Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    FAQ ฉบับมาเรียน อเมริกา ตอนที่ 1

    บทที่ 1 รู้ไว้ใช่ว่า
    เริ่มบทแรกกันด้วย สิ่งที่เข้าใจกันเล็กน้อย (แหมจริงๆก็ไม่เล็กน้อยนะ) ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เงินๆ ทองๆ เอย เรื่องวีซ่า ไม่รู้อะไรต่ออะไรเต็มไปหมด อย่างเช่น ไม่รู้จะขอวีซ่าแบบไหนกัน ประเภทไหน ขออย่างไร ที่ใด ติดต่อใคร แล้วไหนจะเรื่อง อาหารการกิน การอยู่ เฮ้อ พูดแล้ว เริ่ม เหนื่อย อะ อะ แต่ว่าอย่าท้อครับ อนาคตที่สดใส รอเราอยู่ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเหร็จก็ นะ อยู่ที่นั่น
    เอาละ เมื่อเราจะพยายามแล้ว จะไปเรียน ทั้งทีก็ต้อง เตรียมข้อมูล หาตำหรับตำรา มานั่งอ่านซะหน่อย ก็อย่างโบราณท่านว่า รู้เขา รู้เรา รบ ร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง เอาสิน่า งั้นเราเริ่มกันเลยดีกว่าครับ กับ “รู้ไว้ใช่ว่า” ไม่ใช่ใส่บ่าแบกหามนะครับผม

    ก่อนอื่น เรามาดูนิยามนี้กันก่อน ที่ว่า “แม้เงินจะซื้อทุกอย่างในโลกไม่ได้ แต่ก็เกือบทุกอย่างละนะ” (แต่เอ้ ไม่รู้มันเกี่ยวอะไรกันนะครับนี่) เอาเป็นว่าเรามาเข้าใจเรื่องเงิน ๆ ทองๆ (currency) กันสักหน่อย
    เงินที่ประเทศอเมริกา (United States of America: http://en.wikipedia.org/wiki/U.S._state) มีหน่วยเป็น US dollar (ยูเอส ดอลล่าห์) นะครับ บางคนงง ทำไมต้องเเรียกว่า “US” dollar เพราะว่ายังมีสกุลเงินประเทศอื่นเป็น dollar อีกเช่นเดียวกัน เช่น ประเทศสิงค์โปร์ ดอลล่าห์ (Singapore dollar) การเขียนย่อจะใช้เครื่องหมาย “$” นำหน้า เช่น $1 เท่ากับ 1 dollar หรือ $1 เท่ากับ 100 เซ็นต์ (cents) ครับ (ถ้าจะเปรียบเทียบให้ง่ายก็คิดซะว่าเหมือนกับ เงินหนึ่งบาท มีหนึ่งร้อยสตางค์ครับ แหะๆ แต่ค่าเงินต่างกันมากมายครับ มีขึ้นมีลง ตั้งแต่ เมื่อก่อน 25 บาท ต่อ 1 dollar จนกระทั่งมีวิกฤต์ 40 ถึง 50 บาท แล้วช่วงนี้ ก็ขึ้นๆ ลงๆ อยู่ที่ 34-35 บาท [January 2009]) โดยปกติแล้ว เงินหมุนเวียน (currency) ในประเทศอเมริกาประกอบไปด้วย เงินเหรียญ (coin) และ ธนบัตร (paper money) ประเภทเหรียญมี 5 ประเภทประกอบไปด้วยเหรียญ 1 cent (penny หรือ เพนนี), 5 cents (nickel หรือ นิกเกิ้ล), 10 cents (dime หรือ ไดม์), 25 cents (quarter หรือ ควอเตอร์), และ 100 cents หรือ 1 dollar และประเภทธนบัตรซึ่งประกอบไปด้วย $1, $2, $5, $10, $20, $50, และ $100 สุดแล้วแต่จะเลือกใช้นะครับ

