ความคิดเห็นที่ 3
ว่ากันไปเรื่อยๆตามอ.กร๋วยเลยครับ..........
"นายกร๋วย บอกเล่าเก้าสิบ" ภาค 3 'เพิ่มเติม--- หัวข้อ 'ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบกรองแบบ Biological ในตู้ปลาสวยงาม'
เมื่อ 2 ภาคที่แล้วผมได้เกริ่นนำในเรื่องของระบบกรองแบบระบบ Biological ในส่วนของพื้นฐานความเข้าใจไปบ้างพอสมควร โดยได้พยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุด และก็ยังมีส่วนที่ขอติดค้างไว้ต่อภาคนี้ ในหัวข้อการวางระบบกรองที่ถูกต้องอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล , การดูแลรักษา , ข้อดี , ข้อเสีย ,ข้อจำกัดในการใช้งาน ของระบบกรองแบบ Biological ก็มาละเลงกันต่อเลยดีกว่า ครับพ้มมมม
. จากตอนที่แล้วที่ผมบอกว่าเราต้องมีวิธีชักชวนเจ้าแบคทีเรียฝ่ายธรรมะ ให้มาอาศัยในตู้ปลาของเรา เพื่อให้หนูแบคฯทั้งหลาย มาช่วยในการสลายของเสียในตู้ปลา เพื่อคุณภาพน้ำที่ดี ทีนี้เราต้องมาพิจารณาแล้วล่ะครับว่าจะทำอย่างไรการวางระบบกรองที่ถูกต้องอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล / พื้นที่อำนวย ก็ร่ำรวย กู๊ด แบคทีเรียลองคิดเปรียบเทียบดูสิครับว่า ถ้าเราไปอยู่ในที่ๆไม่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต เราก็อยู่ไม่ได้ เช่นเดียวกับแบคทีเรีย ถ้าสภาพแวดล้อมในระบบของเราไม่มีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการแพร่ขยายพันธุ์ ดำรงชีวิตของแบคทีเรีย ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรียที่มีหรือไม่มีประโยชน์ ก็ไม่สามารถอยู่ได้เช่นกัน คำว่า "เหมาะสมต่อการดำรงอยู่" นั้น กล่าวคือ แบคทีเรียฝ่ายชั่วร้ายที่เป็นบ่อเกิดแห่งสารพัดโรค จะไม่สามารถอยู่ได้ในน้ำที่มีคุณภาพดี มีความสะอาด ปริมาณของเสียต่ำ ปริมาณแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท ต่ำ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีเอาเสียเลย แต่ก็เป็นจำนวนน้อย ซึ่งการที่จะให้น้ำในระบบปิดซึ่งหมุนเวียนอยู่ในตู้ปลาของเรามีคุณสมบัติดีดังกล่าว เราก็ต้องอาศัยพ่อพระเอกแบคทีเรียฝ่ายดีที่เคยกล่าวไปในภาคที่แล้วมาจัดการ โดยที่เราต้องมีบ้านให้แบคทีเรียพระเอกของเรามีที่อยู่อาศัยมากพอสมควร บ้านที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมนั้น ก็ควรเป็นวัสดุที่มีพื้นผิวเป็นรูพรุน ซึ่งจะมีเนื้อที่ให้แบคทีเรียเกาะได้มากมาย อาทิ กรวดปะการัง หรือ มีเดีย ซับเสตรท อื่นๆเช่น หิน ไม้ หรือวัสดุรูพรุนอื่น เป็นต้น โดยเจ้ามีเดีย ซับเสตรทจะไปอยู่ทั้งในระบบกรอง และนอกระบบกรองก็ได้ ยิ่งมีพื้นที่ยึดเกาะมากเท่าใด ประสิทธิภาพในการ Refreshment ยิ่งดียิ่งไวครับพ้มมม
