ความคิดเห็นที่ 1 |
มะพร้าวพอได้ครับ มะพร้าวน้ำหอม
น้ำใต้ดินสูง และก็เค็ม ปลูกอะไรไม่ค่อยขึ้นครับ ยกเว้นพืชทนเค็มบางชนิดนะครับ
ิดินเค็มเป็นปัญหาอันดับต้น ๆ ที่แก้ยากครับ
---------------------------------------------
1. กำจัดเกลือส่วนเกินออกจากดินบริเวณรากพืช เพื่อให้พืชเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ดินที่มีเกลืออยู่สามารถ กำจัดออกไปได้โดยการชะล้างด้วยน้ำ ที่นิยมปฏิบัติมี 2 วิธีคือ - การให้น้ำล้างดินแบบต่อเนื่อง ใช้กับพื้นที่ที่เนื้อดินเป็นทรายและน้ำใต้ดินที่เค็มอยู่ตื้น วิธีการคือให้น้ำ ท่วมผิวดินประมาณ 10 ซม. ตลอดเวลา เพื่อทดแทนน้ำส่วนที่ระบายออกและสูญเสียโดยการคายระบาย ระเหย วิธีการนี้นิยมใช้กับพืชที่ทนการมีน้ำขังนานได้ เช่น ข้าว ข้อดีของวิธีนี้คือใช้เวลาแก้ไขดินเค็มรวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือใช้น้ำปริมาณมากและดูแลมาก
- การให้น้ำล้างดินแบบเป็นช่วงเวลา วิธีการนี้เหมาะสำหรับดินที่มีการซึมน้ำต่ำและน้ำใต้ดินอยู่ลึก น้ำใต้ดินไม่เค็มหรือเค็มเล็กน้อย ขั้นแรกใช้น้ำชลประทานประมาณ 200 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ เพื่อละลายเกลือ หลังจากนั้นจึงให้น้ำอีกประมาณ 300 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ เพื่อล้างเกลือออกไปและป้องกันการเกิดเกลือ ขึ้นใหม่ในชั้นดินบน แต่ระยะเวลาการล้างดินจะมากกว่าวิธีแรกประมาณ 40 % เพื่อล้างเกลือให้ออกจาก ดินบนความลึก 60 ซม. วิธีนี้นิยมใช้กับพืชไร่ และผักต่างๆ ข้อดีคือประหยัดน้ำได้มากกว่า แต่ใช้เวลาในการล้างดินมากกว่า เมื่อความเค็มของดินลดถึงระดับหนึ่งที่สามารถใช้ปลูกพืชได้ ขั้นตอนต่อไปคือการคัดเลือกพืชที่จะ นำมาปลูก ซึ่งก็มีความสำคัญไม่แพ้การปรับปรุงดินเช่นกัน
2. การปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็ม การเลือกปลูกพืชทนเค็มเป็นวิธีที่ได้ผล ประหยัด คุ้มค่าและเกษตรกรสามารถจัดการด้วยตัวเองได้ใน พื้นที่ดินเค็ม โดยการคัดเลือกพืชทนเค็มที่เหมาะสมในพื้นที่ดินเค็มระดับความเค็มต่างๆ ดินที่มีระดับความ เค็มไม่มากเกินไปนัก ก็สามารถปลูกพืชบางชนิดได้ เช่น ถั่วฝักยาว ผักกาด ขึ้นฉ่าย พริกไทย กะหล่ำ บวบ แตงโม กระเทียม ผักโขม มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า ชะอม เป็นต้น
วิธีการปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็ม การเตรียมแปลงปลูกพืช จะต้องจัดทำวิธีการปลูกพืชให้ถูกต้อง เพื่อให้พืชถูกผลกระทบจากความเค็ม ของเกลือน้อยที่สุด โดยปกติจะยกร่องแล้วปลูกตรงกลางร่อง โดยวิธีนี้เกลือจะเคลื่อนไปสะสมในบริเวณ กลางร่องพอดี เนื่องจากเป็นที่สูงและมีการระเหยน้ำสูงสุด ทำให้เมล็ดพืชได้รับผลกระทบจากความเค็ม แต่ ในบริเวณริมร่องทั้ง 2 ข้างมีความเค็มน้อยกว่า ดังนั้น บริเวณนี้จึงเป็นบริเวณที่สมควรจะปลูกพืช อาศัยหลักการนี้สามารถดัดแปลงรูปร่างของแปลงเป็นแบบต่างๆ โดยให้มีส่วนสูงไว้คอยดึงความชื้น เพื่อเกิดการสะสมเกลือในบริเวณนี้ แล้วจึงปลูกพืชในบริเวณที่ต่ำกว่า
เรื่องปัญหาดินเค็ม สนใจสอบถามได้ที่กลุ่มปรับปรุงดินเค็ม กองอนุรักษ์ดินและน้ำ กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 579-5546
จากคุณ |
:
xsoil
|
เขียนเมื่อ |
:
24 ม.ค. 53 13:28:16
|
|
|
|