Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
น่าจะมีประโยชน์กับคนรักกระต่าย - การจับชีพจรกระต่าย Rabbit 911 ติดต่อทีมงาน

สืบเนื่องจากกระทู้นี้ http://www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J9883962/J9883962.html
และมาต่อที่กระทู้นี้
http://www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L9888376/L9888376.htm

จากข้อมูลในกระทู้ล่าสุด เราเลยลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีฉุกเฉินของกระต่ายว่าควรปฏิบัติอย่างไร คิดว่ามีประโยชน์อยากเอามาแชร์ให้เพื่อนๆที่เลี้ยงหรือคิดจะเลี้ยงกระต่ายค่ะ

http://www.rabbitwise.org/emergencies.html
เรื่องการจับชีพจรก็เป็นตามที่คุณหมอแมวแนะนำไว้คือตรงเส้นเลือดที่ใบหู ส่วนที่ขาคุณหมอบอกว่าตรงรักแร้(เราเข้าใจว่าหมายถึงขาหน้า) แต่ใน link ที่หาเจอเขาว่าอยู่ที่ขาหลังใกล้ขาหนีบ แต่ว่าจะหายากหน่อย

หากจับชีพจรได้ แต่ไม่มีการหายใจ ให้ดึงลิ้นเขาออกมานิดนึง ปิดปาก และแหงนหน้าเขาไปข้างหลังนิดนึงเพื่อเปิดทางเดินลม เป่าแค่พอให้หน้าอกขยับขึ้น กระต่ายตัวใหญ่ต้องการลมมากกว่ากระต่ายเล็ก อย่าเป่ามากเกินไปจะทำให้ปอดเสียหายได้ เป่าวินาทีละครั้ง เป่า 4-5 ครั้ง ถ้ายังไม่มีชีพจรให้ทำ CPR
Note: CPR should never be performed on a conscience, combative animal.

วิธีการทำ CPR ก็มีในย่อหน้าสุดท้าย และยังมีข้อมูลอื่นๆอีกที่เราไม่ได้แปล (กลัวแปลผิดค่ะ)

จากการอ่านเรามีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมอย่างนี้นะคะ

1. เตรียมรายชื่อโรงพยาบาล/คลีนิคใกล้บ้าน(เฉพาะกรณีฉุกเฉิน หากไม่ฉุกเฉินอาจจะเลือกที่คุณหมอเชี่ยวชาญด้านกระต่าย) เวลาทำการ เบอร์โทร ตรวจสอบเส้นทาง/วิธีเดินทาง ให้พร้อม

หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้รู้ว่า ณ เวลานั้นควรไปที่ไหนที่เปิดทำการแล้ว
เมมเบอร์ไว้ในมือถือเป็นชื่อจำง่ายเช่น กระต่าย-โรงพยาบาล A)

2.ถ้าไม่มีรถส่วนตัว หรือมีแต่ไม่มีคนอื่นที่จะช่วยขับรถหรือช่วยดูแลกระต่ายให้ ต้องใช้บริการ taxi ก็เตรียมเบอร์ taxi ให้พร้อม ที่เราใช้บริการคือแจ้งที่อยู่ครั้งเดียว ครั้งต่อๆไปที่เรียกใช้บริการเขาจะไม่ต้องสอบถามที่อยู่อีก ทำให้การเรียกใช้บริการรวดเร็วขึ้น (เราใช้บริการ 1681 พาพ่อไปโรงพยาบาล หาข้อมูลจากในพันทิปนี่แหละค่ะ ไม่เคยโดนเบี้ยวไม่มารับ หรือมาสาย(แต่เราเรียกล่วงหน้า 30 นาทีนะไม่เคยเรียกฉุกเฉิน) ลองเลือกใช้ดูค่ะ มีรายหลายที่เห็นว่าบริการดี)

ถ้าไม่เคยใช้บริการลองโทรไปขอแจ้งที่อยู่ไว้ก่อนเผื่อฉุกเฉินจะได้ไม่เสียเวลาในการบอกที่อยู่บ้านค่ะ

3.ทดลองจับชีพจรตอนที่เขายังแข็งแรง(จับตอนนี้ได้ยิ่งดี ผลัดไปเดี๋ยวลืม) ตรงหูน่าจะได้ แต่ตรงขานี่เขาจะให้จับหรือเปล่าไม่รู้นะคะ
จะได้รู้ว่าปกติเขาจะมีอัตราการเต้น ความแรงที่สัมผัสได้ และจุดที่จับแล้วชัดเจน จะได้เทียบได้เวลาที่เขาไม่สบาย

4.คิดล่วงหน้าไว้ก่อนว่ากรณีไหนเราจะยื้อชีวิตเขาไว้ กรณีไหนเราจะเป็นกำลังใจให้เขาจากไปอย่างสงบ เช่น เขาแก่มากแล้ว หายใจรวยริน เราจะยื้อไว้หรือเปล่า เวลาฉุกละหุกจะได้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

หวังว่าคงมีประโยชน์นะคะ ใครมีข้อแนะนำ ข้อแย้ง เชิญร่วมแชร์ค่ะ

บุญอันใดที่ได้จากกระทู้นี้ ขออุทิศให้ลูกของเรา ลูกของคุณๆ และสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายบนโลกใบนี้ค่ะ

จากคุณ : ใจหาย
เขียนเมื่อ : 7 พ.ย. 53 21:18:37 A:58.11.93.125 X: TicketID:282073




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com