|
ตอบคุณตู้ไฟ ความคิดเห็นที่ 21....
ด้วยดวามยินดี เลยครับ ความรู้ผม เรียกว่า แทบจะได้มาฟรี อยากถ่ายทอด ครับ
เมื่อว่าน ...มีสาวๆมาดูงานที่มุ้ง กับที่ โรงเห็ด ด้วย พอสาวกลับไป เมียผม แซวผมใหญ่เลยครับ บอกว่าให้ผมถ่ายมุ้งไปลง u-tube เลยไป เขียน Document ให้ละเอียดเลยนะ .....อ่ะนะ
ผมขออนุญาต คุณตู้ไฟตอบคำถามคุณ นันทา คห.16 นะครับ
โดยปกติเราจะใช้ เครื่องมือที่เรียกว่า Electro Conductivity เครื่องมือวัดสภาพ การนำทาง ไฟฟ้า หรือที่ทั่วๆไปเรียก EC มิเตอร์ หรือถ้าจะวัดให้ละเอียดแม่นยำเป๊ะๆเลย จะใช้ เครื่องมือที่เรียกว่า Total dissolved solids มิเตอร์ เครื่องมือวัดค่ารวม ของสารละลายหรือธาติที่ แขวนลอยในน้ำ หรือทั่วๆไปเรียกว่า TDS มิเคอร์ ซึ่งมีหน่วยวัดเป็น part per million (เศษหนึ่งส่วนล้าน) ซึ่งเขียน ย่อๆว่า ppm
มาเป็นเครื่องมือวัดค่าความเข้มข้นของน้ำปุ๋ยที่จะใช้ครับ
รายละเอียดเครื่องมือทั้งสองตัวเซอร์ทเอาได้จากวิกี้ หรือ กูเกิล ได้ครับ
หรืออาจใช้ EC และ TDS ทั้งสองตัวควบด้วยกัน ก็ยิ่งสะดวกเราครับ
อีกตัวที่สำคัญคือ ตัววัดค่าความเป็นกรดด่าง (pH meter)ของน้ำปุ๋ย ด้วย ครับ
เอาคำตอบที่คุณนันทา สงสัยก่อนนะครับ
ที่ถูกต้องเป็น น้ำยาปุ๋ย AและB อย่างละ 3 cc ใส่ลงในน้ำ 1 ลิตร (1000 cc) รวมเป็นน้ำปุ๋ย 1006 cc ครับ
เนื่องจากความเข้มข้นของน้ำปุ๋ยผู้แทนจำหน่ายแต่ละเจ้า ผสมความเข้มข้น ไม่เท่ากันและไม่เป็นมาตรฐานอีกด้วย บางเจ้าผสมน้ำเจือจางเพื่อให้ได้ปริมาณ มากๆ เอากำไรเยอะๆ
คุณนันทาซื้อมา มาใส่A,Bอย่างละ 3 cc ผสมน้ำ1 ลิคร แน่นอนครับแช่กัน นานน้านนาน ก็ยังไม่โตซักทีครับ
แต่ถ้าคุณนันทาซื้อปุ๋ยมาจากตัวแทนปุ๋ยที่ได้มาตรฐาน เชื่อถือได้ มีความเข้มข้น ถูกต้อง ผสม A,B อย่างละ 3 cc ต่อลิตร อาจมากไปก็ได้ครับ
ที่ถูกต้อง ถึงต้อง มีเครื่องมือมาวัดให้น้ำปุ๋ยที่ใช้ในระบบ ให้เป็นมาตรฐาน ไงครับ
โดยปกติ น้ำยา A และ B ที่ใช้ เมื่อผสมน้ำแล้ว น้ำปุ๋ยที่ได้ ค่าจะวิ่งอยู่ระหว่าง ค่า EC=1 ถึง 1.5 หรือ เท่ากับ TDS = 650 ถึง 1300 ppm ครับ
