 |
ก่อนอื่นขอแนะนำให้รู้จักกับลักษณะที่แท้จริงของว่านกลิ้งกลางดงซะก่อน ข้อมูลจากเว็บตามลิงก์นี้ จะช่วยให้เห็นภาพและรู้จักกับว่านกลิ้งกลางดงได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
http://thaiforestherb.blogspot.com/2009/03/blog-post_07.html
ในเว็บนี้เค้าบอกไว้ว่าว่านกลิ้งกลางดงคือชนิดเดียวกับว่านพระฉิม แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วมันไม่ใช่อย่างนั้น ว่านกลิ้งกลางดงที่แท้ก็คือภาพแรกๆ ที่มีลูกตามเถาค่อนข้างโตผิวเกลี้ยงเป็นมันออกสีดำและมีจุดขาวกระจายอยู่ทั่วไปนั่นแหละครับ ส่วนว่านพระฉิมก็คือต้นในภาพหลังๆ ที่ลูกมีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่ำและผิวออกสีน้ำตาลอ่อนนั่นเอง
และต้องทราบต่อไปด้วยว่าว่านกลิ้งกลางดงนี้ อยู่ในวงศ์ DIOSCOREACEAE อย่างแน่นอน และต้องอยู่ในสกุลมันเถา (Dioscorea) ด้วย เพราะไม้วงศ์นี้ในประเทศไทยมันมีอยู่เพียงสกุลเดียว แต่สกุลเดียวนี้กลับมีอยู่ถึง 32 ชนิด ดังนี้
1 Dioscorea alata L. [HC] นอย (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) มันเขาวัว (เหนือ) มันแข้งช้าง (เหนือ) มันงู (กลาง) มันจาวมะพร้าว (กลาง) มันดอกทอง (นครราชสีมา) มันตีนช้าง (เหนือ) มันแถบ (ปราจีนบุรี) มันทู่ (นครศรีธรรมราช) มันมือหมี (กลาง) มันลองเชิง (สระบุรี) มันเลี่ยม (เหนือ) มันเลือดไก่ (กลาง) มันเสา (กลาง) มันหวาย (เลย) ยวยหมี่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) Greater yam (CommonName) 2 Dioscorea arachidna Prain & Burkill [HC] เถาใด (เลย) มันแกม (ปราจีนบุรี) มันน้ำ (กลาง,ชัยนาท) มันสามเหลี่ยม (กำแพงเพชร) มันหนอน (ชลบุรี,ปราจีนบุรี) 3 Dioscorea barbata Decne [ExHC] ฮวยซ้อ (กลาง,จีน) 4 Dioscorea birmanica Prain & Burkill [HC] กลอยเขา (กาญจนบุรี,เงี้ยว เหนือ) มันจ้วก (แม่ฮ่องสอน,เหนือ) มันนก (ตราด,สุราษฎร์ธานี) 5 Dioscorea brevipetiolata Prain & Burkill [HC] มันแดงดง (ตราด) 6 Dioscorea bulbifera L. [HC] เดะควา (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) มะมู (เหนือ) มันกะทาด (นครราชสีมา) มันขมิ้น (กลาง) มันตกเลือด (นครศรีธรรมราช) มันเสิน (นครศรีธรรมราช,สุราษฎร์ธานี) มันหลวง (ประจวบคีรีขันธ์) มันอีโม้ (ปราจีนบุรี,สุโขทัย) มันอีลุ้ม (จันทบุรี) ละสามี (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เล่าะแจ๊มื่อ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ว่านพระฉิม (กทม.,กลาง) ว่านสามพันตึง (กลาง) หัมเป้า (เหนือ) อีรุมปุมเป้า (ปราจีนบุรี) อึ้งเอ๊ยะ (กลาง,จีน) Air potato (CommonName) 7 Dioscorea daunaea Prain & Burkill [HC] มันเทียน (นครราชสีมา,สระบุรี) มันอ้อน (นครราชสีมา,เลย) 8 Dioscorea decipiens Hook.f. [HC] มันตึ่ง (เหนือ) มันนำ (เหนือ) มันนิ่ม (เงี้ยว เหนือ) มันเน่า (เหนือ) 9 Dioscorea esculenta (Lour.) Burkill [HC] มันกะซาก (สระบุรี) มันจ้วก (แม่ฮ่องสอน,เหนือ) มันมือเสือ (กลาง) มันมุ้ง (กลาง) มันอีเพิ่ม (ปราจีนบุรี) มันอีมุ้ง (กลาง,ชลบุรี) หนามจ้วก (เหนือ) Lesser yam (CommonName) 10 Dioscorea filicaulis Prain & Burkill [HC] มันตองแตก (ปราจีนบุรี) 11 Dioscorea garrettii Prain & Burkill [HC] มันนกคอย (ลำปาง) 12 Dioscorea gibbiflora Hook.f. [HC] อุบีตันโย (มลายู ปัตตานี) Wild yam (CommonName) 13 Dioscorea glabra Roxb. [HC] ทาด (สุราษฎร์ธานี) มันชาย (ประจวบคีรีขันธ์) มันดง (กลาง) มันตามราก (นครศรีธรรมราช) มันตามะระ (ระนอง) มันทราย (ปัตตานี) มันนางนอน (ปราจีนบุรี) มันลาย (เลย) 14 Dioscorea hamiltonii Hook.f. [HC] มันรัก (นครราชสีมา) 15 Dioscorea hispida Dennst. var. hispida [HC] กลอย (กลาง) กลอยข้าวเหนียว (นครราชสีมา) กลอยนก (เหนือ) กลอยหัวเหนียว (นครราชสีมา) กอย (เหนือ) คลี้ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน,ส่วย สุรินทร์) มันกลอย (กลาง) Asiatic bitter yam (CommonName) 16 Dioscorea hispida Dennst. var. neoscaphoides Prain & Burkill [HC] กลอยเขา (กาญจนบุรี,เงี้ยว เหนือ) 17 Dioscorea inopinata Prain & Burkill [HC] มันนก (ตราด,สุราษฎร์ธานี) 18 Dioscorea kamoonensis Kunth [HC] หัว (มุกดาหาร) 19 Dioscorea kratica Prain & Burkill [HC] มันดำ (นครราชสีมา) มันนก (ตราด,สุราษฎร์ธานี) 20 Dioscorea membranacea Pierre [HC] เครือเต่าไห้ (ลำปาง,เลย) มันหมู (ชุมพร,เหนือ) มันอียาง (สระบุรี) 21 Dioscorea myriantha Kunth [HC] ผักแมวแดง (สุราษฎร์ธานี) มันเทียน (นครราชสีมา,สระบุรี) 22 Dioscorea opposita Thunb. [ExHC] ซัวเอี๊ยะ (กลาง,จีน) ฮ่วยซัว (กลาง,จีน) 23 Dioscorea orbiculata Hook.f. [HC] มันตะยง (มลายู ใต้) มันตาหยง (ปัตตานี) 24 Dioscorea oryzetorum Prain & Burkill [HC] มันพาด (กลาง) มันมือ (กลาง) มันหนู (จันทบุรี,ใต้) มันหลากเขา (ชุมพร) 25 Dioscorea paradoxa Prain & Burkill [HC] มันเชิงน้ำจืด (สระบุรี) มันสะอม (นครราชสีมา) 26 Dioscorea pentaphylla L. [HC] กอยขี้กุ่ง (เชียงใหม่) มะมู่ (เชียงใหม่) มันกู้ (ลำปาง) มันคันขาว (สุพรรณบุรี) มันจ้วก (แม่ฮ่องสอน,เหนือ) มันมากไก่ (เชียงใหม่) มันสือ (นครศรีธรรมราช) มันหมักบุก (เชียงใหม่) มันหมักมู่ (เชียงใหม่) มันหิ่ง (แม่ฮ่องสอน,เลย) มันอ้อน (นครราชสีมา,เลย) มันอีมู่ (แม่ฮ่องสอน,เลย) หมักโก่ (เชียงใหม่) หามมันอีหมู (พิษณุโลก) Five–leaved yam (CommonName) 27 Dioscorea pierrei Prain & Burkill [HC] มันน้ำ (กลาง,ชัยนาท) มันน้ำพันธุ์ใหญ่ (ปราจีนบุรี) มันเสิน (นครศรีธรรมราช,สุราษฎร์ธานี) มันหนอน (ชลบุรี,ปราจีนบุรี) มันอีโม้ (ปราจีนบุรี,สุโขทัย) 28 Dioscorea prazeri Prain & Burkill [HC] มันเขา (ราชบุรี) มันเมีย (ราชบุรี) 29 Dioscorea pseudotomentosa Prain & Burkill [HC] มันแซงหิน (สระบุรี) 30 Dioscorea stemonoides Prain & Burkill [HC] มันตึงเหน็บ (สระบุรี) มันเหม็น (สระบุรี) 31 Dioscorea tamariscifolia Prain & Burkill [HC] มันเสิน (นครศรีธรรมราช,สุราษฎร์ธานี) 32 Dioscorea wallichii Hook.f. [HC] เกรอะ (ชุมพร)
จะเห็นว่าทั้ง 32 ชนิดนี้ไม่มีชื่อว่านกลิ้งกลางดงปรากฏอยู่ด้วยเลย ทั้งๆ ที่โดยความเป็นจริงแล้วว่านกลิ้งกลางดงก็คือ 1 ในจำนวน 32 ชนิดนี้อย่างแน่นอน และนี่คือหน้าที่ของคุณMeMoKung ที่จะต้องหาเอาเองว่ามันคือต้นไหนกันแน่ แต่อย่าไปโมเมเอาว่ามันคือชนิดที่ 6 คือชนิดเดียวกันกับว่านพระฉิมเหมือนอย่างในเว็บข้างบนนั่นก็แล้วกัน
*** มีว่านอยู่ชนิดหนึ่งที่อยากให้นำไปวิจัยเรื่องผลต่อฮอร์โมนเพศมาก ก็คือว่านเฒ่าหนังแห้ง ซึ่งได้ยินคำเล่าลือมานานนักหนาแล้วว่าญี่ปุ่นเข้ามากว้านซื้อว่านนี้อย่างไม่อั้นเพื่อเอาไปทำยาเกี่ยวกับครีมทาบำรุงผิวที่เหี่ยวย่นให้กลับเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล และยังเข้ายาที่รับประทานแล้วทำให้ผู้ชายสูงอายุกลับฟิตปึ๋งปั๋งขึ้นมาได้
จากคุณ |
:
ตาเชย
|
เขียนเมื่อ |
:
1 ธ.ค. 53 20:24:48
|
|
|
|
 |