 |
จริงใจ.......สบายจริง สวัสดีค่ะพี่หนิง มาทานด้วยกันไม๊คะ
Piroonhem เราไม่เคยให้ลูกสี่ขากินค่ะ เพราะไม่แน่ใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อมีข้อมูลจากหลายหน่วยงาน และแพทย์หลายท่านให้ความรู้และบทความต่างๆ ออกมาแบบนี้ ก็ไม่อยากเสี่ยงค่ะ กรณีของคุณไม่เป็นไรก็ยินดีด้วยนะคะ...
จริงๆ หลายๆ ตัวยาก็มาจากยาของคน แต่ลดสัดส่วนลงไปตามน้ำหนัก ถึงอย่างไร ก็คงพาไปพบสัตวแพทย์ดีที่สุด หากไม่ชำนาญ และไม่รู้ลึกซึ้ง เพราะนั่นหมายถึง ชีวิตค่ะ^^
ความเป็นพิษของพาราเซตามอลในสุนัขและแมว รศ.สพ.ญ.ดร.วรา พานิชเกรียงไกร
พาราเซตามอล (paracetamol) หรือ acetaminophen เป็นยาระงับปวดและลดไข้ที่ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ตั้งแต่ พ.ศ.2436 แต่ได้รับความนิยมเมื่อ 50 ปีหลังจากนั้น (Kolf-Clauw and Keck, 1994) พาราเซตามอลเป็นยาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในคน เนื่องจากมีข้อดีกว่าแอสไพรินตรงที่ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะ และไม่มีผลต่อการเกาะตัวของplatelets จึงไม่ทำให้เกิดแผลหลุมในกระเพาะและไม่ทำให้การแข็งตัวของเลือดเสียไป
อย่างไรก็ตามพาราเซตามอลไม่มีผลในการลดอักเสบเหมือนแอสไพริน จึงไม่สามารถใช้ในการลดการอักเสบของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ หรือข้ออักเสบได้ (Hjelle and Grauer, 1986) จากการที่พาราเซตามอลเป็นยาสามัญประจำบ้านที่สามารถซื้อหาได้ทั่วไปโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ทำให้คนนิยมใช้เพราะหยิบฉวยได้ง่าย และคิดว่าเป็นยาที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย
ข้อความนี้อาจเป็นจริงในคนเมื่อใช้ในขนาดที่แนะนำ แต่ไม่เป็นจริงในสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะในแมว ซึ่งเป็นสัตว์ที่ไวต่อความเป็นพิษจากพาราเซตามอล อาการของความเป็นพิษในแมวอาจสังเกตเห็นได้หลังจากแมวได้รับ regular strength tablet* เพียงครึ่งเม็ดหรือเพียง163 มิลลิกรัมเท่านั้น (Hjelle and Grauer, 1986) ทั้งนี้อาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเจ้าของที่เอายาให้แมวกินเพื่อแก้ไข้จากสถิติของศูนย์ควบคุมความเป็นพิษในสัตว์แห่งชาติ ที่สหรัฐอเมริกา พบว่า ...
ความเป็นพิษจากยาที่เกิดขึ้นในแมว 50%มีสาเหตุมาจากพาราเซตามอล (Haliburton and Buck, 1983) จึงมีคำแนะนำว่าไม่ควรให้พาราเซตามอลกับแมวไม่ว่าในกรณีใดๆ (Ilkiw and Ratcliffe, 1987) จะเห็นได้ว่าความเป็นพิษในแมวเกิดจากความตั้งใจดีของเจ้าของ แต่ในสุนัขมักเกิดจากการรื้อค้นยาที่เจ้าของเก็บไว้อย่างไม่ระมัดระวัง และกินยาจำนวนมากเข้าไป จนเกิดความเป็นพิษ ซึ่งจะพบเมื่อสุนัขกินพาราเซตามอลในขนาดที่สูงกว่า 200 มก./กก. (Savides et al., 1984)
การเปลี่ยนแปลงของยาและการเกิดพิษ พาราเซตามอล ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า acetaminophen ถูกเปลี่ยนแปลงโดยกระบวนการหลักในตับ 3 ทาง (Hjelle and Grauer, 1986; Kolf-Clauw and Keck, 1994) คือ 1. conjugate กับ sulfate compounds โดย enzyme phenol sulfotransferase 2. conjugate กับ glucuronides โดย enzyme uridine diphosphate-glucurosyl transferase หรือ UDT สอง pathways นี้ทำให้เกิด metabolites ที่ไม่มีพิษ ขับออกทางน้ำดีและน้ำปัสสาวะ ร่วมกับ minor metabolites และnontransformed acetaminophen 3. transformed หรือ oxidised โดย cytochrome P-450 ได้ N-acetyl-para- benzequinoneimine (NAPQI) ซึ่งจะ conjugate กับ reduced glutathione