 |
ปอมจะตัวใหญ่หรือเล็กอยู่ที่เกรดและสายพันธุ์ ไม่ใช่การให้อาหารน้อยเป็น"หลัก"
ต่อให้น้อยอย่างไรถ้าตัวใหญ่ ก็จะใหญ่เพราะโครงสร้างให้มา เลี้ยงให้สุขภาพแข็งแรง
ไม่เจ็บป่วยดีที่สุด สอนฝึกให้มีระเบียบ จะได้เลี้ยงด้วยความสุข
เรื่องนมแพะกับนมวัว นมแพะจะดีกับสุนัข ส่วนนมวัวไม่ดีต่อสุนัขไม่แนะนำค่ะเพราะว่าสุนัขบางตัวจะไม่มีเอนซายย่อยแล็กโตสในนมวัว ให้กินนมแพะดีกว่าย่อยง่ายกว่า ดูดซึมได้ดีกว่าและก็มีโปรตีนสูงกว่า
เรื่องซน หมาเด็กย่อมซนตามวัย หัดให้กัดตุ๊กตา เชือกผ้า เพราะว่าฟันกำลังขึ้นจะมีอาการคันเหงือก ของต่างๆ จะได้ไม่เสียหาย
การเลี้ยงปอมเด็กๆ ควรนำไปหาสัตวแพทย์และทำตามโปรแกรมที่จัดสม่ำเสมอ
6 สัปดาห์ วัคซีนป้องกันโรคไข้หัดสุนัข หรือ ลำไส้อักเสบติดต่อ (เฉพาะในกรณีที่สัตว์แพทย์พิจารณาแล้วว่า ลูกสุนัขมีความเสี่ยงสูงต่อโรคดังกล่าว)
8 สัปดาห์ วัคซีนรวม ป้องกันโรคไข้หัดสุนัข และลำไส้อักเสบติดต่อ (อาจรวมกับ ตับอักเสบ และ/หรือ เลปโตสไปโรซีส และ/หรือ หวัด และ หลอดลมอักเสบติดต่อ)
10 สัปดาห์ วัคซีนรวม ป้องกันโรคไข้หัดสุนัข และลำไส้อักเสบติดต่อ (อาจรวมกับ ตับอักเสบ และ/หรือ เลปโตสไปโรซีส และ/หรือ หวัด และ หลอดลมอักเสบติดต่อ)
12 สัปดาห์ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (สำหรับลูกสุนัขที่มีความเสี่ยงสูง อาจพิจารณาทำวัคซีนก่อน 12 สัปดาห์ และให้ทำวัคซีนซ้ำเมื่อลูกสุนัขอายุได้ 12 สัปดาห์)
16 สัปดาห์ วัคซีนป้องกันโรคลำไส้อักเสบติดต่อ
6 เดือน วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
ทุกๆ ปี ฉีดวัคซีนกระตุ้นทุกโรค ทุกปี
อายุ 6 สัปดาห์ ควรให้ยาถ่ายพยาธิ (ได้ทั้งยาน้ำ และยาเม็ด) และหลังจากนั้น ให้อีกทุกๆ 3 เดือน อย่างสม่ำเสมอ
ยาป้องกันหนอนพยาธิหัวใจ และยาป้องกันเห็บ-หมัด ควรให้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เดือนละ 1 ครั้ง
เครดิด *คณะอนุกรรมการพิจารณาโปรแกรมวัคซีนสุนัขสมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย
น้ำดื่ม ควรจะเป็นขวดน้ำ เพื่อจะได้สะอาดไม่มีฝุ่นละออง ถ้าเป็นชามหรือถาดน้ำอาจรีบๆทำให้สำลักได้นะคะ และมีฝุ่นลงไปในน้ำดื่มได้ง่าย
