เตือนเพลี้ยระบาดแปลงหม่อน กรมหม่อนไหมชี้ก.พ.-มิ.ย.น่าห่วง/ทำชะงักเจริญเติบโต
|
 |
..........................นายไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า เมื่อถึงช่วงฤดูแล้งหรือช่วงที่สภาพอากาศแห้งแล้งมักพบเพลี้ยแป้งระบาดใน แปลงหม่อน โดยเพลี้ยจะเข้าไปดูดกินน้ำเลี้ยงส่วนที่อ่อนของต้นหม่อน เช่น ยอดอ่อน ตาที่แตกใหม่ โคนใบ ส่วนมากมักเกาะดูดอยู่ด้านท้องใบ หรือโคนใบอ่อน ทำให้รูปร่างของใบหม่อนผิดปกติ ใบหด หงิกงอ ยอดหม่อนชะงักการเจริญเติบโต ข้อระหว่างใบถี่ กิ่งบวม หักง่าย ซึ่งชาวบ้านจึงเรียกว่า "โรคกูดหรือหัวนกเค้า" เมื่อยอดหักหม่อนจะแตกแขนงออกลักษณะเป็นพุ่ม ส่วนที่หงิกงอจะมีเพลี้ยแป้งเข้าไปอาศัยอยู่เพื่อหลบศัตรูธรรมชาติ เช่น ด้วงเต่า แมลงช้างปีกใส และหลบฝนหรือละอองน้ำ มักพบการระบาดของเพลี้ยแป้งตลอดทั้งปี แต่จะพบมากช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน แต่ในบางพื้นที่อาจมีการระบาดในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม
สำหรับการป้องกันและกำจัด แนะนำให้เกษตรกรควรปฏิบัติดังนี้
1.ช่วงที่เกิดการระบาดของเพลี้ยแป้ง ถ้าพบส่วนที่หงิกงอ ซึ่งเกิดจากการทำลายของเพลี้ยแป้งต้องตัดแต่งกิ่งหม่อนและนำมาเผาทำลาย เพื่อป้องกันการขยายพันธุ์และแพร่ระบาดไปยังแหล่งอื่น 2.กำจัดมดในแปลงหม่อน เช่น มดดำ มดคันไฟ และมดแดงเพื่อไม่ให้เพลี้ยแป้งแพร่กระจายไปยังหม่อนต้นข้างเคียงได้ 3.ปล่อยศัตรูธรรมชาติ เช่น ด้วงเต่าลายหยัก ด้วงเต่าสีส้ม ด้วงเต่า แตนเบียน และแมลงช้างปีกใสให้ช่วยกินตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัยเพลี้ยแป้ง เพื่อลดปริมาณประชากรของเพลี้ยแป้งไม่ให้ระบาดทำความเสียหายแก่ต้นหม่อนได้ 4.ใช้น้ำหมักสมุนไพรประเภทใบกะเพรา โหรพา จำนวน 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หมักทิ้งไว้ประมาณ 3-5 วัน และผสมสารจับใบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยใช้ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน 5.ถ้าจำเป็นต้องใช้สารเคมีแนะนำให้ฉีดพ่นด้วยสารไวท์ออยผสมกับคาร์โบซัลแฟน 20% EC อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร มีระยะปลอดภัยสำหรับการเลี้ยงไหม 20 วัน หลังพ่นสาร ทั้งนี้หากพบการระบาดในปริมาณมากให้เกษตรกรแจ้งเจ้าหน้าที่ กรมหม่อนไหมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร่งด่วนเพื่อจะได้ดำเนินการช่วย เหลือได้อย่างทันท่วงที
ที่มา http://www.naewna.com/news.asp?ID=249646
จากคุณ |
:
ญี่ปุ่น35
|
เขียนเมื่อ |
:
18 ก.พ. 54 00:35:56
|
|
|
|