 |
มีมาให้อ่านครับ
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้
โดย ผศ.จิตราพรรณ พิลึก ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กทม.
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้มีการเจริญเติบโตดี ต้องศึกษาเรื่องต่อไปนี้
1. ชนิดพันธุ์กล้วยไม้และแหล่งกำเนิด
1.1 ชนิดพันธุ์-ลักษณะการเจริญเติบโต 1.1.1 กล้วยไม้ป่า
พบที่ไหน - กล้วยไม้ดิน - กล้วยไม้บนลานหิน - อยู่บนต้นไม้
ต้นลักษณะอย่างไร - เจริญเติบโตเป็นกอ - เป็นต้นเดี่ยว
สภาพภูมิประเทศ - ต้นไม้มีใบเขียวตลอดปี - ต้นไม้ผลัดใบ - มีไฟป่า น้ำท่วม
สภาพภูมิอากาศ - ร้อน/หนาว - แห้ง/ชื้น
นิสัย - เลี้ยงง่าย เลี้ยงยาก - ออกดอกง่าย ออกดอกยาก
1.2 กล้วยไม้ลูกผสม
ลูกใคร พ่อแม่มาจากไหน นิสัยอย่างไร
ต้นจากการเพาะเมล็ด ต้นจากการตัดแยก ต้นจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 2 สภาพแวดล้อมที่ดีในการปลูกเลี้ยง
สภาพแวดล้อมทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันมาก ในการเจริญเติบโตและออดดอกของกล้วยไม้หลายชนิด ดังนั้น จึงต้องทราบสภาพแวดล้อมในแหล่งกำเนิด ทั้งแสงแดด อุณหภูมิ ความชุ่มชื้นและแห้งแล้งในแต่ละฤดูกาล การระบายอากาศ และศัตรูที่สำคัญ มาปรับสภาพแวดล้อมในการดูแลรักษา เพื่อให้ต้นมีการเจริญเติบโตที่ดีและให้ดอกที่งดงาม
2.1 แสงแดด - ความเข้มของแสง * ต้องการแสงแดดมาก ปลูกกลางแจ้ง * ต้องการแสงน้อย เช่นลดเหลือ 50% โดยใช้ตาข่ายพรางแสง
- ช่วงเวลาการได้รับแสง ควรได้รับแสงตลอดวัน ถ้าแสงไม่พอ ใบยาว ใบยอดอ่อน ไม่ออกดอก
2.2 อุณหภูมิ
ไม้เขตร้อน ไม้เขตหนาว อากาศร้อน - ต้นโตตามปกติ - ต้นโตได้ ออกดอก ไม่ออกดอก
อากาศเย็น - ต้นอ้วน เตี้ย - ต้นปกติ ดอกบานช้า ออกดอก
2.3 ความชื้นสัมพัทธ์
ร้อน-ชื้นมาก โรคระบาด ร้อนแห้ง แมลงระบาด ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำมาก ต้นผอม ทิ้งใบ
2.4 การระบายอากาศ
ระบายอากาศดี ต้นโตเร็ว ออกดอก ลดการระบาดของโรคและแมลง
2.5 ไม่มีศัตรูธรรมชาติหรือมีน้อย
- โรค - แมลง - หอย - หนู - นก - กระรอก 3 รู้จักวิธีการปลูกและดูแลรักษา
3.1 เครื่องปลูก ภาชนะปลูก และวิธีการปลูก
เครื่องปลูก - ดูดซับน้ำมาก - ดูดซับน้ำน้อย
ภาชนะปลูก - กระถางดินเผา - กระถางพลาสติค - ท่อนไม้
วิธีปลูก - ปลูกให้ต้นตั้งตรง - ปลูกให้ยอดเอียง - ปลูกห้อยหัวลง
เลือกให้เหมาะกับระบบรากและลักษณะการเจริญเติบโตของต้นตามธรรมชาติ
3.2 น้ำและการให้น้ำ ในต้นพืช มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 90 แสดงว่าจำเป็นต้องใช้น้ำในขบวนการเจริญเติบโต และคุณภาพน้ำต้องดี ไม่เป็นพิษต่อระบบต้น ใบ ราก และดอก
คุณภาพน้ำ - สะอาด ใส รสจืด ปริมาณเกลือแร่ต่ำ
วิธีการรดน้ำ - ใช้คน ระบบอัตโนมัติ
ปริมาณน้ำ - รดให้เปียกทั่วต้น - ฤดูร้อน/ฤดูหนาว/ฤดูฝน - เครื่องปลูก ใหม่/เก่า
3.3 ธาตุอาหาร
3.3.1 ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต (essential elements) แบ่งเป็น 2 พวกตามปริมาณที่พืชต้องการ
ธาตุอาหารมหัพภาค (macronutrient elements) พืชต้องการมาก สูงกว่า 500 มก/กก.น้ำหนักแห้งของพืชที่เจริญโตเต็มวัย