ทั้งนี้ ค่าทั้งหมดยัง ขึ้นอยู่กับ ระบบ ที่ปลูก ชนิดของพืชที่ปลูก พันธุ์ที่ใช้ เครื่องปลูกที่ใช้ และการจัดสภาพแวดล้อมต่างๆ ในการปลูกพืช
รวมถึงระยะเวลาระหว่างต้นอ่อน ต้นอนุบาล ต้นสมบูรณ์ และต้นแก่ มีผลทั้งนั้นครับ
จะใช้ความเข้มข้นของ ปุ๋ย A กับ B แตกต่างกัน ครับ
ลองยกตัวอย่างซักเรื่อง เอาเรื่องเครื่องปลูกก็ได้ครับ
โดยทั่วไปจำแนกเครื่องปลูกได้เป็นสามประเภท ครับ 1 เครื่องปลูกประเภท วัสดุอินทรีสาร :-ขี้เลื่อย ขุ๋ยมะพร้าว ออสมันด้า ชานอ้อย ขี้เถ้า แกลบ ฯลฯ 2 เครื่องปลูกประเภท วัสดุอนินทรีสาร :- หราย หิน กรวด เม็ดดินเผา เพอร์ไรท์ (perlite) ฯลฯ 3 เครื่องปลูกประเภท วัสดุสังเคราะห์ :- โฟม เม็ดโฟม แผ่นฟองน้ำ เส้นใย พลาสติก ฯลฯ แต่ละประเภทที่ใช้มีคุณสมบัติในการดึงปริมาณ น้ำปุ๋ย ให้รากนำไปใช้ ได้ ไม่เท่ากันทั้งสิ้นครับ และก็จะใช้ความเข้มข้นของน้ำปุ๋ยไม่เท่ากัน เช่นเดียวกัน ด้วย ครับ
นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างเดียวนะครับ แล้วใหนจะ ระยะเวลาระหว่างต้นอ่อน ต้นอนุบาล ต้นสมบูรณ์ และต้นแก่ ฯลฯ และอีกมากมาย ที่ค่าความเข้มข้นของสารละลายมีผลทั้งนั้น ครับ
ไปกำหนด เป๊ะ อย่างละ 3 cc เราจึงจำเป็นต้องทราบที่มาที่ไปด้วย ครับ
เอ...แล้วเราเคยสงสัยกันใหมครับว่า ทำไมถึงต้องแยกเป็นน้ำปุ๋ย A น้ำปุ๋ย B ด้วย เป็นน้ำเหมือนกันนี่ เราจะผสมรวมกันมาขายเลย เหลือขวดเดียวไม่สะดวกกว่า หรือ จะไปแยกเป็น A เป็น B ให้งงกันเวลาผสมทำไม
ฝากเพื่อนๆไปคิด ครับ มีเฉลยอธิบายได้เป็นสูตรสมการเคมี ยาวเหยียดเลยครับ แต่เอาคำตอบง่ายๆ ไปก่อน คือถ้าABผสมกัน จะตกตะกอน ไม่สามารถ เก็บไว้ได้นานครับ ที่เหลือ หาเอาจาก วิกี้ นะครับ .... อ่ะนะ
อธิบายซะยาว ......สงสัยคุณนันทาคงงงไปแล้วครับ บอกแล้ว เรื่องทฤษฏีนะ ผมไม่ค่อยหวั่นใจครับ ศึกษาอบรม ลักจำมากับอาจารย์ บรรยาย Hydroponic เก่งๆ ตั้งสามสถาบัน
แต่...ไอ้เรื่องเพาะ เรื่องปลูก เรื่องทำนี่ซิ ผมละยอมแพ้คุณตู้ไฟ007 จริงๆ ครับ ต้องยกนิ้วให้ ยอดจริงๆครับ
แก้ไขเมื่อ 01 ธ.ค. 53 10:43:04
จากคุณ |
:
กา...คาบพริก
|
เขียนเมื่อ |
:
1 ธ.ค. 53 09:50:50
|
|
|
|
|