ว่านพญาดาบหัก จากตำราว่านเล่มที่สองของเมืองไทย พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2475 บอกลักษณะไว้ดังนี้ "ว่านพระยาดาบหัก ใบคล้ายมีดดาบ ก้านเล็กสีเหมือนใบโศกอ่อน กลางใบมักหักต้องเอาไม้ค้ำไว้ หัวเหมือนแห้วหมู"
ตำรารุ่นกลางๆ ที่พิมพ์ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500 - 2520 ระบุว่า "ว่านพญาดาบหัก ใบคล้ายมีดดาบ ก้านใบเขียวสีโศก ก้านเล็กกลางใบมักหักห้อย หัวเหมือนหอมใหญ่ รสเผ็ดขม"
ที่ตาเชยว่าไม่ใช่ เพราะไม้ต้นนี้ ๑) ใบไม่เหมือนมีดดาบ ๒) สีไม่เข้มเหมือนใบโศก ๓) ก้านใบไม่เล็ก ๔) หัวมีขนาดใหญ่เกินไป
*** ต้นที่น่าจะใช่ "ว่านพญาดาบหัก" ตรงตามที่ตำราระบุมากที่สุด ก็คือต้นที่ปัจจุบันเราเรียกกันว่า "ว่านดาบหลวง" ครับ (ชื่อดาบหลวงนี้ ไม่มีปรากฎอยู่ในตำราว่านรุ่นเก่าๆ เลยนะครับ)
จากคุณ |
:
ตาเชย
|
เขียนเมื่อ |
:
13 มิ.ย. 54 20:32:24
|
|
|
|