ผลิตลำไยนอกฤดูสูตร"หมอดิน" สารโพแทสผสมปุ๋ยน้ำลดต้นทุน
|
 |
..........................แม้ผู้ปลูกลำไยส่วน ใหญ่จะมีการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต (KClO3) เร่งให้ต้นลำไยออกดอกเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูกันอย่างแพร่หลายและมีแนวโน้มขยาย ตัวเพิ่มขึ้น หวังจะทำให้ลำไยออกดอกได้ดี แต่ผลที่ได้กลับพบว่าการใช้สารในอัตราสูงกว่าคำแนะนำมีผลทำให้การออกดอกลดลง 30-40% ขณะเดียวกันยังทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และยังมีสารเคมีตกค้างในดินด้วย หากใช้ปริมาณมากติดต่อกันหลายปีจะทำให้ต้นลำไยมีปัญหา เช่น ต้นทรุดโทรมเร็ว หรือเกิดอาการใบเหลืองแล้วแห้งตาย
อินทอง หล่อเถิน เกษตรกรผู้ปลูกลำไยนอกฤดู อ.ป่าซาง จ.ลำพูน หนึ่งในเกษตรกรที่ยึดแนวทางการผลิตลำไยโดยการใช้สารเคมีเพียงอย่างเดียว ทั้งสารโพแทสเซียมคลอเรต ปุ๋ยเคมี สารกำจัดแมลงศัตรูพืชมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งเมื่อได้รับการถ่ายทอดความรู้ในเรื่องของการใช้สารอินทรีย์ทดแทน สารเคมีทางการเกษตรจากกรมพัฒนาที่ดิน และการเข้ารับการอบรมจากที่ต่างๆ จึงเกิดความสนใจศึกษาทดลองทำสารอินทรีย์ไว้ใช้ดูบ้าง หลังจากทราบแล้วว่าสารอินทรีย์มีประโยชน์ต่อดินและพืชรวมทั้งสามารถทำเองได้ จึงหาทางศึกษาเพิ่มเติมถึงวิธีการผลิตสารอินทรีย์ต่างๆ อย่างถูกวิธี จนได้รับคำแนะนำจากสถานีพัฒนาที่ดินลำพูน
“เมื่อก่อนใช้เคมีอย่างเดียวดินแห้งแข็ง มีลำไยอยู่ 3 ต้น ทดลองนำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ไปใส่ ปรากฏว่าใบเขียวขึ้น ต้นสมบูรณ์ดีกว่าต้นอื่นๆ จึงรู้ว่าการใช้สารอินทรีย์ร่วมกับสารเคมีสามารถทำได้ และให้ผลดีกว่าการใช้สารเคมีทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว เพราะนอกจากต้นลำไยสมบูรณ์ขึ้นแล้ว ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ สามารถทำใช้เองได้ต้นทุนไม่สูง”
***อินทองชี้ให้ดูผลลำไยนอกฤดู
จากคุณ |
:
ญี่ปุ่น35
|
เขียนเมื่อ |
:
14 ม.ค. 54 02:02:56
|
|
|
|