 |
ตอบ คุณ คนธรรมดาที่ไม่ธรรมดา คห. 47
ขอบคุณที่มาร่วมแชร์ความคิดเห็นนะครับ
ความคิดเห็นของคุณเป็นความคิดเห็นที่ดีมากครับ ไม่ได้ทำให้เกิดความท้อแท้แต่อย่างใด แต่ดีซะอีกนะครับ ที่มีความคิดเห็นแบบนี้ แสดงว่าคุณคิดถึงความเป็นไปได้ของโครงการ
ความกังวลใจของคุณ ผมขอชี้แจงดังนี้นะครับ
ในประเทศไทยมี 7,254 ตำบลตามข้อมูลที่คุณให้มา แต่เราคงไม่ทำพร้อมๆกันทั้งหมด คงต้องเร่ิมทีละแห่งก่อนนะครับ "บ้านสงเคราะห์สัตว์" ต้นแบบต้องเร่ิมสร้างให้เสร็จก่อน บริหารให้ได้ดีก่อน แล้วจึงจะมีบ้านสงเคราะห์สัตว์แห่งที่ 2, 3, 4, 5, ……… ตามมา
อันดับแรกที่ต้องทำให้ได้ก่อนคือ จดทะเบียนสมาคม หรือ องค์กรบ้านสงเคราะห์สัตว์
- การประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ ผลักดันให้มีการจดทะเบียนสุนัข เป็นประชากรสุนัข และ ออกกฏหมายเก็บภาษีสุนัข ซึ่งจะมีผลให้ "บ้านสงเคราะห์สัตว์" เท่านั้นที่จะรับหมาจรจัดมาดูแลได้ จะไม่มีคนที่เก็บสะสมหมาจรจัดมาเลี้ยงไว้มากมายจนเลี้ยงไม่ไหว และไม่ได้มาตรฐาน สุนัขทุกตัวต้องมีปลอกคอและป้ายเล็กๆห้อยคอไว้ (เหมือนเป็นบัตรประชาชนหมา)
- เมื่อมีกฏหมายจดทะเบียนสุนัข และ เก็บภาษีสุนัขเป็นรายปี เช่น ปีละ 100 - 1,000 บาท ตามขนาดหรือสายพันธ์ุของสุนัข ส่วนสุนัขที่ขึ้นทะเบียนอยู่ "บ้านสงเคราะห์สัตว์" ไม่ต้องเสียภาษี และหากผู้ใดสนใจจะเลือกสุนัขจากบ้านสงเคราะห์สัตว์ไปเลี้ยงไว้ ก็จะเสียภาษีเพียงปีละ 50 บาท (ซ่ึงจ่ายไหวอยู่แล้ว)
สมมุติว่าประเทศไทยมีสุนัขจดทะเบียนทั้งสิ้น 500,000 ตัว รายได้เฉลี่ยจากภาษีสุนัข ตัวละ 300 บาท ก็เป็นเงิน 150,000,000 บาท ภาษีส่วนนี้ ต้องแบ่งจัดให้เป็นงบประมาณของบ้านสงเคราะห์สัตว์ อาจจะเป็น 10-30% ก็เป็นเงินประมาณ 15 - 45 ล้านบาทต่อปี
สมมุติว่าสุนัขและแมวจรจัดมีทั้งหมด 50,000 ตัว (10% ของยอดสุนัขจดทะเบียน) จะต้องมีบ้านสงเคราะห์สัตว์ บ้านละ 500 ตัว รวมทั้งสิ้น 100 บ้าน (แห่ง) งบประมาณจากค่าภาษีสุนัข ที่บ้านสงเคราะห์สัตว์จะได้ 10-30% เป็นเงินทั้งสิ้น ราวๆ บ้านละ 150,000-450,000 บาทต่อปี
นอกจากนี้ บ้านสงเคราะห์สัตว์ยังต้องมีสมาชิก รับค่าสมาชิก 100 บาทต่อปี รับเงินบริจาค จากผู้ใจบุญ และมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น หาทุน ซึ่งเป็นรายละเอียดที่จะต้องทำหลังจากที่ก่อสร้างบ้านสัตว์แล้ว
ส่วนค่าที่ดิน ค่าก่อสร้าง เร่ิมต้น จะได้รับจากการบริจาคที่ดินและเงินค่าก่อสร้าง บ้านสงเคราะห์สัตว์แห่งแรก จะต้องทำให้เป็นมาตรฐาน ตั้งอยู่ห่างจากชุมชน ซึ่งเป็นรายละเอียดที่คณะกรรมการดำเนินงานจะต้องร่วมกันพิจารณาต่อไป
ยินดีตอบข้อข้องใจเสมอครับ
จากคุณ |
:
ออนไลน์
|
เขียนเมื่อ |
:
12 พ.ค. 54 15:24:22
|
|
|
|
 |