 |
สำหรับขั้นตอนการติดตั้งนั้น สามารถทำได้ดังนี้ .................................1. การเตรียมถุงผลิตแก๊ส
1.1 นำพลาสติค พีวีซี หนา 0.25 มิลลิเมตร กว้าง 1.8 เมตร ยาว 6 เมตร จำนวน 3 แผ่น ทากาวอีแว้ปด้านยาวต่อกันเป็นผืนแล้วทาต่อกัน เป็นถุงทรงกระบอก
1.2 นำท่อ พีวีซี 4 นิ้ว ยาว 120 เซนติเมตร 1 อัน มาใส่ข้างใดข้างหนึ่งก่อนให้ลึกเข้าไปในถุงแก๊ส
1.3 เจาะถุงแก๊สระหว่างรอยทากาวเพื่อใส่ชุดท่อส่งแก๊ส
1.4 นำชุดท่อส่งแก๊สมาประกอบเข้ากับรูที่เจาะไว้ โดยใช้ท่อ พีวีซี ขนาด 4 หุน และ 6 หุน ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร อย่างละ 1 อัน ข้อลด 6 หุน ลด 4 หุน 1 ตัว และเกลียวนอก-ใน พีวีซี 6 หุน จำนวน 1 ชุด ทากาวประกอบกัน
1.5 นำท่อ พีวีซี 4 นิ้ว ยาว 120 เซนติเมตร อีก 1 อัน มาใส่ปลายถุงแก๊ส ทำเช่นเดียวกับ ข้อ 1.2
.................................2. การเตรียมชุดท่อกับดักไอน้ำ
2.1 ตัดท่อ พีอี ขนาด 6 หุน ยาวประมาณ 15-20 เมตร 1 เส้น และ 50-60 เซนติเมตร 2 เส้น เพื่อเป็นท่อส่งแก๊สต่อเข้ากับชุดหัวแก๊ส
2.2 การประกอบชุดระบบวนแก๊ส นำท่อ พีวีซี ขนาด 4 หุน ตัดยาวประมาณ 10 เซนติเมตร 4 อัน ประมาณ 5 เซนติเมตร 3 อัน และ 20 เซนติเมตร 3 อัน ข้องอ 4 หุน 4 ตัว สามทาง 4 หุน 3 ตัว และ 4 หุน 2 ตัว นำอุปกรณ์ทั้งหมดมาทากาว ประกอบกันเป็นชุดระบบวนแก๊ส
2.3 เชื่อมหัวแก๊สกับท่อเหล็กสีดำ ขนาด 4 หุน ตัดยาว 50 เซนติเมตร 2 ท่อน โดยทำมุม 90 องศา กับหัวแก๊ส
2.4 ชุดระบบนิรภัย ใช้ขวดน้ำดื่ม ขนาด 0.6 ลิตร เจาะรูตรงกลางขวดสำหรับเติมน้ำ สวมท่อ พีอี ที่ต่อกับท่อส่งแก๊สแล้วจุ่มปลายท่อให้อยู่ใต้ระดับผิวน้ำ 1-2 เซนติเมตร
.................................3. การขุดหลุมและติดตั้งถุงแก๊ส
3.1 ขุดหลุมกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 80 เซนติเมตร
3.2 เติมลมหรือควันเสียรถยนต์ในถุงแก๊สให้พองขึ้น แล้วปิดท่อทางออกทุกด้าน
3.3 ยกถุงแก๊สมาจัดวางในหลุมที่เตรียมไว้ให้พอดี
3.4 ตรวจสอบให้ระดับของบ่อเติมสูงกว่าท่อล้น 10-15 เซนติเมตร
3.5 เทปูนซีเมนต์ยึดท่อ พีวีซี ทั้งท่อเข้าและท่อล้นให้แน่นหนา แข็งแรงเพียงพอ
3.6 เติมน้ำเข้าถุงแก๊สผ่านทางท่อแก๊สให้น้ำท่วมปลายท่อทั้ง 2 ด้าน เล็กน้อย
3.7 รอให้ปูนแห้ง แล้วเริ่มเติมมูลสัตว์ได้
..................................4. การเติมมูลสัตว์และการใช้แก๊ส
4.1 นำมูลสัตว์สดมาเทลงในวงบ่อทางเข้าเอามูลสัตว์ส่วนหนึ่งปิดปากท่อก่อน แล้วละเลงมูลสัตว์ด้วยน้ำในส่วนที่เหลือ ให้มีลักษณะเหลว แล้วใช้ไม้เปิดปากท่อที่อุดไว้ แล้วไล่มูลสัตว์ให้ลงไปในถุงแก๊สให้หมด เติมทุกวันหรือวันเว้นวันจนกว่าจะมีแก๊สมากเพียงพอสามารถติดไฟได้
4.2 การใช้แก๊ส เมื่อเติมมูลสัตว์ได้ประมาณ 15-20 วัน จึงเริ่มทดลองจุดไฟ ให้หมั่นเปิดวาล์วเพื่อระบายแก๊สในถุงออก เริ่มทดลองจุดด้วยเปลวไฟ สังเกตถ้าจุดติดแล้วดับ แสดงว่ามีก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ปนอยู่ ควรเปิดวาล์วไล่ออกทีละน้อยจนกว่าเปลวไฟไม่ดับ แต่ทั้งนี้หากพบว่าเกิดปัญหา เช่นกรณีมีรูรั่วจากวัตถุแหลมคมทิ่มตำ ให้ใช้กาวอีแว้ปทาและปิดรูรั่วด้วยพลาสติค พีวีซี ควรติดตั้งในที่โล่งแจ้ง ไม่มีกิ่งไม้ที่อาจหล่นมาใส่ถุงแก๊สทำให้รั่วได้ ดูแลระดับน้ำในขวดดักไอน้ำให้อยู่เหนือปลายท่อแก๊ส 1-2 เซนติเมตร เสมอ
บ่อหมักแก๊สชีวภาพแบบ “ถุงหมัก พีวีซี” นับเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างพลังงานทดแทนเองขึ้นใน ฟาร์มได้ ซึ่งหากสนใจต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์/สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ ทุกแห่งที่อยู่ใกล้บ้าน
