....มาแชร์ประสบการณ์ FIP.....
|
|
พลอยเล็กเป็น FIP เต็มขั้นมา 4 เดือนแล้ว เจาะน้ำในช่องอก 5 ครั้ง โดยที่ 3 ครั้งแรกเป็นรูปแบบน้ำคั่งในเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion) แต่อีก 2 ครั้งหลังเป็นรูปแบบน้ำคั่งในเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial effusion) เท่าที่ดูจากกระทู้เก่าๆ ไม่เคยมีใครพูดถึงน้ำคั่งในเยื่อหุ้มหัวใจเลย พูดกันแต่ช่องท้อง ช่องอก ช่องปอด
เราอยากมาบอกเจ้าของแมวที่เป็น FIP อยู่ เนื่องจากรูปแบบน้ำที่คั่งในเยื่อหุ้วหัวใจจะพบน้อย หรืออาจเป็นเพราะว่าแมวมักจะตายตั้งแต่น้ำคั่งในเยื่อหุ้มปอด FIP ของพลอยเล็กมันมาเหนือเมฆคือ ขั้น advance มาคั่งในเยื่อหุ้มหัวใจ หมอบอกพบน้อยมาก นี่ไงเลยไม่มีใครพูดถึง หาข้อมูลไม่ได้ ถ้าน้ำคั่งในช่องท้องนั้น มันสามารถขยายได้มากกว่าช่องอก เพราะในช่องอกมีซี่โครงที่จำกัดการขยายตัว ดังนั้นเราจะเล่าเฉพาะรูปแบบการคั่งในช่องอก ซึ่งจะมี 2 แบบคือ น้ำคั่งในเยื่อหุ้มปอด และ น้ำคั่งในเยื่อหุ้มหัวใจ จากประสบการณ์ วิธีสังเกตว่าเมื่อไหร่ที่ต้องเจาะน้ำออกระหว่าง pleural effusion และ pericardial effusion 1. น้ำคั่งในเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion) - แมวจะเริ่มหายใจลำบาก จมูกจะเริ่มบาน หายใจตัวโยน แล้วจะเริ่มอ้าปากหายใจ ซึ่งเจ้าของดูได้ว่าแมวอ้าปากหายใจ อาจจะคล้ายๆสำรอกก้อนขน - เมื่ออุ้มนอนหงายเหมือนอุ้มเด็ก แมวจะรีบพลิกตัวกลับมานอนคว่ำ เพราะว่ามีแรงดันจากน้ำที่อยู่ในเยื่อหุ้มปอด - แมวจะนอนตะแคงไม่ได้ ต้องนั้งท่ากกไข่ เมื่อเป็นมากจะนั่งด้วยขาหลังแล้วอ้าปากหายใจ - วิกฤตสุดคือ จมูกม่วง น้ำลายยืด ขาดอากาสจนตาย
จากคุณ |
:
พลอยเล็ก
|
เขียนเมื่อ |
:
19 พ.ย. 55 18:47:20
|
|
|
|