.ทีนี้ก็ถึงเวลามาพูดคุยถึงสิ่งจำเป็นในการวางพื้นฐานระบบกันแล้วล่ะครับ เริ่มตั้งแต่ปัจจัยหลักๆเลยนั่นก็ได้แก่เครื่องกรองน้ำ สิ่งหนึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีในการเลี้ยงสัตว์น้ำในระบบปิด เพื่อใช้จัดการกับของเสียต่างๆที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ ระบบกรองที่ดีต้องสามารถที่จะทำให้น้ำที่หมุนเวียนผ่านในระบบมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับธรรมชาติมากมี่สุด (แน่นอนว่าจะให้เทียบเท่าธรรมชาติมันเป็นไปไม่ได้) เครื่องกรองน้ำในปัจจุบัน มีมากมายหลากหลายรูปแบบ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่แผ่นพลาสติกใต้ทรายก้นตู้อีกต่อไป มีทั้งแบบติดมุมตู้ ข้างตู้ บนตู้ นอกตู้ ล่างตู้ ฯลฯ สารพัดสารเพ แต่แบ่งจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 3 ประเภทด้วยกันคือ เครื่องกรองแบบ Machanical , Chemical , และ Biological ซึ่งที่มักเรียกกันว่ากรองแบบ ชีวภาพ , กรองWet/Dry ,กรอง Bioball หรือตามแต่จะเรียก (เด็กแถวบ้านผมเค้าเรียกว่ากรอง พระยาเงี๊ยบ ซึ่งก็งงในที่มาของชื่อนี้พอสมควร ) ในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะกรองบำบัดน้ำแบบ Biological เพราะเกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่เราจะพูดถึงมากที่สุด โดยอาจแบ่งเป็นประเภทย่อยๆได้อีก แต่ขอไม่กล่าวถึง เพราะมักใช้ในวงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จะกล่าวเฉพาะที่เห็นใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเราๆท่านๆคุ้นหน้าตากันดี นั่นก็คือ กรองแบบ Wet / Dry ที่จะเห็นเป็นกล่องกระจกเหลี่ยมๆ ใส่ลูกบอลพลาสติกสีฟ้าๆเขียวๆ วางขายทั่วไป หรือไม่บางทีก็ติดตั้งมากับตู้ปลาขนาดใหญ่มาแล้วเรียบร้อย นอกเหนือจากลักษณะรูปร่างนี้ ยังมีอีกหลายรูปร่างแต่หลักการคล้ายๆกัน เช่น เป็นแบบ Tower , เป็นแบบ Tank , แบบ อ่างไฟเบอร์ , แบบถังพลาสติก 100 ลิตร หรือแบบหรูหน่อยก็จะเป็นแบบกระบอกหรือกล่องพลาสติกเกรดดี เป็นกรองภายนอกตู้ มีมอเตอร์ดูดน้ำเข้าออก ซึ่งก็ใช้ระบบ Wet / Dry คล้ายๆกัน รู้สึกว่าจะเป็นของอิตาลี กับ เยอรมัน เป็นรุ่นที่ระบุเลยว่าเป็น Wet / Dry biologocal ฯลฯ แต่ที่นิยมใช้กันในตู้ปลาบ้านเรา ก็คงจะเป็นแบบกล่องกระจกที่วางตามมุม หรือด้านหลัง ด้านข้าง ด้วยเหตุที่ว่าราคาถูก ดูแลรักษาง่าย วัตถุดิบหาได้ง่ายภายในประเทศทีนี้เรามาดูที่หลักการของมันกันดีกว่าครับ หลักการของเจ้ากรองที่ว่านี้ก็คือ ในทางน้ำเข้า ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นช่องร่องเล็กๆถี่ๆเพื่อกันอาหารปลาหล่นลงไปในช่องกรอง