    ขอพูดเรื่องเหรียญสักนิดหนึ่ง โดยส่วนใหญ่เวลาใช้จ่ายมักจะใช้เป็นเหรียญ quater เช่น จ่ายค่าที่จอดรถ (คิดเป็นนาทีๆ นะครับ เช่น สามสิบนาที 25 เซ็นต์ ต้องดูสักนิดนะครับ สูงสุดเค้าให้จอดกี่นาทีหรือชั่วโมง ไม่งั้นจะเสียเงินเปล่า และอีกเรื่องหนึ่งก็ ดูด้วยครับว่า จอดวันธรรมดาตอนเย็นหรือเสาร์อาทิตย์ฟรีหรือไม่ หยอดไปเถอะนะครับ ไม่คุ้มกับค่าปรับ (parking fee) ที่จะต้องเสีย และความยุ่งยากอีก) หรือใช้โทรศัพท์ตู้สาธารณะ (อย่างต่ำก็ 50 เซ็นต์ หรือสองเหรียญ) เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ก็พกเหรียญ quarter ไว้นะครับเผื่อๆ ไว้ อุ่นใจ ถึงเวลาขับขันไม่ต้องวิ่งไปแลกเหรียญ “Can I make a change?“ (ส่วนเพิ่มเติม (note that) ถึงแม้ว่าบางที่จะมีเครื่องแลกเหรียญ จากธนบัตรเป็นเหรียญ quarter แต่ก็มีเฉพาะบางจุดใหญ่ๆ เท่านั้น)

    โดยส่วนตัวขอเพิ่มเติมเรื่องเหรียญ quarter สักนิด ก็คือเรื่องของการสะสม เพราะถ้าสังเกตุดีๆจะเห็นได้ว่า แต่ละเหรียญจะมีรูปสลักที่แตกต่างกันตามแต่ละรัฐ (นอกเหนือจากเหรียญที่ผลิตขึ้นมาตามแต่ละโอกาส หรือโดยมาตรฐานที่เป็นรูปนกอินทรีย์หัวล้าน (bald eagle) ที่เป็นสัญญลักษณ์ของประเทศอเมริกานะครับ) เพื่อนผมคนหนึ่งกำลังสะสมเหรีญอยู่ แต่ทำอย่างไร้ก็ไม่ได้ครบ 50 รัฐถ้วนสักกะที ส่วนตัวผมเองเพิ่งเริ่มสะสมแหมเราก็เห็นว่าสวยเหมือนกันนะ แปลกดี (ที่สำคัญถูก) กะว่าจะสะสมกับเค้าสักหน่อย ตอนนี้ได้เพิ่งได้ 20 กว่ารัฐครับ ไม่นานเกินรอ ครบก่อนกลับเมืองไทยแน่นอน ไม่รู้ว่าข่าวดีหรือเปล่าว่า เมื่อปีที่แล้ว รัฐสุดท้าย (Hawaii ฮาวาย) เพิ่งจะออกมา เพราะฉะนั้นก็ครบถ้วย 50 รัฐพอดี เท่าที่ทราบๆ มาตัวเหรียญเองก็แบ่งออกเป็น 3 ประเภทอีกนะครับว่าจะผลิตที่ใด (mint) อย่างเช่น ถ้าทำที่ ฟิลาเดเฟีย (philadelphia เมืองสำคัญเมืองหนึ่งในรัฐเพนซิลวาเนียของอเมริกา) จะมีตัวย่อว่า P นะครับ ในกรณีที่เพื่อนๆบางคนอยากสะสม ก็แนะนำครับ ไปที่ตู้แลกเงิน ธนบัตรเป็น เหรียญ แล้วก็ แลกที่ $20 ได้เหรียญเยอะเลยครับ แล้วก็นำเหรียญที่ซ้ำไปกดตู้ ซื้อขนมหรือน้ำอัดลม (vending machine) หรือตาม public landry (ร้านซักเสื้อผ้า อบผ้าสาธารนะ คล้ายๆ กับหยอดตู้บ้านเรานะครับ แต่ดูเป็นจิงเป็นจัง) แต่ไม่ต้องซื้อนะครับ แค่ทำเหมือนซื้อ แล้วกดคืน แค่นี้ก็ได้เหรียญที่แตกต่างแล้วครับ วิธีนี้ เพื่อนผมทำ ประจำ (ผมก็ช่วยกดอยู่เหมือนกัน) ถือว่าเป็นการฝึกความพยายามอย่างหนึ่ง ส่วนกรณีที่ ขี้เกียจสุดๆ นะ ก็ ดูโทรทัศน์ชอง ขายของครับ คล้ายๆ กับ โอว จอร์จ สุดยอด คล้ายๆ กับเมืองไทยอะครับ ที่นี่ก็มี ซื้อทางทีวีก็ได้ครับ ครบชุดเลย แล้วสนนราคาก็แพงนะครับ

