Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
มารู้จัก..." ต้นไม้ในพุทธประวัติ" กันดีกว่า ( ภาค 2 ) ติดต่อทีมงาน

ติดตามภาค 1
http://www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J11912233/J11912233.html

ติดตามภาค 2 http://www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J11916644/J11916644.html

ติดตามภาค 3
http://www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J11921450/J11921450.html

ติดตามภาค 4
http://www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J11925957/J11925957.html

ติดตามภาค 5 (ตอนจบ)

http://www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J11930225/J11930225.html




ต้นอ้อยช้างใหญ่ (ต้นมหาโสณกะ)


ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ปทุมพุทธวงศ์, นารทพุทธวงศ์ และเวสสภูพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า

พระพุทธเจ้า 3 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าองค์ที่ 11 พระนามว่า พระปทุมพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 8 เดือนเต็ม, พระพุทธเจ้าองค์ที่ 12 พระนามว่า พระนารทพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 7 วัน และ พระพุทธเจ้าองค์ที่ 24 พระนามว่า พระเวสสภูพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 6 เดือนเต็ม ทั้งสามพระองค์จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้อ้อยช้างใหญ่ เช่นเดียวกัน

จากการค้นคว้าทางพฤกษศาสตร์ไม่พบ ‘ต้นอ้อยช้างใหญ่’ มีแต่เพียง ‘ต้นอ้อยช้าง’ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นต้นอ้อยช้างที่มีขนาดใหญ่ ตามที่มีการระบุในภาษาบาลีไว้ว่า ‘ต้นมหาโสณกะ’ ซึ่ง ‘มหา’ แปลว่า ใหญ่ ดังนั้น จึงขอนำเรื่องราวของต้นอ้อยช้างมาเสนอไว้ ณ ที่นี้



ต้นอ้อยช้าง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.” อยู่ในวงศ์ Anacardiaceae มีชื่อพื้นเมืองเรียกกันมากมาย เช่น คำมอก, กอกกั๋น, กุ๊ก, ช้างโน้ม, ตะคร้ำ, หวีด เป็นต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงราว 8-15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกนอกสีน้ำตาลปนเทา กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ลำต้นมีร่องเล็กๆ ตามยาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายใบแหลมโคนใบมน ขอบใบเรียบ ออกเป็นช่อตรงปลายกิ่ง และใบจะร่วงหมดในช่วงที่ออกดอกจน ถึงออกผลในราวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

ดอกขณะตูมมีสีม่วงแดง เมื่อบานสีด้านในของกลีบเป็นสีเหลืองแต้มสีม่วงแดงเรื่อๆ ขนาดเล็กออกเป็นช่อ กลีบรองดอกและกลีบดอกมีประมาณ 4-5 กลีบ ออกราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ผลรูปรี มีขนาดเล็กสีเขียวอมแดง ภายในมีเมล็ดกลมหรือรี 1 เมล็ด ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือการตอนกิ่ง



อ้อยช้างมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ส่วนของรากซึ่งเป็นกระเปาะใหญ่เก็บสะสมน้ำไว้จำนวนมาก น้ำในรากสามารถนำมาดื่มแก้กระหายได้ เนื้อไม้ใช้เป็นแบบเทคอนกรีต งานแกะสลัก เปลือกใช้ทำที่รองหลังช้าง ใช้ฟอกหนังสัตว์ ส่วนยอดอ่อนมีรสเปรี้ยว ฝาด จึงนิยมรับประทานเป็นผัก

ส่วนสรรพคุณด้านพืชสมุนไพรนั้น เปลือกเป็นยาสมานแผล แก้อาการปวดฟัน แก้ธาตุพิการและอ่อนเพลีย แก้ฝี โรคเรื้อน โรคผิวหนัง และแก้เจ็บตา แก่นมีรสหวาน แก้เสมหะ บรรเทาอาการกระหายน้ำ ชุ่มคอ ใบใช้แก้ผิว หนังพุพอง เน่าเปื่อย รากใช้เข้าตำรับยา เพื่อชูรสยาในตำรับนั้นๆ

เครดิต. ผู้จัดการออนไลน์ และ http://board.palungjit.com ค่ะ

แก้ไขเมื่อ 06 เม.ย. 55 11:06:13

แก้ไขเมื่อ 05 เม.ย. 55 21:41:22

แก้ไขเมื่อ 05 เม.ย. 55 21:38:49

แก้ไขเมื่อ 03 เม.ย. 55 10:57:33

 
 

จากคุณ : micheal lee
เขียนเมื่อ : 3 เม.ย. 55 09:30:38




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com