น้ำที่บริเวณผิวน้ำจะไหลลงช่องกรองตามแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว ในกรณีตู้ปลาน้ำจืด ของเสียมักจะละลายอยู่ในน้ำมากกว่าที่จะลอยอยู่บนผิวน้ำอย่างในตู้ปลาน้ำทะเล แต่ก็ยังถือว่าอนุโลมยอมรับได้ ด้วยเหตุผลของความง่ายในการออกแบบตู้กรอง ซึ่งถ้าจะให้ดีควรจะมีปั๊มน้ำดูดเอาน้ำช่วงใกล้ๆพื้นตู้ ต่อท่อไปลงช่องกรองด้านบนด้วยอีกทอดหนึ่งก็จะดีไม่น้อย (แต่ก็เปลืองตังค์ซื้อปั๊ม เปลืองค่าไฟอีกนิด เกะกะรกตู้อีกหน่อย) น้ำที่ไหลลงไปในหม้อกรองจะค่อยๆแตกสาย ไหลผ่านวัสดุกรองซึ่งก็อาจจะเป็นวัสดุจำพวกใยแก้ว ถ่านคาร์บอน ไบโอบอลล์ เซรามิกส์ริงส์ หรือจะเป็นกรวดปะการังล้วนๆเลยก็มี การไหลผ่านล้นลงไปในลักษณะนี้ จะทำให้น้ำสามารถละลายออกซิเจนไปได้พอสมควรเนื่องจากสภาวะการค่อยๆล้นเข้าไปในช่องกรองของน้ำ ผ่านภายในช่องกรองซึ่งมีวัสดุกรองและช่องว่างระหว่างชิ้นวัสดุ และน้ำจะไหลมารวมกันที่ก้นหม้อกรองโดยคงระดับน้ำที่ท่วมตัวปั๊มและ Media Substarte ซึ่งจะส่งผลให้ภายในหม้อกรองจะมีวัสดุกรองแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่จมน้ำ (Wet Room) กับส่วนที่ไม่จมน้ำ (Dry Room) อันเป็นที่มาของชื่อ Wet / Dry วัสดุกรองส่วนที่ไม่จมน้ำ จะทำหน้าที่ในการ กักตะกอนแขวนลอย แลกเปลี่ยน Gas ละลายออกซิเจน และระบายความร้อนจากโมเลกุลน้ำในระบบบางส่วน ส่วนวัสดุกรองที่จมน้ำ ตามหลักการแล้วเราจะให้เป็นที่อยู่อาศัยของแอโรบิคแบคทีเรีย ซึ่งจะทำลายของเสียที่ปะปนมากับน้ำที่อุดมไปด้วยออกซิเจนจากผลของการที่น้ำไหลผ่านอากาศมาจากส่วนบนของหม้อกรอง กระบวนการย่อยสลายแปรรูป ณ ก้นหม้อกรองที่น้ำท่วมตลอดนี้ ก็คือ Nitrification Process ที่เคยกล่าวมาแล้วในภาคก่อนนั่นเองด้วยหลักการดังกล่าว เราจึงควรที่จะรักษาระดับน้ำที่จะล้นเข้าหม้อกรองให้เหมาะสมพอดิบพอดี เพราะหากระดับน้ำในตู้สูงมากเกินไป น้ำก็จะท่วมเอ่อล้นวัสดุกรองส่วนที่ไม่ควรจมน้ำ ในห้อง Dry Room หรือถ้าระดับน้ำต่ำเกินไปน้ำก็จะไหลลงมาไม่ท่วมปั๊มใน Wet Room ซึ่งอาจจะทำให้ปั๊มไหม้ได้ และนี่คือข้อจำกัดประการหนึ่งของเครื่องกรองแบบนี้ นอกจากนี้ กำลังของปั๊มน้ำที่ติดตั้งใน Wet Room ก็ต้องสัมพันธ์กับพื้นที่หน้าตัดของหม้อกรองด้วย หากหน้าตัดหม้อกรองกว้างน้ำไหลลงเร็ว ปั๊มจะดูดน้ำออกจาก Wet Room ไม่ทัน น้ำก็จะท่วมไปถึง Dry Room เช่นเดียวกัน หากกำลังปั๊มน้ำมีมากโดยดูดน้ำออกจาก Wet Room เร็วเกิน น้ำก็จะไหลลงมาไม่ทัน ทำให้แกนแม่เหล็กในตัวปั๊มไม่มีน้ำหล่อลื่น ตัวปั๊มอาจจะเกิดความเสียหายได้ แต่โดยทั่วไป อาจจะกล่าวได้ว่าระบบกรองแบบนี้จะเกิด