แล้วอย่าเอาองุ่น หรือช็อคโกแลต น้ำโค้ก ให้กินค่ะ หัวใจพันธุ์ปอมนี้อ่อนแอกว่าพันธุ์อื่นด้วย ช็อคตายง่าย ถ้าปริมาณมากเป็นโทษค่ะ
อย่าแกล้งมันมาก แบบยกมันเหวี่ยงสูงๆ โยนเล่น เพราะความสนุก หมาปอมเด็กๆ จะไว ควรจับใส่ในคอกไว้ เพื่อความไม่ประมาทถ้าไม่ได้อยู่ในสายตา
ปอมๆเป็นสุนัขที่กระดูกค่อนข้างเปราะ ระวังเค้ามากๆเวลาเอาไปเล่นบนโต๊ะหรือเก้าอี้สูงๆ เพราะตกรอบเดียวขาหักได้ง่ายๆ พื้นลื่นๆ ทำให้ขาแบะ สะบ้าหลุดได้เช่นกัน
วิธีป้องกันเป็นลมแดด ในภาวะโลกร้อน (และใจที่ร้อนรน) ทำให้อากาศร้อนขึ้นเรื่อยๆเสี่ยงต่อการเป็นลมแดด (heat stroke)หมาเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อโรคลมแดดค่อนข้างมาก เนื่องจากมันไม่มีต่อมเหงื่อ อาศัยการระบายความร้อนจากการหายใจ พ่นลมผ่านทางเดินหายใจและลิ้นเพื่อให้น้ำระเหยพร้อมกับนำความร้อนอออกไปด้วย
หลีกเลี่ยงโรคลมแดดในร่ม และที่อากาศถ่ายเทดี
จัดหาน้ำดื่มให้มากพอตลอด 24 ชั่วโมง, ถ้าพาน้องๆ ไปออกกำลังนอกบ้าน ควรเตรียมน้ำดื่มให้ด้วยเสมอ
ที่อันตรายสุดๆ คือ อย่าทิ้งน้องไว้ในรถ (รถปิดกระจกอันตรายมากกว่ารถเปิดกระจก) เกิน 2-3 นาที
ระวังอย่าให้น้องๆ วิ่งหรือทำกิจกรรมมากเกินในช่วงที่อากาศร้อน โดยเฉพาะกลางแดด,
อาการที่บ่ง ชี้ว่า น้องๆ อาจเป็นลมแดด ซึ่งอาการหลายอย่างคล้ายกับลมแดดในคนเราได้แก่
(1). heavy panting = หอบแลบลิ้นแฮกๆ อย่างหนัก
(2). หายใจแรง-ลึก-เร็วในระยะแรก และหายใจตื้น-เบา-ช้าในระยะท้ายๆ (ระยะท้ายๆ มีโอกาสตายสูง)
(3). น้ำลายไหลฟูมปากในช่วงแรก ต่อมาน้ำลายจะลดลงจนไม่ออกเลย เหงือกจะแห้ง เนื่องจากปริมาณน้ำในเลือดลดลง
(4). อ่อนแรงหรือเดินสะดุด โซเซ
(5). สับสนหรือสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง
(6). การไหลเวียนเลือดอาจแย่ลง ทำให้สีเหงือกเปลี่ยนเป็นซีด และเขียวคล้ำลง
(7). อาเจียนหรือท้องเสีย
(8). ตกเลือด เช่น ถ่ายเป็นเลือด ฯลฯ
(9). ซึมลงหรือชัก
(10). อุณหภูมิแกนกลาง (core temperature - นิยมวัดทางทวารหนัก, อย่าวัดทางปาก เนื่องจากน้องๆ อาจไม่รู้ตัว กัดปรอท ทำให้เศษปรอทวัดไข้ที่แตก... ตกไปในหลอดลมได้, ภาวะลมแดดในคนก็ห้ามวัดทางปากด้วยเหตุผลเดียวกัน) เกิน 40C โดยเฉพาะถ้าเกิน 40.6C จะมีอันตรายมาก
