 |
ความคิดเห็นที่ 9 |
คำว่า ไทย ที่เขียนมี ย มาจากคำว่า ไท ไม่มี ย โดยมีหลักฐาน จากจารึกสุโขทัย หลักแรก เช่น หลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามฯ ไท ไม่มี ย และแม้กระทั่งคำว่า สุโขไท ก็ไม่มี ย หลังจากนั้นอีกประมาณ ๑๐๐ ปี จึงเขียนว่า ไทย มี ย ยักษ์ เพราะเขียน ตามแบบบาลี สันสกฤต ที่ได้จากสงฆ์ศึกษาจากลังกา ให้ดูขลังขึ้น Penth Hans ก็พบอักษรพื้นเมืองล้านนาของปี คศ 1370 เขียนว่า ไท ไม่มี ย แล้วอีก ๑๔๐ ปีต่อมาก็เขียนก็ใช้ ไทย มี ย เรื่อยมา คำว่า ไท แปลว่า คน ก็ได้ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ ก็ได้ เหมือนกับ คำว่า ไทย เช่นคำว่า ไทยบ้านนอก แปลว่า คนบ้านนอก ไทยใจแทตย์ จาก มหาชาติคำหลวง ก็แปล่ว่า คนใจยักษ์ เป็นต้น Simon de La Loubere, a French envoy to Ayutthaya in 1687 wrote in his " A New Historical Relation of the Kingdom of Siam ( 1693, p 6-7) that " The name of Siam is unknown to the Siamese…..The Siamese give to themselves the name of Tai or Free .....And those that understand the Language of Pegu, affirm that Siam in that Tongue signifies Free.....In a word, the Siamese, of whom I treat, do call themselves Tai Noi" Dr.Engelbert Kaempfer who once became secretary of an Embassy from King of Sweden to the King of Persia and later joined the Dutch East India Company then travelling throufg Far East and stayed in Japan for 2 years then returned to Europe in 1693. In his book " The History of Japan ", he wrote..."The Kingdom of Siam is by the Natives called Muan Thai, which is as much as to say, the Land Thai. ก็แสดงว่า ไม่มีใครเรียกตนเองว่า สยาม แล้วยังเรียกบ้านเมืองของตนเองว่า เมืองไทย ซะอีก สยาม เป็นคำที่คนต่างขาติใช้เรียก แต่ไหนแต่ไร เราไม่เคยเรียกตนเองหรือประเทศว่า สยาม ขนาดในสนธิสัญญา กับต่างประเทศ และ พศ 2375 ในสมัยต้น ร 3 เขาก็เรียกเราว่า กรุงสยาม แต่ ร 3 เรียกตนเองว่า กษัตริย์แห่ง กรุงพระมหานครศรีอยุธยา แต่ชาวต่างประเทศใช้คำว่า สยาม อยู่
จากคุณ |
:
ธนิตา
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ก.ค. 52 05:01:02
|
|
|
|
 |