ได้ nontoxic products ของ cysteine และ mercapturic acid ขับออกทางน้ำปัสสาวะ ถ้าสัตว์และคนได้รับ acetaminophen ในขนาดต่ำ กระบวนการขจัดออกดังกล่าวจะพอเพียงและไม่ทำให้เกิดความเป็นพิษ แต่ในกรณีที่ได้รับ acetaminophen ในขนาดสูงจะเกิดปัญหา(Hjelle and Grauer, 1986; Rumbeiha et al, 1995) เนื่องจาก 1. กระบวนการ sulfation และ glucuronidation เป็นปฏิกิริยาที่มีความจำกัด อาจเป็น เพราะมีสารตัวรับ เช่น sulfates และ glucuronides ไม่มากพอ จึงมี acetamino-phen ที่ต้องเปลี่ยนแปลงผ่านทาง cytochrome P-450 มากขึ้น ทำให้ได้ metabolite ที่มีความเป็นพิษคือ NAPQI ซึ่งแม้จะรวมตัวกับ glutathione** ได้สารไม่มีพิษในระดับหนึ่ง
แต่เมื่อ glutathione ลดน้อยหรือหมดลง NAPQI จะอยู่ในภาวะล้นเกินและไปเกาะจับกับสารอื่นในเนื้อเยื่อ ได้แก่ โปรตีนในตับ เกิด hepatic necrosis 2. acetaminophen ระดับสูง จะยับยั้งการสังเคราะห์ของ glutathione ทำให้ กระบวน การป้องกันตัวของร่างกายลดลงอย่างมาก ในแมวจะมีผลต่อการลดลงของ glutathione ในเม็ดเลือดแดงเด่นชัดกว่าในสัตว์อื่น ทำให้เกิดoxidative stressของเซลล์เม็ดเลือดแดง hemoglobin ถูกเปลี่ยนเป็น methemoglobin เลือดไม่สามารถนำพาออกซิเจนได้ นอกจาก นี้จะเกิด Heinz bodies ซึ่งเป็น globin ที่ถูก denatured ทำให้ตกตะกอนไปเกาะกับผนังของเซลล์เม็ดเลือดแดง ผนังจะเปราะและแตกง่าย เกิดภาวะเลือดจางตามมาการที่แมวมีความไวต่อพิษของ acetaminophen มากกว่าในสัตว์อื่น อาจเนื่องจาก
1. แมวมี enzyme UDT ในตับต่ำมาก ทำให้มีความสามารถน้อยในการ glucuronidateยาให้ได้สารที่ไม่เป็นพิษผ่านกระบวนการ glucuronidation
2. แมวมีอัตราการขจัด acetaminophen ออกจากร่างกายจำกัดมาก โดยมีความ สามารถเพียงหนึ่งในสิบของสุนัขเท่านั้น กระบวนการหลักในแมวได้แก่ sulfation (90%) ตามด้วย cysteine โดยผ่าน cytochrome P-450 (5%) และ glucuronidation(1%) ซึ่งการ sulfation จะเกิดได้สมบูรณ์และได้สารที่ไม่มีพิษ ต้องขึ้นอยู่กับการมี inorganicsulfate มากพอในร่างกาย แต่แมวก็มี sulfate จำกัดอีกเช่นกัน 3. โมเลกุลของ hemoglobin ของแมวมี sulfhydryl groups 8-10 กลุ่ม ใน ขณะที่สุนัขมี 4 กลุ่ม คนและม้ามีเพียง 2 กลุ่ม จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ hemoglobin ของแมวไวต่อการเกิด oxidation และเปลี่ยน hemoglobin ไปเป็น methemoglobin*** และ Heinz bodies อาการ อาการของความเป็นพิษ และ ขนาดที่ทำให้เกิดพิษ ดังแสดงในตาราง อย่างไรก็ตาม แมวบางตัว อาจเกิดความเป็นพิษจากการกินในขนาดเพียง 10 มก./กก. ขนาดที่ทำให้เกิดความเป็นพิษโดยการกิน
อาการ แมว 50-120 มก./กก. Cyanosis หายใจไม่ออก หัวใจเต้นเร็ว ซึม บวมที่หน้า ฝ่าเท้า หนังตา
สุนัข 200 มก./กก. อาเจียน ตามด้วยดีซ่าน เลือดจาง ปัสสาวะมีเลือดปน
อาการของความเป็นพิษ อาจเกิดได้รวดเร็วภายใน 1-4 ชั่วโมงหลังการกินหรืออาจช้ากว่านั้น อาการในแมวจะเนื่องมาจาก methemoglobinemia แต่ในสุนัขและสัตว์อื่นรวมทั้งคน จะมีอาการที่เนื่องมาจากความเป็นพิษที่ตับ ซึ่งจะเห็นได้ภายใน 1-2 วัน หากเจาะเลือดตรวจ จะพบเลือดมีสีคล้ำ(chocolate brown) หากป้ายเลือดที่กระจก สไลด์และย้อมด้วยสี cresyl violet จะพบ Heinz bodies อยู่ริมๆของเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งในแมว ปกติก็อาจพบ Heinz bodies ได้ แต่กรณีที่เกิดความเป็นพิษจะพบ Heinz bodies ขนาดใหญ่ และพบมากกว่า 10%ของเม็ดเลือดแดงที่ตรวจ การรักษา
