 |
...............................สถาบันวิจัยการแพทย์แผนไทย ระบุว่า ย่านาง มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Tiliacora;Trian dra (Colebr.) Diels ชื่อสามัญ (ภาคกลาง) เถาย่านาง, เถาหญ้านาง, เถาวัลย์เขียว, หญ้าภคินี (เชียงใหม่) จ้อยนาง, จอยนาง, ผักจอยนาง (ภาคใต้) ย่านนาง, ยานนาง, ขันยอ (สุราษฎร์ธานี) ยาดนาง, วันยอ (ภาคอีสาน) ย่านางอื่น ๆ เครือย่านาง, ปู่เจ้าเขาเขียว, เถาเขียว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์...ต้น เป็นไม้เถาเลื้อย เกี่ยวพันไม้อื่น เป็นเถากลม ๆ ขนาดเล็ก เหนียว มีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเข้ม บริเวณเถามีข้อห่างๆ เถาอ่อน มีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่ผิวค่อนข้างเรียบ ราก มีหัวใต้ดิน รากมีขนาดใหญ่ ใบ เป็นใบเดี่ยวคล้ายใบพริกไทย ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่ หรือรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5-10 ซม. กว้าง 2-4 ซม. ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. ในภาคใต้ใบค่อนข้างเรียวยาวแหลมกว่า สีเขียวเข้ม หน้าและหลังใบเป็นมัน ดอก ออกตามซอกใบ ซอกโคนก้าน จากข้อเถาแก่เป็นช่อยาว 2-5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3-5 ดอกออกดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ขนาดโตกว่าเมล็ดงาเล็กน้อย ต้นเพศผู้จะมีดอกสีน้ำตาล อับเรณูสีเหลืองอ่อน ดอกย่อยของต้นเพศผู้จะมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกมีขนสั้น ๆ ละเอียด ปกคลุมหนาแน่น ออกดอกช่วงเดือนเมษายน ผลรูปร่างกลมเล็ก ขนาดเท่าผลมะแว้ง สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดง หรือสีแดงสด และกลายเป็นสีดำในที่สุด
...จากการศึกษาข้อมูลทางวิทยา ศาสตร์ พบว่า น้ำคั้นจากใบย่านางมีคลอโร ฟีลล์ สามารถเพิ่มความสดชื่น ปรับสมดุลร้อนเย็นในร่างกาย ลดไข้ ปวดแขนขา แสบร้อนเบ้าตา เป็นผดผื่นคัน แพ้อากาศ สามารถล้างสารพิษที่สะสมในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมาจากอาหารและสิ่งแวดล้อม …
จากคุณ |
:
ญี่ปุ่น35
|
เขียนเมื่อ |
:
30 พ.ค. 55 00:27:01
|
|
|
|
 |