    ส่วนเรื่องธนบัตรมีข้อควรระวังนะครับ คือต้องระมัดระวังธนบัตรปลอม ปกติตามร้านต่างๆจะมีปากกาตรวจสอบธนบัตรปลอม เช่นปากกาสีเหลือง ถ้าขีดแล้วสีเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน หรือปากกาสีดำ ขีดแล้วสีก็จางหาย ถ้าเป็นอย่างนั้นแน่นอนครับ “แน่นอน ปลอม (absolutely fake) ไม่มั่วนิ่ม” ย้ำอีกครั้งอันนี้ต้องระวังครับเพราะตัวผมเองก็เคยเจอมากับตัวเองแล้ว ได้ธนบัตร $100 ปลอมมาไปซื้ออาหารจีน (chinese food) โชคดีของผม แต่เอหรือโชคร้ายของร้านก็ไม่ทราบ ที่เมื่อผมจ่ายเงินแล้วทางร้านไม่ได้ตรวสอบก่อน โดยความซื่อสัตย์ (honestly) เลยครับ ผมเองก็ไม่ทราบมาก่อนเหมือนกัน พอได้เงินทอน (change) ก็กลับบ้านทันที อีกวันหนึ่ง โรคอยากทานอาหารจีนกำเริบ (ที่สำคัญกว่านั้นครับ อาหารถูกครับเมื่อเทียบกับอาหารประเภทอื่น เช่น จานหนึ่งก็ $4.75 ถ้าเป็นอาหารไทยก็ $7 งบน้อยประหยัดครับ) เลยกลับไปซื้อข้าวผัดกุ้ง (shrimp fried rice) ที่ร้านเดิมอีกทางร้านบอกเอาว่าจะเอาเงินคืน อ้าวแหมได้ไง เราเองไม่รู้เรื่อง (innocent) ไม่รู้ไม่ชี้ ไม่มีหลักฐานครับ (no evident) แต่สุดท้ายก็สรุปว่า ผมรบกวนให้เพื่อนคนไต้หวัน (Taiwanese) ไปคุยแทน (on my behalf) เพราะผมได้ธนบัตรนั้นมาจากคนไต้หวัน ตอนนี้เลยไม่รู้ว่าเป็นอย่างไรบ้างแต่ในใจผมคิดว่า คงจะไม่มีวันได้เงินคืนหรอกครับ เพราะไม่มีใครสามารถรับประกัน (guarantee) ได้ว่าเงินนั้นมาจากจากใคร ตอนไหน เมื่อไหร่ แหมแต่ผมเอง (ด้วยความที่เป็นคนดี “นะ”) ก็เกือบเอาเงินไปคืนซะแล้ว ระหว่าเหตุการณ์นั้นมันเบลอๆ ไม่เคยเจอเงินปลอม แล้วก็ที่สำคัญก็เล่นบอกผมว่าจะบอกให้ตำรวจ (policeman) มาคุย เราเองก็ไม่อยากมีเรื่องที่เมืองนอก หัวเดียวกระเที่ยมลีบ เพิ่งมาเรียนเป็นแค่นักเรียนตาดำๆ (ไม่สิ น้ำตาล) จะมีอะไรไปต่อรอง (negotiate) แต่เอ้เงินมันก็เยอะอยู่นา (ช่วงนั้น $100 ก็ประมาณ 4000 บาทครับ โหเอาเรื่องอยู่) เอาละคิดไปคิดมา สุดท้ายไม่มีหลักฐานยืนยัน แล้วจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าที่ร้านพูดจริง เฮ้อปล่อยไปแล้วกันให้คนจีนกับไต้หวันตกลงกันเองก็แล้วกัน เราคนไทย (Thais) ฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง “เชี่ยะๆ” (ภาษาจีน แปลว่าขอบคุณ)

     
     

    จากคุณ : Cheyah - [ 31 ม.ค. 52 16:13:49 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com