อยากรู้ด้วยเลยไปหา เอามาฝาก: เครดิตเวบ Tomyfarm.
-----------------------------------------------------------------------
สาเหตุการเกิดโรคอ้วนในสุนัข
1. ประเภทของอาหาร, สุนัขบางตัวจะกินเฉพาะสิ่งที่ต้องการและจะชอบถ้าหากมีอาหารใหกินได้ตลอดเวลา แต่สุนัขบางตัวจะกินมากเท่าที่มีให้และเมื่อหมดก็จะมองหาเพิ่ม สุนัขบางตัวก็จู้จี้จะกินแต่เฉพาะของบางอย่าง ดังนั้น จำนวนและประเภทอาหารที่สุนัขกินจะแสดงให้เห็นแนวโน้มในการเป็นโรคอ้วนของ สุนัขได้ ชนิดของอาหารที่ให้ส่งผลโดยตรงต่อสุนัข ว่าจะเป็นโรคอ้วนหรือไม่ เศษอาหาร,ของทางเล่น,แม้แต่อาหารที่ให้พลังงานสูง สามารถเป็นสาเหตุของโรคอ้วนได้ Labrador อายุ 7 ปี ซึ่งโดยปกติจะนอนอยู่หน้าเตาผิง จะไม่ต้องการอาหารที่ให้พลังงานสูงในขณะที่ พี่น้องของมันซึ่งทำงานอยู่ในทุ่งและใช้ชีวิตอยู่นอกบ้าน มันจะต้องใช้พลังงานมาก ดังนั้นมันก็ต้องการอาหารที่ให้พลังงานมาก
2. ลักษณะของกิจกรรม กิจกรรมของสุนัขเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณา Calories ที่สุนัขต้องการ และแสดงให้เห็นแนวโน้มในการมีน้ำหนักเกิน สุนัขที่มีกิจกรรมมาก จะต้องใช้พลังงานมากในขณะเดียวกันสุนัขที่มีกิจกรรมมากอาจเกิดความอยากอาหาร น้อยเพราะความเครียด
3. การตอน : การตอนสุนัขทำให้สุนัขมี metabolic น้อยลง ซึ่งทำให้มันต้องการพลังงานที่น้อยกว่าสุนัขที่ยังไม่ได้ตอน จากการเปลี่ยนแปลงของ Metabolism, androdens และ estrogens ซึ่งเป็น Hormones เพศชายและหญิงตามลำดับ จะกระตุ้นกิจกรรมของมันและกิจกรรมโดยทั่วไป Estrogen มีผลให้ความอยากอาหารลดน้อยลง สัตว์ที่ถูกตอนจะไม่มีความต้องการพลังงานส่วนเกินสำหรับการตั้งท้อง
เนื่อง จากความต้องการพลังงานลดน้อยลง ถ้าเราให้อาหารมันเหมือนสุนัขปกติ มันก็จะมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น มันเป็นเรื่องจริงที่สุนัขที่ถูกตอนโดยส่วนใหญ่จะได้รับอาหารมากเกิน และออกกำลังกายน้อย จะมีน้ำหนักขึ้นมากเป็น 2 เท่าของสุนัขปกติ การตอนสุนัขไม่ใช่สาเหตุของโรคอ้วนแต่สาเหตุคือการดูแลหลังการตอนที่จะทำให้ มันอ้วน
4. พันธุกรรมและสายพันธุ์ : สุนัขบางพันธุ์มีโอกาส เป็นโรคอ้วนได้แต่ไม่ใช่ทุกพันธุ์ แต่เจ้าของต้องดูแลอย่างรอบคอบ เกี่ยวกับน้ำหนักสุนัขที่ควรจะเป็น
สุนัขพันธุ์ที่มีแนวโน้มว่าจะมี น้ำหนักเกินได้แก่ Labrador Retrieves, Dachshunds, Beagles, Cairn Terriers, Cocker Spaniels, Collies Shetland Sheep Dogs(Shelties) และ Basset Hounds ส่วนพันธุ์อื่นๆ มีโอกาสเกิดโรคอ้วน ได้น้อยกว่า
องค์ ประกอบทางพันธุกรรมที่ซึ่งส่งผลโดยตรงกับชนิดและลักษณะของการผลิต ไขมัน โดยจะแสดงให้เห็นจากรูปร่างซึ่งสังเกตได้จากการทดลองในหนูซึ่งองค์ประกอบ เหล่านี้ สามารถเกิดขึ้นได้ในสุนัขเช่นกัน
