 |
ความคิดเห็นที่ 3 |
"ไอเวอร์แมกติน" (Ivermectin) เป็นยาอีกตัวหนึ่งซึ่งนิยมใช้กันมากในการรักษาสัตว์ และผมคิดว่าเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในบรรดาผู ้เลี้ยงสัตว์ด้วยเช่นกัน จึงแนะนำเป็นยาน่ารู้ประจำฉบับเพื่อให้เข้าใจอย่างถู กต้องครับ
"ไอเวอร์แมกติน" มีชื่อทางการค้าที่รู้จักกันดีจนเรียกติดปากกันว่า "ไอโวแมก" (Ivomec) ชื่อนี้ผมได้ยินเป็นเกือบทุกวันจากเจ้าของสัตว์ที่พบ ปัญหาเห็บรบกวนสัตว์เลี้ยง โดยคิดว่าเป็นวิธีที่สะดวกและง่าย เห็นผลเร็วดี นอกจากจะได้ผลดีในการกำจัดเห็บแล้วยังสามารถกำจัดพยา ธิภายในและภายนอกชนิดอื่นๆได้อีกด้วย เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า พยาธิในปอด ไรขี้เรื้อน ไรในหู หมัด เหา ฯลฯ แต่การใช้ในการกำจัดพวกพยาธิต่างๆและเห็บ หมัดนั้น จริงๆแล้วในสุนัขและแมวเป็นการใช้นอกเหนือการรับรองค รับ กล่าวคือไม่ได้รับการอนุญาตให้ใช้อย่างเป็นทางการจาก FDA (Food and Drug Administration) หรือองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา
"ไอเวอร์แมกติน" เป็นที่รู้จักและนำมาใช้กับสัตว์ครั้งแรกเพื่อกำจัดพ ยาธิต่างๆ เมื่อประมาณกลางปี ค.ศ.1980 นี้เอง จัดเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับ macrolide antibiotic สกัดได้มาจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่อยู่ในดินชื่อว่า Streptomyces avermitilis จากนั้นมีการอนุญาตให้ใช้และได้รับความนิยมใช้กันมาก ในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1983 เพื่อใช้ในการกำจัดพยาธิและแมลงในปศุสัตว์ เช่น พยาธิเข็มหมุด (pin worm), พยาธิไส้เดือน(ascarids), พยาธิเส้นขน ( hair worm), พยาธิในปอด (lung worm), เห็บ เหา ไร หนอนแมลงในปศุสัตว์
สำหรับสุนัขนั้น "ไอเวอร์แมกติน" ได้รับการรับรองอนุญาตให้ใช้โดย FDA เพื่อใช้ในการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ โดยวิธีการกินเดือนละ 1 ครั้ง ในขนาด 6 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมาก แต่ได้มีการนำมาใช้นอกเหนือจากที่ FDA กำหนด เพื่อการรักษาโรคที่เกี่ยวกับพยาธิในสุนัขและแมวหรือ สัตว์เลี้ยงอื่นๆ หลายโรค เช่น รักษาโรคขี้เรื้อนแห้ง โรคขี้เรื้อนเปียก ฆ่าตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิหนอนหัวใจ ( microfilariacide) โรคไรในหูของสุนัขและแมว หรือแม้แต่ใช้ในการกำจัดเห็บหมัดในสุนัขและแมว แต่เนื่องจากว่าการใช้ยานี้ในการรักษาโรคต่างๆข้างต้ นนั้นจะต้องให้ยาในขนาดที่สูง มากๆหลายเท่ากว่าที่ FDA อนุญาตให้ใช้ในสุนัขเพื่อป้องกันพยาธิหนอนหัวใจเพราะ ฉะนั้นการใช้ควรปรึกษาและได้รับการพิจารณาจากสัตวแพท ย์เท่านั้น โดยใช้ได้ตามความจำเป็นและเห็นสมควรของสัตวแพทย์ต่อส ัตว์เป็นกรณีๆไป เนื่องจากว่าปริมาณยาที่ใช้ในการรักษานั้นสูงมากๆ ครับ ตั้งแต่ 50-100 เท่าของขนาดที่ให้ใช้ในการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจตามท ี่ FDA ได้กำหนดไว้ ดังนั้นจึงอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงของท่ านได้ ถ้าผู้เลี้ยงใช้เองโดยไม่ระมัดระวัง "ไอเวอร์แมกติน" สามารถดูดซึมได้ดีทั้งจากการฉีดเข้าใต้ผิวหนังและทาง เดินอาหารโดยการกิน ลักษณะของตัวยาที่ใช้กันในคลินิกเป็นของเหลวใส ค่อนข้างหนืด มีความเข้มข้นของตัวยาอยู่หนึ่งเปอร์เซ็นต์ เมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนังสัตว์จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน แต่ถ้าให้กินจะมีรสขม เผ็ดร้อน