แวะเข้าไปดูผลงานที่ทำโชว์ไว้ในบล็อคแล้ว ถือว่า..มีความตั้งใจ ใช้ได้! น่าส่งเสริม..
หากนำจักรที่ไม่แข็งแกร็งจริง! มาใช้เย็บกระเป๋า โดยเฉพาะเย็บเก็บงานที่ตรงมุมก้นกระเป๋า! และถ้าเย็บเป็นจำนวนหลายๆใบ เพื่อทำขาย คงเป็นการยาก! เพราะกลัวว่าพอหมดประกัน ใช้ไปสักระยะ คงต้องซ่อมหนักแน่เลย!
แนะนำ:ให้ใช้จักรรุ่นเก่าหัวดำธรรมดา เหมือนร้านรับ ปะ-แก้ ริมทางทั่วไปครับ เย็บได้หมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผ้าหนามากๆหรือผ้าที่มีความบางมากๆ แม้นกระทั่งหนังที่นำมาเย็บต่อสายที่ปากกระเป๋า! อุปกรณ์ก็ไม่ต้องจ่ายแพง สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ตัดเย็บทั่วไป ห่างไกลศูนย์บริการก็ไม่ต้องกังวลว่าจะมีปัญหา เพราะเรียกช่างทั่วไปมาดูแลก็ได้! งบประมาณก็แสนจะถูกและคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป และใช้งบไม่ถึงครึ่งของงบประมาณที่ตั้งมาเลยครับ
ช่างตี๋รับรองว่าใช้งานจริงได้แน่นอนครับ! เพราะถ้าใช้งานตามที่ว่ามาไม่ได้จริง ตามที่ช่างตี๋ว่ามา!..คงมีเพื่อนสมาชิกมากกว่าครึ่งร้อย comment มาต่อว่าช่างตี๋แล้วละครับ จริงไหม?
ถามมาว่า?.. เย็บสม๊อคได้หรือไม่? บอกได้เลยครับ..ว่า เอาจริงๆแล้ว! จักรที่ใช้ระบบกระสวยตั้ง เหมือนจักรหัวดำธรรมดาทั่วไป สามารถปรับเย็บสม็อคได้ง่ายกว่า! จักรที่มีระบบกระสวยหงาย
ถามมาว่า?.. แซกริมผ้ากันรุ้ย ได้หรือไม่? บอกได้เลยครับว่า ถ้าใช้จักรที่สามารถซิกแซกได้ มาแซกริมผ้ากันรุ้ย ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใด?หรือจะใช้ลวดลายใด? รับรองได้เลยครับว่า ผ้าที่แซกริม เมื่อนำไปซักน้ำ "รุ้ย..ไม่เป็นท่า ทุกยี่ห้อครับ" ยังไงก็สู้จักรโพ้งริมผ้าโดยเฉพาะไม่ได้หรอกครับ!
ปล.ลองหาจักรธรรมดารุ่นเก่า มาหัดใช้ดูก่อนครับ ช่างตี๋มั่นใจว่า จหกท. สามารถสร้างผลงานออกมาได้ดีและสะดวกกว่าเดิมแน่นอนคร๊าบ...
จากคุณ |
:
ช่างตี๋ พรชัยสุรีย์ (chopchop)
|
เขียนเมื่อ |
:
25 มี.ค. 54 23:00:26
|
|
|
|