ความคิดเห็นที่ 15
ต่อเรื่องประโยคบอกเล่าครับ เวลาที่เป็นรูปบอกเล่า รูป "no da" เป็นรูปที่อธิบายยากเหมือนกันครับ เพราะไม่มีรูปแปลเทียบกับ ภาษาไทยเหมือนเวลาที่เป็นประโยคคำถาม ปัญหานี้นอกจาก ภาษาไทยแล้ว ภาษาจีนก็เป็นเหมือนกัน
เนื่องจากยังไม่มีใครบอกได้ว่า no da ในประโยคบอกเล่าใช้ ทำอะไร จึงมีคนคิดที่จะอธิบายวิธีใช้หลายๆ แบบ ๑. ใช้เวลาต้องการอธิบายเหตุผล คล้าย kara แต่อ่อนกว่า เช่น doushite tabenai no? (ทำไมไม่กินเหรอ/ล่ะ) ก.sakki ie de tabeta kara desu. ข.sakki ie de tabeta no desu. ประโยคไหนก็ใช้ตอบได้ ความหมายเหมือนกันคือ เมื่อกี้กิน ที่บ้านแล้ว
๒. ใช้เพื่อสรุปความ อธิบายความ พบในประโยคยาวๆ นิยมใช้เป็นประโยคปิดท้ายย่อความนั้น น่าจะมีความหมายคล้ายๆ "จึง...นั่นเอง" "นั่นก็คือ...นั่นเอง" นิยมใช้คู่กับ dakara, tsumari
๓. ใช้เริ่มหัวข้อสนทนา kinou nakano-ku ni itta no. kinou nakano-ku ni ittan desu yo. จะใช้รูปมี โยะ หรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับความอยากเล่าและความ สนิท สองประโยคนี้ ถ้าพูดแล้ว คนฟังจะรู้สึกทันทีว่าเป็นการ เกริ่นเรื่องว่าไปนากาโนะมา แล้วเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น แต่ ถ้าพูดว่า "kinou nakano-ku ni itta." จะฟังดูแปร่งๆ เหมือน มารายงานให้ทราบว่าเมื่อวานไปนากาโนะมา (จบ) ฟังเหมือน หุ่นยนต์ หรือกำลังเล่าเรื่องเป็นฉากๆ เทียบกับภาษาไทยก็ เหมือนเวลาพูด "เมื่อวานไปนากาโนะมาล่ะ/นะ" ซึ่งเหมือน ผู้พูดอยากจะเล่ารายละเอียดมากขึ้น
ในด้านภาษาศาสตร์สังคม ดังที่คุณมายุมิบอก เนื่องจากผู้ชายนิยมใช้ -n da มากกว่า no เวลาเติม yo ไปท้ายประโยค จึงนิยมพูดเป็น -n da yo "oishii n da yo" ส่วนผู้หญิงนิยมละ "da" จึงพูด "oishii no yo" เป็นส่วนใหญ่ ถ้าผู้ชายพูดก็จะฟังเป็นกะเทยไป เพราะพบว่า สำนวนนี้ ดารากะเทยที่เป็นที่นิยมใช้กันมากจนกลายเริ่มกลาย เป็นภาษากะเทย แต่ก็เนื่องจากภาษาท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่น ต่างกันค่อนข้างมาก (เหมือนคำว่า "ชั้น" เนี่ยครับ ฟังดูเหมือน ผู้หญิงพูด แต่เวลาไปต่างจังหวัด ผู้ชายต่างจังหวัดก็นิยมใช้กัน แต่อาจจะออกเสียงชัดกว่า เป็น "ฉัน") ผู้ชายในท้องถิ่นบาง ท้องถิ่น หรือแม้แต่โตเกียวก็อาจจะใช้ no yo ได้เหมือนกัน ถ้ากลัวจะเข้าใจผิดก็เลี่ยงใช้ หรือถ้าอยากให้เข้าใจถูกก็ใช้
ปิดท้าย คำแสดงคำถาม+no? ปกติ no? ใช้ถามยืนยันสิ่งที่ผู้พูดเชื่อ แต่เวลาที่อยู่กับคำแสดง คำถาม จะเหมือนการถามกลับมากกว่า หรือถามเมื่อผู้พูดคิด อะไรพิเศษกับสิ่งนั้น A-san wa dare na no? คุณเอ คือใคร คุณเอ คือใครเหรอ (แล้วคนที่คุณพูดเป็นใครเหรอ) สังเกตุว่าจะเติมเหรอหรือไม่เติมความหมายไม่ค่อยต่างเพราะ เป็นรูปที่อยู่กับคำแสดงคำถาม sakki wa nan na no? อะไรเหรอ (เมื่อกี้ที่พูดคืออะไรกัน) ikura na no? เท่าไหร่เหรอ ต่างจาก ikura? เมื่อมีความรู้สึกสนใจราคาเป็นพิเศษ เช่น kono kaban takai yo. A.hee... ikura na no? โห เท่าไหร่เหรอ B.hee... ikura? โห เท่าไหร่
ด้วยความที่มันไม่แตกต่างกันมาก ทั้งการเติมno?ในภาษาญี่ปุ่น และ "เหรอ" ในภาษาไทย ในกรณีนี้จะใช้ไม่ใช้ก็ไม่ค่อยแตกต่าง แต่ถ้าใช้ จะมีความรู้สึกว่าผู้พูดสนใจกับคำถามมาก dou suru? ทำยังไง/ จะเอายังไง dou suru no? ทำยังไง/ จะเอายังไงเหรอ
เนื่องจากใช้เวลาถามกลับมาก "เหรอ" ตัวนี้แทนด้วย "ล่ะ"ใน ภาษาไทยได้
จากคุณ :
อ.ปมโปโกะ
- [
23 พ.ย. 49 20:21:55
]
|
|
|