แบ่งเป็น คาร์บอน โฮรเจน และออกซิเจน ได้จากน้ำและกาซคาร์บอนไดออกไซด์
ธาตูอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน
ธาตุอาหารจุลธาตุ (micronutrient elements) พืชต้องการปริมาณน้อย ต่ำกว่า 100 มก/กก.น้ำหนักแห้งของพืชที่เจริญโตเมวัย ได้แก่ โบรอน คลอรีน ทองแดง เหล็ก แมงกานีส โมลิบินัม สังกะสี และนิเกิล
3.3.2 ปุ๋ย (Fertilzer) ต้นกล้วยไม้มีชีวิต และมีการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงต้องใช้ธาตุอาหารในปริมาณและชนิดที่เหมาะสม เพื่อการเจริญเติบโต ผลิใบ ออกดอก และหน่อใหม่ ไม่จำเป็นต้องรดปุ๋ยทุกวัน เพียงสัปดาห์ละครั้งก็เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตและให้ดอก
การให้ปุ๋ยกล้วยไม้ จะใช้สูตรไหน เท่าไหร่ เมื่อใด ขึ้นกับชนิดปุ๋ยและวิธีการให้ปุ๋ย ชนิดของกล้วยไม้ โรงเรือนและสภาพแวดล้อม
ชนิดปุ๋ย ปุ๋ยอินทรีย์ - ปุ๋ยปลา ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอนินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมี - ปุ๋ยเม็ด ปุ๋ยเกร็ด ปุ๋ยน้ำ - ปุ๋ยละลายช้า
ปุ๋ยเคมี สูตรสูง และละลายน้ำได้ทั้งหมด เป็นปุ๋ยที่เหมาะกับกล้วยไม้
เรโชของธาตุอาหารในปุ๋ย คือสัดส่วนที่เป็นเลขลงตัวน้อยๆของปริมาณธาตุอาหาร ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K)
มี 4 แบบคือ
เรโชสมดุล 1:1:1 เหมาะแก่การเจริญเติบโตปกติ เรโชที่มีธาตุ N สูง เช่น 3:2:1 เร่งการเจริญเติบโตทางใบ สำหรับลูกไม้ เรโชที่มีธาตุ P สูง เช่น 1:2:1 ช่วยการออกดอก เร่งราก เรโชที่มีธาตุ K สูง เช่น 1:3:5 ช่วยให้ต้นแข็งแรง
สูตรปุ๋ย สูตรปุ๋ย คือ ปริมาณหรือเปอร์เซ็นต์ของธาตุอาหาร N,P,K ที่มีอยู่ในปุ๋ยนั้น และกล้วยไม้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย
เช่นสูตร 21-21-21 (เรโช 1:1:1) ศุตร 15-30-15 (เรโช 1:2:1)
สูตรปุ๋ย 30-20-10 คือน้ำหนักปุ๋ย 100 กิโลกรัม มีไนโตรเจนที่พืชนำไปใช้ได้ 30 กิโลกรัม มีฟอสฟอรัสที่พืชนำไปใช้ได้ 20 กิโลกรัม มีโพแทสเซียมที่พืชนำไปใช้ได้ 10 กิโลกรัม
รวม 70 กิโลกรัม
วิธีการให้ปุ๋ย การละลายปุ๋ย - ละลายให้หมด การรดปุ๋ย - เปียกต้น ใบ ราก เวลาในการให้ปุ๋ย - เช้า
ความถี่ในการให้ปุ๋ย ทุก 7 วัน อัตราการให้ปุ๋ย กรัม/ลิตร , กรัม/ปี๊ป
ชนิดกล้วยไม้ 1. -กล้วยไม้ป่า -กล้วยไม้ลูกผสม
2. อายุและขนาดต้น - ลูกกล้วยไม้ - กล้วยไม้รุ่น - ต้นออกดอกแล้ว - ต้นขนาดเล็ก/ขนาดใหญ่ - กอเล็ก/กอใหญ่
3. วัฎจักรการเจริญเติบโต - พวกออกดอกตามฤดูกาลปีละครั้ง ให้สูตรเสมอ ใกล้ออกดอกให้สูตรเร่งดอก - พวกออกดอกตลอดปี ต้องให้ปุ๋ยสม่ำเสมอ
4. โรงเรือนและสภาพแวดล้อม - ความเข้มของแสงแดดและการระลายอากาศ - ฤดูกาล ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน ต้นกล้วยไม้เป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่าย ถ้าสามารถนำความรู้เรื่องชนิดพันธุ์ แหล่งกำเนิด และสภาพแวดล้อมในการปลูกเลี้ยง มาใช้เป็นวิธีการปลูกและดูแลรักษา จะทำให้ต้นมีการเจริญเติบโตดีและให้ดอกที่มีคุณภาพ
ขอให้สังเกต สงสัย และค้นคว้าหาข้อมูล
จากคุณ |
:
ปุ้ม ครับ
|
เขียนเมื่อ |
:
7 ก.พ. 55 23:48:31
|
|
|
|
 |