นอกจากเรื่องของบ่อหมักแก๊สชีวภาพแบบ “ถุงหมัก พีวีซี” ที่น่าสนใจของกองอาหารสัตว์แล้ว ในส่วนของงานส่งเสริมเกี่ยวกับพืชอาหารสัตว์ ขณะนี้ทางกองอาหารสัตว์กำลังดำเนินโครงการจัดตั้งหมู่บ้านหลักถ่ายทอด เทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ จำนวน 210 หมู่ ขึ้นทั่วประเทศ
โดย นายสัตวแพทย์ธนิตย์ เอนกวิทย์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยว่า ในปี 2554 นี้ กองอาหารสัตว์ได้ดำเนินการจัดตั้งหมู่บ้านหลักถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอาหาร สัตว์ จำนวน 210 หมู่ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนด้านอาหารสัตว์ของเกษตรกร
“เนื่องจากข้อมูล ปี 2552 ประเทศไทยมีโคนมและโคเนื้ออยู่ 9,079,327 ตัว เกษตรกรผู้เลี้ยง 1,387,555 ครัวเรือน ซึ่งจำเป็นต้องใช้พืชอาหารสัตว์ในการเลี้ยงสัตว์เป็นปริมาณมาก แต่จากการตรวจสอบพื้นที่การเลี้ยงสัตว์กลับพบว่า พื้นที่ปลูกแปลงพืชอาหารสัตว์มีน้อยลง ด้วยเหตุจากเกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นมากขึ้น ทำให้พืชอาหารสัตว์ไม่เพียงพอสำหรับเลี้ยงสัตว์ จนเกิดปัญหาขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นอาหารหยาบที่จำเป็นสำหรับโคนมและโคเนื้อ”
รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ เกษตรกรยังเปลี่ยนไปใช้อาหารข้นทำให้มีต้นทุนการผลิตสัตว์สูงขึ้น เป็นปัญหาที่สำคัญต่อการพัฒนาการเลี้ยงโคนมและโคเนื้อของประเทศไทย
ดังนั้น กรมปศุสัตว์ จึงเห็นว่าการจัดตั้งหมู่บ้านหลักถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ จะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ด้วยการจัดตั้งเป็นหน่วยงานย่อย จากกองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการปศุสัตว์ ด้านอาหารสัตว์
“โดยมีเป้าหมายคือ หมู่บ้านที่เกษตรกรมีอาชีพการเลี้ยงโคนม และโคเนื้อจำนวนมาก ให้มีความรู้ด้านการจัดการอาหารสัตว์ การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต มีแนวทางการดำเนินการแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานด้านอาหารสัตว์ของกรมปศุ สัตว์ เช่น กองอาหารสัตว์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย ปศุสัตว์จังหวัด หัวหน้ากลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีฯ ปศุสัตว์อำเภอ ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โคเนื้อ จะได้รับการสนับสนุนข้อมูลทางด้านวิชาการอาหารสัตว์ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านอาหารสัตว์ของเกษตรกร”
ซึ่งทั้งหมดนี้ จะมีการนำเทคโนโลยีที่ได้จากการศึกษาวิจัยในศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหาร สัตว์/สถานีพัฒนาอาหารสัตว์และหน่วยงานอื่นๆ นำมาประยุกต์ใช้และปรับให้เหมาะสมกับการจัดการของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาด้านอาหารสัตว์ ตลอดจนเป็นความมั่นคงทางอาหารสัตว์ (Feed Security) ของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ต่อไป
ทั้งนี้ การส่งเสริมการจัดตั้งหมู่บ้านหลักถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ ประจำอำเภอ ใน 70 จังหวัด ในจังหวัดที่มีการเลี้ยงโคนม โคเนื้อ เป็นจำนวนมาก (ยกเว้น กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม) รวมจำนวนหมู่บ้านหลักถ่ายทอดเทคโนโลยีอาหารสัตว์ ทั้งสิ้น 210 หมู่บ้าน ใน 210 อำเภอ มีการอบรมให้เกษตรกร 2,100 ราย
“และจะมีการจัดตั้งให้ครบอำเภอทั่วประเทศในระยะเวลา 4 ปี ซึ่งคาดว่า จากการดำเนินโครงการดังกล่าวจะสามารถพัฒนาแปลงพืชอาหารสัตว์ให้มี ประสิทธิภาพ และเพียงพอต่อความต้องการของสัตว์ได้” รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด
ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1304760355&grpid=no&catid=&subcatid=
จากคุณ |
:
ญี่ปุ่น35
|
เขียนเมื่อ |
:
8 พ.ค. 54 03:12:29
|
|
|
|
 |