ระคายเคืองต่อเยื่อบุช่องปากเล็กน้อย เมื่อให้สัตว์กินควรผสมกับอาหารหรือทำให้เจือจางก่อน ยาตัวนี้ออกฤทธิ์ทำให้พยาธิตายได้โดยจะมีผลกับระบบปร ะสาทของพยาธิทำให้เกิดเป็นอัมพาตและตายในที่สุด ไม่ส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเนื่องจากว่าระบบประ สาทที่ "ไอเวอร์แมกติน" มีผลนั้นมีเฉพาะในระบบประสาทส่วนกลางเท่านั้น ซึ่งเป็นที่ๆ "ไอเวอร์แมกติน" ไม่สามารถซึมผ่านไปได้ หรือซึมผ่านไปได้ยาก ความปลอดภัยจึงมีมาก แต่มีข้อยกเว้นคือ ถ้าสัตว์ได้รับยาในปริมาณที่สูงมาก อาจทำให้เกิดความเป็นพิษกับสัตว์ได้เช่นกัน พบได้บ่อยครั้งในลูกสัตว์หรือตัวที่มีน้ำหนักตัวน้อย ซึ่งการให้ยากับสัตว์เหล่านี้มักเสี่ยงต่อการให้ในปร ิมาณที่เกินขนาดได้ง่าย
สำหรับสุนัขบางสายพันธุ์ การใช้ "ไอเวอร์แมกติน" นอกเหนือจากการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจโดยการกินเดือนล ะหนึ่งครั้งแล้ว การใช้ในกรณีอื่นต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งครับ เนื่องจากว่ามีสุนัขบางสายพันธุ์มีความไวต่อความเป็น พิษของยาตัวนี้อย่างสูง สายพันธุ์เหล่านั้นได้แก่ สุนัขพันธุ์คอลลี่(Collie) พันธุ์เชทแลนด์ ชีพด็อก (Shetland Sheepdog) พันธุ์โอลด์ อิงลิช ชีพด็อก (Old English Sheepdog) และพันธุ์ออสเตรเลียน ชีพด็อก (Australian Sheepdog) รวมทั้งพันธุ์ผสมของสุนัขสายพันธุ์เหล่านี้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ ผู้ใช้ต้องเป็นสัตวแพทย์และอยู่ภายใต้การดูแลของสัตว แพทย์อย่างใกล้ชิด
พิษของยา "ไอเวอร์แมกติน" ต่อสัตว์นั้นส่วนมากมักเกิดจากการที่สัตว์ได้รับยาใน ปริมาณมากเกินขนาด ซึ่งจะแสดงอาการซึม การยืนและการทรงตัวผิดปรกติ เดินโซเซเหมือนคนเมาเหล้า คอตก น้ำลายไหลยืด รูม่านตาขยายถ้ารุนแรงมากจะมีอาการสั่น ชัก หมดสติ และอาจถึงตายในที่สุด สัตว์ที่แสดงอาการพิษบอกได้เลยครับว่า ต้องทำใจ เนื่องจากไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะหรือไม่มียาแก้พิษโด ยตรง การรักษาเป็นเพียงการรักษาตามอาการเพื่อประคับประคอง อาการ โดยการให้น้ำเกลือ ยาปฏิชีวนะ ยาบำรุง หรืออาจใช้ยา Picrotoxin หรือ Physostigmine ร่วมด้วย เคยมีรายงานว่าสามารถช่วยลดความเป็นพิษของ "ไอเวอร์แมกติน" ลงได้ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเช่นกัน เพราะว่ายาทั้งสองตัวนี้มีความปลอดภัยในการใช้ต่ำ สำหรับ"ไอเวอร์แมกติน" สามารถขจัดออกจากร่างกายของสัตว์เองอย่างช้าๆ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป ดังนั้นสัตว์ที่ป่วยจากความเป็นพิษของของยาชนิดนี้ ถ้ามีชีวิตรอดได้เกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป น่าจะมีโอกาสรอดมากขึ้นตามลำดับ
ขนาดของ "ไอเวอร์แมกติน" ที่ใช้กันในทางสัตวแพทย์นั้น แตกต่างกันตามแต่วัตถุประสงค์ในการใช้ดังนี้คือ
- 6 ไมโครกรัม / กิโลกรัม ใช้สำหรับป้องกันพยาธิหนอนหัวใจในสุนัขโดยการกินในรู ปแบบของเม็ด เดือนละ 1 ครั้ง ทุกๆเดือนโดยสามารถเริ่มป้องกันได้ตั้งแต่สุนัขมีอาย ุ 2 เดือน
- 200 ไมโครกรัม / กิโลกรัม ใช้สำหรับฆ่าพยาธิตัวอ่อนระยะติดต่อในกระแสเลือด (microfilariacide), ใช้กำจัดพยาธิภายใน (endoparasite) เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน พยาธิแส้ม้า เป็นต้น - 300-600 ไมโครกรัม / กิโลกรัม ใช้สำหรับกำจัดพยาธิภายนอก (miticide) หรือกำจัด เห็บ หมัด เหา ไร ชนิดต่างๆ และ ใช้รักษาโรคไรขี้เรื้อน
จากคุณ |
:
ป่าป๊าแม่นังซอจังกึม (กบน้อยในกะละมังซักผ้า)
|
เขียนเมื่อ |
:
13 มี.ค. 53 17:25:12
|
|
|
|
 |