้แลค่ะ
จากคุณ |
:
Enjoy Engine
|
เขียนเมื่อ |
:
21 ม.ค. 53 16:45:19
|
|
|
|
 |