(11). การไหลเวียนเลือดแย่ลง ตรวจได้โดยการกดเยื่อบุ เช่น เหงือก ฯลฯ... หลังกดจะมีสีซีด ซึ่งควรจะกลับเป็นสีแดงเรื่อๆ ภายใน 1 วินาที
การตรวจแบบนี้อันตราย และเสี่ยงต่อการถูกกัดมาก เนื่องจากน้องๆ ที่มีโรคลมแดดมักจะสับสน กระวนกระวาย หรือดุร้ายผิดปกติ
วิธีปฐมพยาบาล เบื้องต้น
(1). รีบนำออกจากที่ที่ร้อนจัด เช่น นำออกจากรถตากแดด ฯลฯ
(2). อาบน้ำ หรือฉีดน้ำใส่ (ระวังน้องๆ สำลักน้ำด้วยเสมอ)
(3). จุ่มลงในน้ำค่อนข้างเย็น (อาจารย์บางท่านแนะนำว่า ไม่ควรแช่ในน้ำแช่น้ำแข็ง เนื่องจากอาจทำให้หลอดเลือดใต้ผิวหนังหดตัว การระบายความร้อนช้าลง... การจุ่มให้เร็วสำคัญกว่า)
(4). ประคบเย็น หรือเช็ดตัว... เน้นบริเวณที่หลอดเลือดใหญ่อยู่ใกล้ผิวหนังได้แก่ รักแร้ ขาหนีบ และลำคอ
ตำแหน่งที่พอจะเช็ดตัวได้รองลงไป คือ หน้าอก-หน้าท้อง ซึ่งต้องระวังถูกน้องๆ กัด เนื่องจากโรคนี้ทำให้น้องๆ ไม่ค่อยรู้ตัว
การอาบน้ำ จุ่มน้ำเย็น ประคบเย็น หรือเช็ดตัวควรทำให้นานหน่อย วัดอุณหภูมิทางก้นทุกๆ 3 นาที... เมื่อน้องๆ เย็นลงถึง 38C ให้รีบหยุดการหล่อเย็นหรือระบายความร้อน เพื่อป้องกันภาวะตัวเย็น ซึ่ง อาจทำให้น้องๆ เสียชีวิตได้
และอย่าเพิ่งนำอุปกรณ์หล่อเย็น เช่น ถังน้ำ ผ้าเย็น ฯลฯ ไปทิ้ง, วัดอุณหภูมิทางก้นซ้ำทุกๆ 3 นาที เนื่องจากอุณหภูมิอาจกลับเพิ่มขึ้นไปใหม่ ซึ่งจะต้องหล่อเย็นกันใหม่อีก
(5). ถ้าหาน้ำไม่ได้จริงๆ... ทางเลือกอื่นๆ ที่เป็นไปได้ คือ ใช้แอลกอฮอล์ถูที่ฝ่าเท้า, ราดไปบนรักแร้-ขาหนีบ-หน้าท้อง
หรือไม่ก็หาน้ำฉุกเฉิน คือ ช่วยกันปัสสาวะให้น้องเปียก หรือถ้ามีคนอยู่กันหลายๆ คน... อาจปัสสาวะใส่อ่างให้น้องแช่
(6). รีบนำส่งอาจารย์สัตวแพทย์ ซึ่งการรักษาที่ดี คือ รีบให้น้ำเกลือชดเชยปริมาณน้ำที่สูญเสียไปทันที
(7). ทำใจ เพราะโรคลมแดดทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว เช่น ไตวาย หัวใจวาย ฯลฯ หรือถึงตายได้คล้ายๆ กับในคน
คอก มีหลายประเภท ทั้งโลหะ พลาสติก ไม้ ราคาตามคุณภาพค่ะ หาได้ตามร้าน pet shop
จากคุณ |
:
Pecan
|
เขียนเมื่อ |
:
4 ก.พ. 54 10:49:39
|
|
|
|
 |