1. Detoxification ให้ยาทำให้อาเจียนและล้างท้อง แต่ถ้าได้รับยานานเกินกว่า 2 ชั่วโมงอาจ ไม่มีประโยชน์ 2. Supportive treatment ให้ออกซิเจน เพื่อต้านภาวะ methemoglobinemia และ anemia ให้ vitamin C ขนาด 30 มก./กก. ทุก 6 ชั่วโมง โดยการกินหรือ i.v. เพื่อเป็น antioxidant ให้ sodium sulfate 1.6% solution ขนาด 50 มก./กก. i.v. ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มระดับ sulfate ในร่างกาย 3. Specific antidote ให้ N-acetylcysteine (NAC) กินหรือฉีด i.v. ในขนาด เริ่มแรก 140 มก./กก. ตามด้วยขนาด 70 มก./กก. ทุก 4-6 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง Rumbeiha และคณะ (1995) รายงานว่า การให้ NACเป็นการรักษาที่ดีที่สุดในกรณีที่แมวหรือสัตว์อื่นรวมทั้งคนเกิดความเป็นพิษจาก acetaminophen
สรุป ****
ความไวของแมวต่อพิษของ acetaminophen จะเนื่องมาจากระดับของเอนไซม์และส่วนประกอบของhemoglobinในแมวที่ต่างจากสัตว์อื่น การแก้ไขสามารถทำได้โดยให้ specific antidote คือ N-acetylcysteine, เพิ่ม substrateพวก sulfate และให้ antioxidant เช่น vitamin C รวมทั้งการรักษาเพื่อพยุงอาการตามควร
เอกสารอ้างอิง 1. Haliburton, J.C. and Buck, W.B. 1983. Animal poisin control summary of telephone inquiries during first three years of service. J Am Vet Med Assoc. 182: 514-516.
2. Hjelle, J.J. and Grauer, G.F. 1986. Acetaminophen-induced toxicosis in dogs and cats. J Am Vet Med Assoc. 188(7): 742-746.
3. Ilkiw, J.E. and Ratcliffe, R. C. 1987. Paracetamol toxicity in a cat. Aust Vet J. 64(8): 245-247.
4. Kolf-Clauw, M. and Keck, G. 1994. Paracetamol poisoning in dogs and cats. Euro J Comp Anim Pract. 4: 85-92.
5. Osweiler, G.D. 1996. Over-the-counter drugs and illicit drugs of abuse. In Toxicology. Osweiler, G.D. ed. A Waverly Comp. p. 303- 304.
6. Rumbeiha, W.K., Lin Yu-shang and Oehme, F.W. 1995. Comparison of N-acetylcysteine and methylene blue, alone or in combination , for treatment of acetaminophen toxicosis in cats. Am J Vwt Res. 56(11) : 1529-1533.
7. Savides, M.C., Oehme, F.W., Nash, S.L., et al. 1984. The toxicity and biotransformation of single doses of acetaminophen in dogs and cats. Toxicol Appl Pharmacol. 74: 26-34. * regular strength ของพาราเซตามอลมีตัวยา 325 มิลลิกรัม extra strength ของ พาราเซตามอลมีตัวยา 500 มิลลิกรัม (Osweiler, 1996)
** glutathione(GSH) เป็น tripeptideที่ประกอบด้วย glutamic acid, cysteine และ glycine ทำหน้าที่เป็น reducing agent ตามธรรมชาติในร่างกาย มีความสำคัญในกระบวนการป้องกันการเกิดพิษจากสารที่ร่างกายได้รับจากภายนอก โดยเฉพาะที่ตับและเม็ดเลือดแดง (Kolf-Clauw and Keck, 1994)
***สัตว์ปกติจะมี methemoglobin อยู่ประมาณ 0.5-3.0% ของ total hemoglobin เมื่อ methemoglobin เพิ่มถึง 20% สัตว์จะแสดงอาการผิดปกติ และถ้าเพิ่มถึง 80% สัตว์จะเข้าขั้นโคม่าและตาย ขบวนการป้องกันการเกิด oxidation ของเม็ดเลือดแดง คือ การมี glutathione เป็น reducing agent ตามธรรมชาติ แต่เมื่อ glutathione ลดลงจากผลของ acetaminophen จะทำให้เกิด methemoglobinemia ถ้าเจาะเลือดตรวจจะพบเลือดมีสีคล้ำเหมือนชอคโกแลต (Kolf-Clauw and Keck, 1994) เครดิต : ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย http://www.vet.chula.ac.th/~pharmaco/proj1.htm
จากคุณ |
:
Pecan
|
เขียนเมื่อ |
:
9 ส.ค. 54 19:03:18
|
|
|
|
 |