 |
ขออนุญาตออกความเห็นนิดนึงนะครับ แต่ก็จะออกตัวด้วยว่า มีประสบการณ์กับการปลูกกุหลาบมาไม่มาก แต่อยู่ในวงการเกี่ยวกับการจำลองระบบนิเวศน์ที่ซับซ้อนมาก ๆ และกระบวนการเติบโตของพืชบางกลุ่ม และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังมานานแล้ว เมื่อเข้ามาปลูกแรก ๆ ก็ศึกษา ตะลุยอ่าน ตะลุยถามจากผู้มีประสบการณ์จนเค้าชักจะเบื่อ ก็ยังมีความคาใจอยู่สี่ห้าเรื่อง อยากจะแชร์ครับ
ขอออกตัวอีกครั้งว่า ประสบการณ์ในวงการนี้ผมยังน้อยนะครับ เลี้ยงมาได้ปีกว่า ๆ แค่นั้นเอง กุหลาบผ่านมือมาไม่เกินยี่สิบพันธุ์ die back นี้ก็เคยได้ยินแต่ชื่อ อาการจริง ๆ ก็ยังไม่เคยเห็น หนึ่งในเรื่องที่ผมคาใจคือเรื่องวัสดุปลูก
ผมไม่ได้คิดว่าการใช้ขุยมะพร้าวล้วนเป็นวัสดุปลูกจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค แต่ผมไม่แน่ใจ่ว่าการใช้ขุยมะพร้าวแต่เพียงอย่างเดียว จะทำให้กุหลาบแข็งแรงได้จริง ๆ ผมเห็นด้วยว่าการใช้ขุยมะพร้าวอย่างเดียว ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่ซับซ้อน คือมีแร่ธาตุตามความต้องการของต้นไม้ครบทั้ง major, minor, trace element สามารถเลี้ยงกุหลาบให้ออกดอกได้ดี และผมก็เห็นด้วยว่าหน้าที่หลักของวัสดุปลูก ก็เพียงยึดให้ต้นไม้ทรงตัวอยู่ได้ ส่วน่อีกสามปัจจัย คือธาตุอาหาร อากาศ(ออกซิเจนในรูปของก๊าซ) และน้ำ เป็นสิ่งที่เราจะป้อนให้ และเป็นไปตามลักษณะสมบัติของชนิดวัสดุปลูกที่เราเลือกใช้ ซึ่งถ้าสามารถ provide ทั้งสี่ปัจจัยนี้ได้ จะปลูกกุหลาบในน้ำเป็นแบบ hydroponic ก็ยังทำได้เลย ซึ่งรู้สึกว่าก็มีคนทำอยู่ด้วยแล้วมั้ง
แต่ในเรื่องธาตุอาหาร สำหรับต้นไม้บางชนิดก็คงไม่เท่าไหร่ แต่สำหรับต้นไม้บางชนิด หรือระบุให้แคบมาว่า สำหรับกุหลาบบางชนิด ที่เซนซิทิฟมาก ๆ อาจต้องการแร่ธาตุบางชนิดในปริมาณที่น้อยกว่า trace element ซะอีก เพื่อสามารถเจริญเติบโตผ่านสภาวะที่เรียกว่าเป็นอุปสรรคได้ มีคำถามว่ามีรึเปล่า แร่ธาตุที่มีปริมาณน้อยกว่า trace element มีครับ เพียบ อีกเป็นร้อย ๆ ชนิด ที่มีอยู่ในธรรมชาติ หรือพูดอย่างทั่วๆ ไปว่าในดินนั่นแหละครับ
แร่ธาตุที่มีปริมาณน้อยมากที่สิ่งมีชีวิตต้องการ แต่ก็ขาดไม่ได้ และไม่สามารถใช้แร่ธาตุตัวอื่นทดแทนได้ ผมเชื่อว่าเราอาจซัพพลายแร่ธาตุที่พูดถึงให้กับกุหลาบได้ด้วยการปลูกกุหลาบแบบโอลด์แฟชั่น การใช้ปุ๋ยคอก ร่วมกับคอมโพสท์(ผมไม่สบายใจที่จะใช้คำว่าปุ๋ยหม้กแทนคำว่าคอมโพสท์ เพราะนิยามของปุ๋ยหมักในความรู้สึกมันแรงกว่าคอมโพสท์มาก) น่าจะช่วยเรื่องนี้ได้ นี่ยังไม่นับพวกสารประกอบที่แร่ธาตุแต่ละชนิดยึดเกาะกันด้วยพันธะต่าง ๆ แต่ก็ยังมีขนาดโมเลกุลเล็กพอที่รากต้นไม้จะสามารถดูดซึมได้ และยังมีสารประกอบอีกหลายชนิดที่ถึงจะมีขนาดโมเลกุลใหญ่ แต่ก็มีบทบาทต่อการยึดจับของแร่ธาตุกับรากต้นไม้ บางชนิดจับตัวกันเป็นฮอร์โมนที่มีประโยชน์ต่อการเติบโตของต้นไม้ รวมไปทั้งจุลินทรีย์บางชนิดที่ช่วยให้รากกุหลาบดึงธาตุอาหารเข้ามาได้ดีขึ้น (อันที่จริงมีเชื้อราบางชนิดที่บริษัทกุหลาบยักษ์ใหญ่อย่างเดวิดออสติดนำมาแพ๊คถุงขายเสียด้วยซ้ำ)
แต่น่าจะมีนักปลูกกุหลาบมือดี ๆ จำนวนมากที่ใช้ขุยมะพร้าวร่วมกับปุ๋ยเคมีอย่างเดียวก็สามารถปลูกกุหลาบได้ดอกดีมาก ๆ แต่ผมก็ยังไม่แน่ใจว่าวิธีการนี้จะใช้ได้กับกุหลาบทุกสายพันธุ์รึเปล่า หรือสามารถเลี้ยงกุหลาบให้เจริญได้จำนวนมาก ๆ cycle ได้รึเปล่า โดยเฉพาะพวกกุหลาบเรื่องมาก (เราจะนับว่าการออกดอกของกุหลาบแต่ไม่เคยติดเมล็ดในอุณหภูมิกรุงเทพเป็นการเจริญด้วยรึเปล่าก็ยังไม่ทราบ เพราะปลูกมาเป็นปี ๆ กุหลาบก็ไม่เคยเปลี่ยนเฟสเลย เติบโตอย่างเดียวมั้ง ถ้านันบตามหลักวิชาการ)
ถ้าอาการป่วยจนตายของกุหลาบที่เกิดขึ้นมักเกิดเฉพาะกับกุหลาบบางสายพันธุ์จนเราเรียกได้ว่าเป็นพวกกุหลาบเรื่องมาก ลองพิจารณาเล่น ๆ แบบแอบคิด ว่าเป็นไปได้รึเปล่าที่สภาพที่เราเห็นก่อนหน้านั้น ไม่ใช่สภาพที่เค้าสมบูรณ์ที่สุด แต่อาจเป็นการประทังชีวิตคือเติบโตไปเรื่อย ๆ แต่ไม่สามารถเจริญผ่านเฟสการออกดอกติดผลได้หลาย ๆ ไซเคิล
วันหลังคุยกันใหม่ครับ พิมพ์มากชักเมื่อยมือ ขอแสดงความนับถือครับ
จากคุณ |
:
mynamemathew
|
เขียนเมื่อ |
:
13 ก.พ. 55 05:54:04
|
|
|
|
 |