Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    Financial Engineering กับคำถามที่คนสงสัย (2):จะเลือกมหาลัยอย่างไร

    ผมเอาเรื่องนี้ไปเก็บไว้ในบล็อกแล้ว แต่ขอโพสท์ลงห้องไกลบ้านอีกครั้งนะครับ
    -------------------------------------------------------------
    คุณcherryboyd สมาชิกพันทิปผู้ใจดีท่านหนึ่ง เคยเขียนภาคแรกไว้นานแล้ว ทีนี้คุณcherryboydเพิ่งเขียนภาคสองเสร์จ เลยฝากผมมาโพสท์ ส่วนตอนแรก ไปตามอ่านได้ที่

    ี่ http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=drbung&group=6

    นะครับ
    -------------------------------------------------------------

    สวัสดีครับ หลังจากลงตอนแรก ไปนานมาก ตอนนี้ก็พอมีเวลามาก เลยขอต่อ Financial Engineering ตอนที่2 นะครับ
    จะเริ่มต้นด้วยการไขข้อข้องใจ ที่คนชอบเข้าใจผิดอะไรหลายๆ นะครับ
    สาขาวิชา Financial Engineering: Financial Engineering เป็นชื่อที่นิยมที่สุด แต่จริงๆแล้ว บางมหาวิทยาลัยก็อาจจะเรียกชื่อต่างๆกันไปบ้าง เช่น Computational Finance, Mathematical Finance, Financial Mathematics ก็จะถือว่าเป็น Financial Engineering เหมือนกันนะครับ ตอนนี้เนี่ย ก็มีการใช้ชื่อที่เฉพาะทางเข้าไปอีก เช่น Applied Statistics and Financial Simulations  หรือ Risk Management ก็จะถือว่าเป็น Financial Engineering ได้เหมือนกันครับ แม้กระทั่งมหาวิทยาลัย เรียกว่า Financial Research แยกออกมาจาก Finance ปรกติ ก็อาจจะพอนับได้เหมือนกันครับ
    ต่อไปชี้แจงเพิ่มเติม เรื่องมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนเลยนะครับ
    1. บางมหาวิทยาลัย เปิดสอนในภาควิชา คณิตศาสตร์ หรือ สถิติศาสตร์ เช่น NYU หรือ USC หรือ U of Toronto หรือ OXFORD หรือ U of Chicago หรือ Imperial College (หรือ เปิดร่วมกับภาควิชาอื่นๆ แต่เน้นอาจารย์จากภาคนี้เป็นหลัก)
    2.บางมหาวิทยาลัย เปิดสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นหลัก ส่วนใหญ่ใน IE หรือ OR เช่น Columbia, Cornell,  U of Michigan เป็นต้น
    3. บางมหาวิทยาลัย ก็จะเปิดสอนในคณะที่เป็น MBA เป็นหลัก เช่น Berkeley, CMU, Cambridge (JBS) เป็นต้น ครับ
    ข้อแตกต่างที่ชัดเจนอย่างมาก คือ
    ความยากง่ายในการเข้าของคนแต่ละคน และ วิชาที่เรียนครับ
    เช่น มหาวิทยาลัยที่เปิดจากภาคคณิตศาสตร์ แน่นอนครับว่า คนที่เขารับ ก็จะมองคนที่เรียนป.ตรีทางด้านคณิตศาสตร์มาโดยตรง หรือ มองว่า เด็กที่รับ ต้องมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่แข็งมาก มากพอที่จะไม่ต้องมาเรียนวิชาเลขพื้นฐานเพิ่มเติมอีก อาจจะให้ส่งคะแนนGRE subject test Math หรือเขียนเตือนไว้เลยว่าเหมาะสำหรับ นักเรียนสายMathที่อยากทำงานFinance ไม่มีวิชาพวก Prob/Stat, Calculus เป็นวิชาให้เลือกเรียนในเทอมแรกๆ  ดังนั้น ใครที่ไม่ได้เรียนมาโดยตรง หรือ ไม่ได้เรียนวิศวไฟฟ้า หรือ เอกฟิสิกส์มา อาจจะยากในการสมัครเรียนครับ แต่ไม่ได้บอกว่า ถ้าไม่ได้เรียนพวกนี้มา จะไม่มีทางสมัครได้ หรือ เขาจะไม่รับนะครับ  
    มหาวิทยาลัยที่เปิดจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ แน่นอนครับว่า เด็กจบวิศวกรรมมาก็อาจจะง่ายหน่อย โดยเฉพาะจบ IE/OR ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เคมี หรือว่า ทางEconomics ก็จะเห็นได้ทั่วไป นอกจากนี้ การที่เราเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็จะรู้สึกคุ้นเคยกว่า บรรยากาศก็อาจจะไม่เครียดเท่าเรียนในตึกคณิตศาสตร์ หรือ ไม่แพงเท่าเรียนในคณะMBA แนวในการเรียนก็ไม่ต่างกันมากนัก อาจจะโดนบังคับให้เรียนวิชาสาย OR/IE เป็นพื้นฐานมากกว่าปรกติ เพราะอาจารย์เขาอยากสอน หรือ อาจารย์ชำนาญ ก็จะได้เรียนเยอะหน่อย
    ส่วนมหาวิทยาลัยที่เปิดใน MBA School อย่างแรกเลยคือ อาจจะใช้ GMAT/GRE ได้ ค่าเทอมแพง วิชาที่เรียนอาจจะไม่เน้นคณิตศาสตร์มากนัก ประสบการณ์ในการทำงานอาจจะมีผลในการตัดสินใจ และ อาจจะมี Benefit ดีๆหลายๆอย่างเช่น เครือข่ายศิษย์เก่า วิชาทางสายบริหารที่อาจจะได้เรียนมาบ้าง

    แก้ไขเมื่อ 03 ก.ค. 51 06:07:48

    จากคุณ : B Oprysk - [ 3 ก.ค. 51 05:58:19 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom