ความคิดเห็นที่ 2
โรค KHV Koi Herpes Virus ในความเสียหายของปลาคาร์พญี่ปุ่นที่ไทยต้องจับตามอง ปัจจุบันโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายในการเลี้ยงและส่งออกปลาคาร์พของประเทศญี่ปุ่นมากที่สุดคือ Koi Herpes Virus (KHV) ดังนั้นเราจึงควรมาทำความรู้จักกับโรคนี้กัน เพื่อให้ผู้เลี้ยงได้สามารถป้องกันและสำรวจการเกิดโรคได้อย่างทันท่วงที หากมีการติดเชื้อขึ้นในประเทศไทย ปลาแฟนซีคารพ์ (Fancy Carp) เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลาในสกุลเดียวกับปลาไน (crucian carp) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่มีแหล่งดั้งเดิมในประเทศอิหร่านในปัจจุบัน เนื่องจากปลาชนิดนี้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศต่าง ๆได้ดี จึงมีการแพร่ขยายพันธุ์ออกไปทั่วโลก โดยในช่วงต้น ๆ ชาวจีนเป็นชนชาติแรกที่รู้จักปลาไน และนำมาเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีล่วงมาแล้ว ชาวญี่ปุ่นเองก็นำมาเลี้ยงไว้เป็นอาหารเช่นกัน แต่ต่อมาเมื่อมีการเลี้ยงหลายชั่วอายุปลา จึงทำให้เกิดสีแดงในตัวปลาขึ้น จึงเริ่มมีการเลี้ยงเพื่อความสวยงามและกลายเป็นที่นิยมของญี่ปุ่น และจะเรียกปลาไนว่า โกยหรือกอย (Koi) แต่สำหรับปลาไนที่มีสีสันลวดลายสวยงามสะดุดตา จะเรียกว่า นิชิกิกอย (Nishikigoi) และปลาชนิดนี้ ก็ได้รับความสนใจเลี้ยงกันทั่วโลก เรารู้อะไรเกี่ยวกับไวรัส KHV บ้าง 1. KHV เป็น species-specific และจะเป็นเฉพาะในปลาคาร์พที่กินได้ และ Koi (Cyprinus carpio) 2. KHV เป็น temperature-dependent และจะ active มากกว่าในช่วงอุณหภูมิ 18-24 องศาเซลเซียส 3. KHV มี incubation period นานประมาณ 10-12 วัน (ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ) 4. เครื่องมือต่าง ๆที่ใช้เกี่ยวกับ KHV สามารถฆ่าเชื้อได้ด้วย Chlorine Israeli Koi Breeders จะจัดการปัญหานี้ได้อย่างไรบ้าง 1. เลิกหรือทำลาย Koi/Carp และมีการฆ่าเชื้อทั้งระบบแล้วจึงเริ่มเลี้ยงใหม่ 2. ทำความรู้จัก และเรียนรู้เชื้อไวรัสตัวนี้ให้มากขึ้น Koi Herpes Virus ในปัจจุบัน มีโรคที่เกิดขึ้นกับปลาสวยงามที่อาจทำให้ผู้ที่จะเลี้ยงหรือกำลังเลี้ยงปลาสวยงามอยู่เกิดความสะพรึงกลัวไดันั่นคือ Koi Herpes Virus ซึ่งพบรายงานในปลาสวยงามของอิสราเอลและญี่ปุ่น แต่ไม่อาจวินิจฉัยได้ว่า โรคนี้เกิดในญี่ปุ่นหรือไม่ เพียงแต่รู้ว่า ปลาสวยงามจากประเทศข้างต้นป่วยเป็นโรคนี้ และตอนนี้พบว่า ผู้แทนจำหน่ายปลาสวยงามใน California, Ohio, Louisville, Atlanta, Texas, Chicago, New York, Indiana, Nevada, Arizona, Verginia และ Florida ต่างก็พบว่า มีปลาของตัวเองป่วยเป็นโรคนี้ ส่วนในปลาทองไม่พบการเกิดโรค แต่ยังไม่มีรายงานแน่ชัด โรค Koi