 |
ปอมเมอเรเนียน ถ้าเจอพื้นลื่นๆ สะบ้าเคลื่อน สะโพกเคลื่อน ขาแบะ แน่นอนค่ะ
แก้ไขโดยปูพรมหรือสแลคกันลื่น พาไปหาหมอกระดูก ที่รพส.จุฬาเล็ก
คุณหมอชนิกา หวังดี(คุณหมอกิ๊บ) เก่งการรักษาสะบ้าปอมที่สุด
แต่ถ้าจะหารพส.เกษตร หรือรพส.รัตนโกสินทร์ (กรณ๊ไปเกษตรไม่ไหวรอคิว ที่นี่ เหมือนเกษตรค่ะ) ก็หาคุณหมอสิรันดร์ เก่งเรื่องนี้เช่นกันนะคะ
และให้กิน กลูโคซามีน , ดอนครอยติน ( Glueosamine และ Chondroitin ) ช่วยด้วย
หากยังจะเลี้ยงต่อ พาไปรักษา และดูแลตามที่แนะนำนะคะ
ที่บ้านเวเนเซียกับขนมหวาน ได้้รับการรักษาจากคุณหมอกิ๊บ จึงมั่นใจมากในการรักษาและนำมาบอกต่อ แบ่งปันความรู้กันค่ะ
*******************************************************
บทความของคุณหมอชนิกา (หมอกิ๊บ)
โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข (Canine Patellar Luxation)
สะบ้าเคลื่อน (patellar luxation) เป็นความผิดปกติของข้อเข่า (stifle joint) พบมากในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น Pomeranians, miniature และ toy poodles, yorkshire terriers, pekingese, chihuahuas และ boston terriers มักพบการเคลื่อนเข้าด้านใน (medial) มากกว่าเคลื่อนออกด้านข้าง (lateral) การเคลื่อนของสะบ้า (patella)
ในสุนัขส่วนใหญ่เป็นมาแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลังจากการกระทบกระแทก สุนัขอาจแสดงอาการเจ็บบริเวณข้อเข่า เดินผิดปกติ หรือพบความผิดปกติของรูปร่างของขาที่มีสะบ้าเคลื่อนจนบางครั้งสุนัขไม่สามารถใช้ขารับน้ำหนักได้ สุนัขที่มีสะบ้าเคลื่อนเป็นเวลานานมักพบการฉีกขาดของเอ็นที่หัวเข่าร่วมด้วย ทำให้เกิดเจ็บมากขึ้นและเกิดโรคข้อเสื่อม (degenerative joint disease) ตามมา
กระดูกสะบ้ามีลักษณะเป็นรูปไข่ฝังอยู่ในเอ็นของกล้ามเนื้อขาหลัง ซึ่งจะไปยึดเกาะที่ส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง กระดูกสะบ้านี้อยู่บนร่องของกระดูกต้นขาหลัง ซึ่งร่องนี้จะเว้าเพื่อรองรับและกักสะบ้าเอาไว้
เราแบ่งอาการของสุนัขที่มีสะบ้าเคลื่อน ตามระดับความรุนแรงของสะบ้าที่เคลื่อนออกได้เป็น 4 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 สะบ้าเคลื่อนออกไม่บ่อย สุนัขอาจยกขาจังหวะที่สะบ้าเคลื่อนออก สุนัขมักไม่แสดงอาการเจ็บ
ระดับที่ 2 การเคลื่อนของสะบ้ามักเกิดขึ้นได้บ่อย สัตว์จะอาจแสดงอาการเจ็บขาและเดินผิดปกติ สุนัขที่มีสะบ้าเคลื่อนในระดับนี้เป็นเวลานาน อาจพบการกร่อนของผิวด้านในของสะบ้าและผิวสัมผัสของสันกระดูกที่สะบ้ามีการเสียดสี
ระดับที่ 3 สะบ้ามักเคลื่อนหลุดตลอดเวลา ร่วมกับมีการบิดของกระดูกหน้าแข้งที่เป็นจุดยึดเกาะของเอ็นของกระดูกสะบ้า มักพบว่าสุนัขไม่สามารถเหยียดขาได้เต็มที่ อาจพบการผิดรูปร่างของกระดูกขาหลังในสุนัขที่อายุน้อยกว่า 1 ปี สุนัขจะแสดงอาการเจ็บขา
ระดับที่ 4 เกิดการเคลื่อนของสะบ้าอย่างถาวร โดยที่ไม่สามารถดันกลับได้ และมีการบิดและการเจริญผิดรูปของกระดูกขาหลัง ร่องที่รองรับสะบ้าตื้นหรือหายไป สุนัขมักเจ็บขาตลอดเวลาไม่สามารถเหยียดข้อเข่าได้
เจ้าตัวน้อยที่มีสะบ้าเคลื่อนเกิดขึ้น บางครั้งเจ้าของอาจไม่ทันสังเกตเห็นความผิดปกติ เนื่องจากสุนัขยังคงเดินได้เป็นปกติในกรณีที่มีการเคลื่อนเกิดขึ้นในระดับน้อยๆ ร่วมกับน้ำหนักตัวของหนูๆ ไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ตามเจ้าของควรจะสังเกตการเดินและอาการการของเจ้าตัวน้อยไว้ เนื่องจากปัญหาที่เกิดตามมาคือการเกิดโรคข้อเสื่อม หรือมีการฉีกขาดของเอ็นบริเวณหัวเข่า โดยเฉพาะในสุนัขที่น้ำหนักมากๆ ข้อควรระวังอีกประการหนึ่งก็คือการที่เจ้าตัวน้อยวิ่งเล่นอยู่บนพื้นลื่นๆ จะทำให้การพัฒนาของโรคเกิดได้เร็วขึ้น และโน้นนำให้ปัญหาต่างๆ รุนแรงขึ้น
*******************************************************
กรณีไม่เลี้ยงแน่นอน ก็ขอให้สแกนบ้านที่ดี อบอุ่น และขอให้เป็นบ้านสุดท้าย อย่าไปให้ง่ายๆ เพราะน้องปอมคงลำบาก ถ้าได้บ้านไม่ดี หรือนำไปผสมพันธุ์ต่อ
ขอให้น้องปอมโชคดีพบคน อย่างแท้จริง
จากคุณ |
:
Pecan
|
เขียนเมื่อ |
:
19 ส.ค. 54 13:01:36
|
|
|
|
 |