5. อายุ : สุนัขมีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักเกินเมื่อมีอายุระหว่าง 2-12 ปี โดยเฉพาะอายุช่วง 6 ปี เมื่อสุนัขสูงอายุขึ้นแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักเกินก็น้อยลง สุนัขที่มีอายุน้อยก็เช่นเดียวกันที่จะมีแนวโน้มที่จะอ้วนน้อย เพราะสุนัขที่อายุน้อยนั้นจะมีความต้องการพลังงานสูงเพื่อใช้ในการเจริญเติบ โตและกิจกรรมประจำวัน สุนัขที่มีน้ำหนักเกินตั้งแต่อายุไม่ถึง 2 ปี มันจะเป็นสัญญาณเตือนว่ามันมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนสูง ควรรีบให้มันลดน้ำหนัก ให้ได้เร็วที่สุด และควรพยายามให้มันรักษาน้ำหนักให้ได้มาตรฐานไว้เสมอ
6. สภาพแวดล้อมทางสังคมคนโดยส่วนใหญ่จะเรียนรู้ว่าจะกินมากเมื่อรู้สึกเครียด และโดยส่วนใหญ่ก็จะกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ สัตว์ก็เช่นเดียวกันเมื่อมันเกิดความเครียดขึ้น ความเครียดนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากการมีสมาชิกใหม่ภายในบ้าน หรือการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน นักโภชนาการบางคนรู้สึกว่าสุนัขอาจกินมากเพราะมันรู้สึกเบื่อ และไม่ค่อยจะมีอะไรทำสุนัขบางตัวไปคุ้ยขยะอาจไม่ใช่เพราะมันหิว แต่มันพยายามที่จะหาอะไรทำ อาหารที่มันคุ้ยเจอถือเป็นรางวัลสำหรับมัน สุนัขที่ถูกเลี้ยงอยู่ในบ้านที่มีสุนัขหลายตัวหรือสัตว์อื่น ๆ อยู่ด้วย มักจะมีแนวโน้มที่จะกินมากและกินเร็วมากกว่าสุนัขที่ถูกเลี้ยงอยู่ตัวเดียว ในบ้าน การเปลี่ยนแปลงนิสัยเมื่อสัตว์อื่นมาอยู่ร่วมด้วยจะเรียกว่า การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ภาวะแย่งอาหารจะทำให้สุนัขนั้นสนใจในอาหารของตังเองมาก และอาหารนำไปสู่โรคอ้วนได้
7. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ การรักษาอุณหภูมิของร่างกายเป็นงานที่ต้องใช้พลังงาน เมื่อสุนัขจะต้องอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ความต้องการพลังงานจะมีมากขึ้นประมาณ 30 % ในทางกลับกันสุนัขที่อาศัยอยู่ในบ้านจะมีความต้องการพลังงานไปใช้ในการรักษา อุณหภูมิในร่างกายน้อยกว่า
8. การรักษาทางยา ; มีการรักษาทางยาหลายชนิดที่มีผลกระทบต่อ Metabolism และความอยากอาหาร ซึ่งรวมถึง Glucocorticoids อย่างเช่น Prednisone และ dexamethasonse, Barbiturates อย่างเช่น Phenobrabital ที่ใช้ในการควคุมโรคลมบ้าหมู องค์ประกอบของยาที่เรียกว่า Benzodiozepines ซึ่งผสมอยู่ใน Valium
ต่อไปนี้คือสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคอ้วน
ซึ่งพบน้อยกว่า 5% ของสาเหตุในการเกิดโรคอ้วนในคนและในสุนัข ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
