เชฟฝรั่งหัวใจไทย...ชีวิตนี้เพื่อแผ่นดินไทย
|
 |
...........................ความประทับใจของชาวต่างชาติที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีให้เห็น อยู่เสมอในหลากหลายวงการ และในวงการเชฟโรงแรม “เชฟนอร์เบิร์ต คอสเนอร์” เชฟใหญ่โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ ชาว อิตาเลียนวัย 65 ปี ที่ใช้ชีวิตอยู่เมืองไทยมากว่า 40 ปี พูดภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว มีความเป็นไทยและมีหัวใจไทยไม่น้อยกว่าคนไทย ที่สำคัญไปกว่านั้นมีโอกาสได้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทเกี่ยวกับโครงการ หลวงมานานกว่า 20 ปี ถือได้ว่าเป็นฝรั่งหัวใจไทยอีกคนหนึ่งที่รักและเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวที่สุดในชีวิต โอกาสในชีวิตที่ได้เข้ามาช่วยงานโครงการหลวงของเชฟนอร์เบิร์ต เริ่มขึ้นภายหลังขึ้นไปโครงการหลวงที่หนองหอย จ.เชียงใหม่ ครั้งแรกกับ มร.เคิร์ท ว๊าซไฟท์ล อดีตผู้จัดการใหญ่โรงแรมโอเรียนเต็ลฯ ตามคำเชิญของ ม.จ.ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ขณะนั้นเห็นว่าสถานที่นั้นมีพืชพันธุ์ผักปลูกไม่กี่อย่าง ไม่มีเครื่องเทศและสมุนไพร เชฟนอร์เบิร์ตจึงถามม.จ.ภีศเดชว่า ทำไมไม่ปลูกต้นนั้นต้นนี้ ด้วยความเป็นเชฟต้องการผักสด ๆ มาทำอาหาร หลังจากนั้น ม.จ.ภีศเดช ขออนุญาต มร.เคิร์ท ให้มาเป็นที่ปรึกษาของโครงการหลวง ในฐานะที่ปรึกษาของโครงการหลวง เมื่อเดินทาง กลับบ้านเกิด เชฟนอร์เบิร์ตจึงไปเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ ที่ร้านในอิตาลีมาทดลองปลูก ขณะเลือกเมล็ดพันธุ์เจ้าของร้านถามว่า จะเอาเมล็ดพันธุ์มากมายไปทำอะไร จึงเล่าให้เจ้าของร้านฟังว่า จะนำมาทดลองปลูกที่โครงการหลวง ซึ่งเป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระประสงค์พัฒนาที่ดินบน ดอย ทรงตั้งพระทัยให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่นหันมาปลูกผัก ผลไม้แทน เจ้าของร้านจึงให้เมล็ดพันธุ์มามากมายโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เมื่อกลับมาจึงนำมาทดลองปลูกมีทั้งเครื่องเทศ โรสแมรี, เสจ, อาริกาโน่, คาโมมาย, สปีแนช ฯลฯ บางอย่างขึ้นบางอย่างไม่ขึ้นเพราะสภาพอากาศเมืองไทยร้อน โดยระยะแรก ๆ เดินทางไปยังโครงการหลวงเดือนละครั้ง เพื่อดูความเจริญเติบโตของเมล็ดพืชพันธุ์และผลผลิตที่ชาวเขาเก็บได้ ไม่เฉพาะพันธุ์พืชเท่านั้น ทว่าเชฟ นอร์เบิร์ตยังนำไก่เบรสท์ (Brest) ไก่พื้นเมืองจากประเทศฝรั่งเศสเข้ามาที่โครงการหลวงด้วย โดยติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ของฝรั่งเศสเพื่อขอไก่พันธุ์นี้มาเลี้ยงในเมือง ไทย แต่ได้รับการปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่า เป็นไก่สงวนห้ามนำออกนอกประเทศ จึงได้นำซีดีการดำเนินงานของโครงการหลวงไปให้ มร.จอร์จ บลอง ประธานสมาคมไก่เบรสท์ในขณะนั้นพิจารณาดู และด้วยความซาบซึ้งในพระปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อโครง การหลวง ทางเจ้าหน้าที่ของฝรั่งเศสจึงส่งไข่ไก่ 500 ฟองมาให้ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะไม่สามารถฟักเป็นตัวได้ ทางฝรั่งเศสจึงส่งเป็นลูกเจี๊ยบให้ใหม่อีก 500 ตัว ลูกเจี๊ยบต้องเดินทางไกลข้ามน้ำข้ามทะเล ตั้งแต่เมืองเบรสท์ ไปเมืองลียองไปเมืองปารีส แล้วเดินทางต่อมายังกรุงเทพฯ สุดท้ายปลายทางที่ จ.เชียงใหม่ ลูกเจี๊ยบทุกตัวรอดชีวิตทั้งหมด ประเทศไทยจึงเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวที่ได้มีโอกาสเลี้ยงไก่เบรสท์ ในชีวิตนี้มีสิ่งที่ภาคภูมิใจคือ ได้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทในงานเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เชฟนอร์เบิร์ตได้รับโอกาสและเป็นโอกาสครั้งเดียวในชีวิต ที่ได้ปรุงอาหารถวายกษัตริย์จากทั่วโลก ที่มาร่วมถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้าไปปรุงอาหารถวายที่พระราชวังสวนจิตรลดา หลังจากทรงดนตรีเสร็จ ส่วนครั้งที่ 2 ที่บ้าน ม.จ.ภีศเดช โดย ม.จ.ภีศเดชพาไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งว่า “คนนี้เพื่อนภีศเดชที่ช่วยโครงการหลวงใช่มั้ย” ตอนนั้นรู้สึกตื่นเต้นมาก พูดไม่ออก ตอบเป็นภาษาไทยไปเพียงไม่กี่คำ แต่ภาพความประทับใจยังอยู่ในใจเสมอจวบจนวันนี้ ด้วยความที่เป็นฝรั่งที่มีหัวใจไทยอยู่เต็มเปี่ยม และยังสร้างคุณประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่โครงการหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ นำความภาคภูมิใจให้แก่ตนเองและครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เชฟนอร์เบิร์ตบอกว่า ยึดมั่นปณิธานแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ใน ชีวิตประจำวัน ทุกอย่างที่รู้ ได้นำไปสอนให้คนอื่น พยายามช่วยคนอื่นที่ด้อยโอกาส ถ้าเรามีมากพอ ก็ต้องแบ่งปันให้คนอื่น เพราะถ้าเก็บไว้ที่ตัวคนเดียว ก็ไม่เกิดประโยชน์.
ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=359&contentID=112216
จากคุณ |
:
ญี่ปุ่น35
|
เขียนเมื่อ |
:
28 ธ.ค. 53 00:09:33
|
|
|
|