Nitrification Process ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง จากหลักการที่ว่าน้ำที่ไหลผ่านวัสดุกรองใน Dry Room จะสามารถละลาย Oxygen มาผสมในมวลน้ำได้มาก เมื่อน้ำที่อุดมไปด้วย Oxygen ไหลลงมาถึง Wet Room ท่วมวัสดุกรอง ก็เป็นการเอื้ออำนวยความสะดวกในการทำงานของแอโรบิคแบคทีเรียได้เต็มประสิทธิภาพ จึงพอที่จะอนุมาน(หรือที่เรียกว่าเดาน่ะแหล่ะครับ)เอาได้ว่า น้ำที่ถูกปั๊มดูดออกจาก Wet Room คืนสู่ระบบ จะมีปริมาณ แอมโมเนีย และไนไตรท์เจือปนอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก แต่เนื่องจากด้วยความที่ระบบกรองทั้งหมดไม่มีส่วนไหนเลยที่ไม่อยู่ในสภาวะอับ Oxygen เพื่อที่จะให้แอนแอโรบิค แบคทีเรียทำหน้าที่ย่อยสลายแปรรูปไนไตรท์ให้กลายเป็นไนโตรเจนและไนตรัสออกไซด์ที่พร้อมจะหลุดออกจากระบบ อันเป็นกระบวนการที่ผมได้เคยอธิบายหลักการ Denitrification Process ไปในภาคที่แล้ว ซึ่งกระบวนการนี้แหละที่ไม่ต้องการให้ Oxygen มาเอี่ยวด้วย แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่นักเลี้ยงปลาน้ำจืดต้องกังวลให้มากมายนัก เพราะปลาน้ำจืดที่เราๆเลี้ยงกันอยู่สามารถที่จะทนต่อสภาพน้ำที่มีปริมาณไนเตรทสูงได้ แต่ถ้าเป็นในระบบน้ำทะเลก็คงต้องซีเรียสกับกระบวนการ Denitrification Process มากหน่อย เพราะไนเตรทที่เจือปนในน้ำทะเลจะมีผลต่อปลาทะเลมากพอสมควรครับ จึงต้องพยายามหาทางทำให้เกิด Denitrification Process ให้ได้ ซึ่งก็มีหลายวิธีด้วยกัน อาทิ การใช้หินที่มีรูพรุนมากๆ ก้อนใหญ่ๆ เป็นซากทับถมหรือซากปะการังที่ตายแล้ว แต่มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆมากมายอาศัยอยู่ตามผิวหน้า ที่เขาเรียกว่า "หินเป็น" ใส่ลงไปในตู้ ทั้งนี้เพราะหินเป็นนั้น จะมีรูพรุนมหาศาล ซึ่งผิวนอกของมันจะเป็นที่อยู่อาศัยของ Aerobic Bacteria ที่ใช้ Oxygen ส่วนในเนื้อแกนกลางลึกลงมาจากผิวหน้า จะเป็นที่อยู่อาศัยของ Anaerobic Bacteria ที่ไม่ต้องการ Oxygen ดังนั้น Denitrification Process ก็จะเกิดขึ้นตรงนี้ได้เหมือนกัน หรืออีกวิธีหนึ่งในการบันดาล Denitrification Process ให้เกิดขึ้นภายในตู้ปลาก็คือ การพยายามให้พื้นตู้ของเราเกิดสภาวะอับออกซิเจน โดยวิธีโรยกรวดพื้นตู้ให้มีความหนามากๆ (ประมาณ 4 - 5 นิ้ว) ซึ่งกรวดที่ใช้ก็ต้องมีความละเอียดพอสมควร (แนะนำให้เป็นกรวดปะการังจะดีมาก) เพื่อที่จะได้ป้องกันไม่ให้ออกซิเจนลงไปทำลาย Denitrification Process ที่พื้นล่างได้ เท่านี้ก็ยังพอจะลดปริมาณไนเตรทในตู้ปลาลงได้ส่วนหนึ่งแล้วล่ะครับพ้มมม
จากคุณ :
สายน้ำสีน้ำเงิน
- [
24 มิ.ย. 47 23:07:03
]
|
|
|