1. Hypothyroisdism : เป็นสภาวะที่ร่างกายผลิต thyroid hormone ได้น้อย Thyroid Hormone มีผลต่ออัตราMetabolic การมี Thyroid Hormone น้อยหมายถึงอัตราMetabolic จะต่ำด้วยและจะต้องการใช้พลังงานน้อย ปกติสุนัขจะอ้วนถ้าหากมันเป็นHypothyroidism และได้รับอาหารในปริมาณเท่าเดิม
ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ สัตวแพทย์ส่วนใหญ่จะเช็คสุนัขอ้วนในเรื่อง Hypothyroidism ก่อนทำการลดน้ำหนัก มันเป็นการยากที่จะทำให้สุนัขที่เป็น Hypothyriod ลดน้ำหนัก แม้แต่การให้อาหารลดน้ำหนัก การรักษาโรค Hypothyroidism ร่วมกับการควบคุมน้ำหนักจะทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง
2. โรคที่เกิดจากการที่ต่อมอดีนาลัล ผลิต gluccorticoids สูงเกินไป glucocorticoids สามารถกระตุ้น Metabolism และเป็นสาเหตุต่อการเพิ่มความอยากอาหาร และสะสมจนกลายเป็นไขมัน ในการจัดโปรแกรมลดน้ำหนัก โรคนี้ก็จำเป็นต้องได้รับการจัดการ ถ้าต้องการให้สุนัขลดน้ำหนักได้อย่างได้ผล
3. Insulinoma คือเนื้องอกที่เกิดในตับอ่อน เนื้องอกนี้ประกอบด้วย cell ที่ใช้สร้าง insulin สุนัขที่เป็นinsulinoma จะผลิตinsulin มาก insulin จะทำให้อยากอาหารมากขึ้น และสร้างเนื้อเยื่อต่าง ๆ ขึ้นรวมทั้งไขมันด้วย
4. ผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวานระยะเริ่มต้น ถ้าการเพิ่มของ insulin สามารถทำให้เกิดโรคอ้วนได้ มันก็จะขัดแย้งกับการเป็นโรคเบาหวานซึ่งมีการผลิต Insulin น้อยลงและก็ยังสามารถทำให้น้ำหนักขึ้นได้ อย่างไรก็ตามในสุนัขยังมีโรคเบาหวานที่เรียกว่า Non-Insulin ที่ไม่เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ซึ่งทำให้เกิดโรคอ้วนได้ มันเกิดขึ้นได้เมื่อสุนัขที่มีน้ำหนักเกิน ต้องเพิ่มการผลิต Insulin ซึ่งเป็นสาเหตุของการเพิ่มความอยากอาหาร และการสะสมของไขมัน เหมือนโรคต่างๆ การผลิตอินซูลินไม่สามารถควบคุมได้ตามความต้องการและการเพิ่มขึ้นของระดับ Glucose ในเลือด และการสะสมไขมัน ก็จะเกิดขึ้น สุดท้ายสุนัขก็จะเป็นโรคเบาหวาน และโรคอ้วนผิดส่วน
5. โรคเกี่ยวกับสมองและต่อมใต้สมอง ต่อมใต้สมองมักจะถูกเรียกว่า "Master Gland" เพราะมันผลิตฮอร์โมน ด้วยตัวมันเองและควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมอื่น ๆ ถ้าหากต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติ, การเปลี่ยนแปลงในระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ก็อาจทำให้ Metabolism ของสุนัขเปลี่ยน, ความอยากอาหารและการสะสมไขมันก็เช่นเดียวกัน
Hypothalamus ในสมองจะสร้างความอยากอาหาร การทำงานที่ผิดปกติของ Hypothalamic สามารถเป็นสาเหตุของการเพิ่มความรู้สึกอยากอาหาร ซึ่งส่งผลให้เป็นโรคอ้วนได้..