Herpes Virus นับเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งในปลาคาร์พ เนื่องจากมีอัตราการตายสูง ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ที่ USA ปี 2003 โรค KHV ทำปลาตายมาก ในประเทศไทย ยังไม่เคยมีรายงานการเกิดโรค แต่ก็ควรระมัดระวัง เนื่องจากมีการนำเข้าปลาคาร์พจากต่างประเทศ มีรายงานการเกิดโรคนี้ครั้งแรกในประเทศอิสราเอลในปี 2541 จากนั้นได้แพร่ระบาดไปในหลายประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม เดนมาร์ค อังกฤษ เยอรมนี เนเธอแลนด์ ล่าสุดในเดือนตุลาคม 2546 ได้มีการระบาดครั้งใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นที่จังหวัด Ibaraki ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว ซึ่งข้อมูลทางการข่าวรายงานว่า ปลาคาร์พตายถึง 1.124 ตัน เสียหายเป็นเงิน 280 ล้านเยน สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes เป็นชนิดของ DNA virus ที่ทำให้เกิดโรคกับปลาได้มากที่สุดโรคแผลพุพองที่เกิดกับปลาคาร์พ (Carp pox) ที่เป็นสาเหตุให้เกิดก้อนเนื้อใส ๆ ไม่น่าดูในอากาศที่เย็นขึ้น มีชื่อว่า Cyprinid Herpes Virus (CHV) ไม่ควรสับสนกับ KHV ชื่อของ KHV ไม่ได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย และผู้ที่เชื่อว่าโรคนี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส Herpes ชอบที่จะใช้ KV เรียกแทนมากกว่า เชื้อจะสามารถก่อโรคที่อุณหภูมิต่ำได้ดีกว่าที่อุณหภูมิสูง (ไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส) อุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดระยะห่างระหว่าง exposure กับ onset โดยที่อุณหภูมิต่ำทำให้เชื้อไวรัส Herpes virus ดำรงชีวิตได้ยาวขึ้น โรคมักเกิดที่อุณหภูมิระหว่าง 18 - 28 องศาเซลเซียส สาเหตุมาจาก 1. เมื่อปลาที่มีเชื้ออยู่อ่อนแอ หรือได้รับบาดเจ็บ เชื้อแบ่งตัวและเกิดโรคได้ถึงแม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี 2. ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ค้าปลาที่มีความรู้ว่า การทำให้น้ำที่เลี้ยงปลา มีความอุ่นที่ 30 องศาเซลเซียส สามารถหยุดอาการของโรค และอาจจะทำให้ปลาหายป่วยได้ จากนั้นนำปลาเหล่านี้ไปขาย เมื่อมีคนอื่นซื้อไปเลี้ยง แม้ไม่มีความเข้าใจในโรค Koi Herpes Virus ก็อาจทำให้ปลาดังกล่าวเกิดโรคขึ้นได้อีก 3. จากที่อัตราการตายต่ำ และปลาหลายชนิดก็มีความทนต่อการติดเชื้อ แต่เมื่อนำไปเลี้ยงรวมกันกับปลาหลาย ๆชนิด ก็จะเป็นสาเหตุให้ปลาที่ไม่ทนต่อเชื้อ เกิดโรคขึ้นได้ นอกจากนี้ ภาวะความเครียดต่าง ๆ เช่น การขนส่ง การติดเชื้อปรสิต และคุณภาพน้ำไม่ดี จะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยเสริมให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น กลไกการเกิดโรค หลังจากปลาติดเชื้อไวรัสตัวนี้เข้าไปแล้ว เชื้อไวรัสจะทำลาย Epithelium cell ของ Koi โดยเฉพาะที่ผิวหนังและเหงือก เป็นผลทำให้เมือกมาก ผิวแห้งทำให้เกิดการลอกหลุด และ cell ของเหงือกตาย มีการติดเชื้อรา ปรสิต และแบคทีเรียตามมา ปลาจะไม่กินอาหาร ไม่ค่อยหายใจ และตายอย่างช้า ๆ ยิ่งไปกว่านั้นคือ จะทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนได้โดยเฉพาะ Aeromonas sp. และแบคทีเรียตัวอื่นที่ก่อโรคกับปลา มีผู้เลี้ยงปลาจำนวนมากกล่าวว่า ปลาที่ติดเชื้อไวรัสตัวนี้ จะก่อให้เกิดความสูญเสียภายใน 10-14 วันหลังการติดเชื้อ แต่กระนั้นก็มีบ้างที่ไม่ได้เกิดความเสียหายขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งปฏิกิริยาทางร่างกายของปลาภายนอกที่เราสังเกตได้คือ ลักษณะเป็นแผลไหม้ตามข้างลำตัว มีการหลั่งเมือกออกมามาก และปลาจะมีอาการแย่ลงเมื่อเหงือกของมันถูกทำลาย การก่อโรคและอาการ ส่วนใหญ่ปลาจะได้รับเชื้อจากการสัมผัสปลาป่วยด้วยกัน อาจจะมีบ้างที่ได้รับเชื้อจากน้ำหรืออุปกรณ์บางชนิด เช่น ตาข่าย ปลาคาร์พที่ได้รับเชื้อ มีทั้งที่ตาย หายป่วยและเป็นพาหะ (พาหะ หมายถึง ติดเชื้อแล้วไม่ป่วย แต่จะแพร่เชื้อออกมาเป็นระยะเวลานาน) โดยเมื่อได้รับเชื้อแล้ว จะแสดงออกมาได้ 4 แบบคือ 1. ไม่ติดเชื้อ (โดยระบบภูมิคุ้มกัน หรือความต้านทานการติดเชื้อโดยธรรมชาติ) 2. ติดเชื้อและตาย 3. ติดเชื้อแต่รอดชีวิต และกำจัดไวรัสออกนอกร่างกาย 4. ติดเชื้อและรอดชีวิต แต่เป็นตัวเก็บกักโรคโดยไม่แสดงอาการ แต่มี KHV แฝงอยู่ และเมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม จะถูกกระตุ้นและแพร่เชื้อออกมา (กลไกยังไม่ทราบแน่ชัด) โดยความเครียดมีผลดังกล่าว และมักทำให้เกิด secondary infection ตามมา เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะเพิ่มจำนวนและทำลายเซลล์บุผิว โดยเฉพาะที่ผิวหนังและเหงือก ทำให้มีการหลั่งเมือกมาก และเซลล์ของเหงือกตาย เหงือกจะมีสีแดงจัดและมีหย่อมสีขาวแทรกอยู่ อาการของปลาที่ติดเชื้อที่พอสังเกตได้เช่น - การว่ายน้ำ โดยที่หัวดิ่งลง - ไม่กินอาหารและอ่อนแอ - ตาจม - รอยโรคที่เหงือก - มีเมือกเหนียว ๆที่ผิวหนัง - รอยแผลมีสีดำในปลาป่วยระยะสุดท้าย - เจ็บปวดตามร่างกาย บ้างที่พบว่า ที่เหงือกของปลาป่วย จะมีลักษณะเป็นแนวรอบขาว ๆ ซึ่งปกติเหงือกจะมีสีแดง แต่บางทีจะไม่พบรอยโรคเหงือกของปลาป่วยเลยก็ได้ อัตราการตาย 50 - 100 % (highly mortality) และเป็น permanent carrier fish พบว่า ปลาที่ป่วยเป็นโรคนี้ ลักษณะรอยโรคคล้าย ๆกับโรคที่เกิดจาก Aeromonas sp. ซึ่งอัตราการเกิดโรคมีประมาณ 10-20 % แต่อัตราการตายเพียง 7-8 %
จากคุณ :
Aquanaut (Aquanaut)
- [
8 ธ.ค. 48 09:54:01
]
|
|
|