Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี ส่งเสริมการปลูกเตยหอมเพื่อการค้า ติดต่อทีมงาน

..........................ดร.รุจีพัชร บุญจริง เกษตรจังหวัดปทุมธานี ให้ข้อมูลว่า จังหวัดปทุมธานี เป็นเมืองเกษตรกรรมชาญเมือง ที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมต่อการทำการเกษตร พร้อมทั้งใกล้แหล่งตลาดรับซื้อผลผลิต พื้นที่การเกษตรทั้งหมดประมาณ  5 แสนไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำนา 3.5 แสนไร่ รองลงมาพืชผักและผลไม้ สำหรับพืชสมุนไพรที่กำลังให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกเพื่อการ ค้า ได้แก่ เตยหอม ซึ่งมีการปลูกมานาน 5-6 ปี

                          ปัจจุบัน มีพื้นที่ปลูกมาก อยู่ที่บริเวณ ตำบลคลองสาม-คลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ได้มีการจัดตั้ง ′กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเตยหอมคลองสาม′ หมู่ที่ 13 ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พื้นที่รวมไม่ต่ำกว่า 450 ไร่ เกษตรกรที่เป็นสมาชิก จำนวน 34 ราย มี คุณสุเทพ เมฆกำพล เป็นประธานกลุ่ม เบอร์โทรศัพท์ (085) 114-5427 และ คุณสมใจ คชศิลา เป็นรองประธาน โทร. (084) 660-7034 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรวมกลุ่มในการพัฒนาการผลิตเตยหอมให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน GAP และเป็นที่ต้องการของตลาด

ข้อมูลบางส่วนของเตยหอมมี ดังนี้
เตยหอม(Toeihom) Screw pine
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandunus odorus Ridi            
วงศ์ PANDANACEAE                                      
ชื่ออื่นๆ ภาคกลาง : เตยหอมใหญ่ (Toei-hom-yai)
เตยหอมเล็ก (Toei-hom-lek)
มลายู : ปาแนะวองิง (Pa-nae-wo-nging)
ชื่อพื้นเมือง เตยหอม หวานข้าวไหม้ ปาแนะออจิง (Pandanus)
ถิ่นกำเนิด ไทย มาเลเซีย
รูป ลักษณะ ไม้น้ำ ต้นเล็กใบยาวแยกออกจากโคนต้น ใบเขียวเกลี้ยงไม่มีหนามริมใบ มีกลิ่นหอมมันๆ ต้นแก่มีรากอากาศขึ้นอยู่ตามชายคลองที่น้ำขึ้นลงถึง

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
       แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ ดับพิษไข้ ชูกำลัง
       ต้นและราก-ใช้เป็นยาขับปัสสาวะกระษัย
       ใบสด-ตำพอกรักษาโรคหัด โรคผิวหนัง ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น โดยใช้น้ำใบเตยผสมอาหาร แต่งกลิ่น แต่งสีขนม


ประโยชน์
       ใช้ ผสมอาหาร ทำอาหาร ดับกลิ่น แก้โรคเบาหวาน ใช้บำรุงหัวใจ
กลิ่นหอมเย็นชื่นใจ ดื่มทำให้ชุ่มคอ


ใบ
       ใบเตยประกอบไปด้วยน้ำมันหอมระเหย และมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยประกอบไปด้วยสารหลายชนิด เช่น ไลนาลิลอะซีเตท (Linalyl acetate) เบนซิลอะซีเตท (Benzyl acetate) ไลนาโลออล  (Linalool) และเจอรานิออล (Geraniol) และสารที่ทำให้มีกลิ่นหอมคือ คูมาริน (Coumarin) และเอทิลวานิลลิน (Ethyl vanillin)


                         เตย เป็นพืชครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่งที่มีใบสีเขียวยาว มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ปลูก ใบเตยจะขึ้นอยู่ในพื้นที่ใดก็ได้ แต่ต้องมีน้ำเพียงพอต่อการดำรงชีวิตและการเติบโตของต้นเตยได้ ส่วนใหญ่ต้องปลูกตามชายน้ำ

                          ประโยชน์ที่ได้จากใบเตยก็แสนจะสารพัดที่จะใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ชาวบ้านตามชนบทส่วนใหญ่ปลูกไว้ตามครัวเรือนแทบทุกหลังคาเรือน เพื่อประกอบอาหารในครัวเรือนเองได้ ไม่ต้องไปขอบ้านข้างเคียง เพราะชาวบ้านในชนบทยังเป็นการขอ การให้ ที่แสดงถึงความเป็นไทยอย่างดั้งเดิม เพราะคนในชนบทจะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันอยู่อย่างต่อเนื่อง เรื่องเงินเป็นเรื่องรองลงมาจากเรื่องของน้ำใจและความจริงใจ อีกอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะดูแลเฝ้าระวังกันเอง   รักใคร่กลมเกลียวกันเองจึงปลอดจากสิ่งที่ไม่ดีไปโดยสิ้นเชิง

                         บางคนนำใบเตยเป็นกำใหญ่ๆ ไปใส่ไว้ในรถ หรือตามหลังรถเพื่อขจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในรถ เรียกง่ายๆ ว่าขจัดกลิ่นในรถนั้นก็ว่าได้ แถมยังส่งกลิ่นหอมที่เป็นลักษณะพิเศษของต้นเตยที่ส่งกลิ่นหอม

                         ในยุคปัจจุบันนี้มีคนนำใบเตยมาตัดทำกระทงใส่ขนมตะโก้สมหวัง (หรือตะโก้แห้ว) ก็มีให้เห็นอย่างมากมาย นอกจากนี้ ยังใช้ใบเตยสดมาปรุงแต่งสีสันอาหารขนมให้เป็นสีเขียวอ่อนๆ พร้อมยังเป็นการแต่งกลิ่นให้หอมอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นขนม หรือข้าวร้อนๆ ที่สุกใหม่ๆ นำใบเตยที่ยังสดๆ ใส่สักครู่ก็เป็นข้าวที่มีกลิ่นน่ารับประทานยิ่งนัก (แต่มีบางคนที่ไม่ชอบ ก็อย่านำไปใส่เดี๋ยวจะพานมีเรื่องกันไปใหญ่ เพราะใบเตยเพียงใบเดียว)

                         คราวนี้มาพูดเรื่องทางธรรมบ้าง ว่าแล้วก็ไม่พ้นใบเตยที่นำมาประกอบกับดอกบัวหลวง ดอกไม้ชนิดอื่นๆ อีกนิดหน่อยไหว้พระ บูชาพระ แต่ในยุคคนรุ่นใหม่ก็มีน้อยคนนักที่จะรู้จักการใช้ประโยชน์จากใบเตย เด็กบางคนยังไม่รู้จักใบเตยเลยว่าต้นจริงๆ เป็นอย่างไร เพราะยุคนี้อะไรก็สะดวกก็รวดเร็ว อะไรก็สำเร็จรูป

                         ดร.รุจีพัชร บุญจริง เกษตรจังหวัดปทุมธานี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การปลูกเตยหอมของ′กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเตยหอมคลองสาม′ หมู่ที่ 13 ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี นับว่าประสบผลสำเร็จอย่างมาก เป็นแบบอย่างให้เกษตรกรใกล้เคียง ที่สนใจเข้าร่วมกลุ่ม/หรือนำไปเพื่อสร้างรายได้ให้ครอบครัว โดยมีวิธีการปลูกและผลตอบแทน ดังนี้

จากคุณ : ญี่ปุ่น35
เขียนเมื่อ : 3 มี.ค. 54 01:46:07




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com