 |
ความคิดเห็นที่ 11 |
เรื่องสนุก ๆ น่ารู้เกี่ยวกับ " สถานทูต " มีมากมาย ขอเข้ามาร่วมด้วย ดังนี้
1. คำว่า " สถานทูต " สะกดอย่างนี้ ตามแบบของกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลไทย ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือใช้ตัว ท ทหาร " สถานเอกอัครราชทูต " กรมพิธีการทูต " " นักการทูต " ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
2. คำถามเกี่ยวกับ " คนทำงานในสถานทูต เรียนจบอะไรมา ?? เห็นพูดอังกฤษสำเนียงดี "
ขอตอบดังนี้ :-
2.1 " คนทำงานสถานทูต" แยกได้เป็น 2 ประเภท คือ คนที่ทำงานที่สถานทูตไทยในต่างประเทศ หรือ คนที่ทำงานที่สถานทูตต่างประเทศในประเทศไทย
มีหลักการดังนี้
*** ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นสถานทูตประเภทไหนก็ตาม คนที่ทำงานในสถานทูตนานาชาติทั้งหลายทั่วโลก ก็สามารถแยกได้อีกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1. เจ้าหน้าที่การทูตตัวจริงของคนชาตินั้น ๆ เช่น ในสถานทูตอเมริกันที่ถนนวิทยุ กทม. มีเจ้าหน้าที่การทูต คือคนสัญชาติอเมริกันที่ถูกส่งมาจากสหรัฐอเมริกาปฎิบัติหน้าที่เป็นหลัก ได้แก่ตัวท่านเอกอัครราชทูตสหรัฐ ฯ ลงมาถึงเลขานุการตรี เขาเหล่านี้มาประจำการในประเทศไทยชั่วคราวโดยมีกำหนดกลับ อาจเป็น 3 ปี หรือ 4 ปี ก็ต้องสลับหมุนเวียนย้ายไปที่อื่น ประเทศอื่น
ประเภทที่ 2. คือพนักงานท้องถิ่น หรือลูกจ้างท้องถิ่น ที่เรียกว่า local staff เช่น ในสถานทูตอเมริกันที่ถนนวิทยุ กทม. มี local staff เป็นจำนวนมาก มากเสียกว่าตัวเจ้าหน้าที่การทูตคนอเมริกันเสียอีก เขาเหล่านี้เป็นลูกจ้างสถานทูตแห่งนี้ไปตลอดไปจนกว่าจะลาออกเอง หรือเกษียณอายุ หรือนายจ้างให้ออกจากงาน
local staff เหล่านี้ คือคนท้องถิ่นในประเทศไทย ที่สถานทูตอเมริกัน (หรือสถานทูตอื่นๆ ) " จ้าง" ให้มาทำงานในสถานทูต ในตำแหน่ง " ลูกจ้างท้องถิ่น " เพื่อช่วยเหลืองานสถานทูตในด้านต่างๆ ได้แก่
คนขับรถยนต์ คนทำสวน ร.ป.ภ. เสมียนพิมพ์งานและงานสารบรรณ เลขานุการของเจ้าหน้าที่การทูตฝรั่งระดับสูง แม่ครัว นักวิเคราะห์การตลาด พนักงานรับใช้ทั่วไป ช่างไฟฟ้า พนักงานทำความสะอาด ผู้ทำหน้าที่คอยรับเรื่องขอวีซ่าตามช่องต่างๆที่อยู่ด้านหน้าของแผนกกงสุลริมถนนวิทยุ กทม. ฯลฯ
อัตราการจ้าง ถูกแพง ลดหลั่นกันไปตามตำแหน่งงานและความรู้ความสามารถ
สำหรับลูกจ้างคนไทยตำแหน่งเลขาฯฝรั่ง หรือพนักงานที่ทำหน้าที่รับเรื่องขอวีซ่าตามช่องต่าง ๆ ของแผนกกงสุล นั้น นายจ้างเน้นรับคนที่พูดภาษาอังกฤษได้ อ่านได้ เขียนได้ พูดได้ จึงมีคนไทยที่เรียนจบปริญญาตรี ปริญญาโทสาขาใดก็ได้ไปสมัครกันเยอะ (จบปริญญาจากต่างประเทศก็มีไปสมัครกันไม่น้อย) งานหนัก รับผิดชอบมาก แต่เงินเดือนก็ย่อมได้สูงตาม ทราบว่าอัตราแรกเข้าของลูกจ้างประเภทนี้ของสถานทูตอเมริกัน เริ่มต้นตกประมาณไม่ต่ำกว่า 18,000 บาท ( ประมาณ 500 กว่า US Dollar )
พวกเขาจะได้รับสวัสดิการตามกฎหมายแรงงานทั่วไป แต่ลูกจ้างเหล่านี้มิได้รับ หรือมีเอกสิทธิทางการทูตเช่นเจ้าหน้าที่การทูตฝรั่งตัวจริง ( non - Diplomatic priviledge and immunity )ตาม Vienna Convention เช่น ซื้อรถยนต์ก็ต้องเสียภาษีเต็มที่ หรือหากทำความผิดอาญาใด ๆ ก็จะถูกตำรวจจับกุมคุมขังได้ เพราะเขาเป็นคนไทยท้องถิ่นทั่วไป มิใช่ " นักการทูต Diplomat ดังนั้น คนไทยที่ทำงานในสถานทูตของชาติต่างๆ ตามที่ท่านเจ้าของกระทู้ถามมาตามกระทู้ ที่เราสามารถพบเห็นตามสถานทูตต่างชาติทั่วไปในประเทศไทย เช่น ที่สถานทูตอเมริกัน ถนนวิทยุ สถานทูตอังกฤษ สถานทูตเยอรมัน สาธร ฯลฯ ในกทม. ทั้งหลาย ก็คือคนไทยที่เป็นลูกจ้างท้องถิ่น local staff ทั้งสิ้น ดังที่ได้อธิบายมาข้างบนแล้ว นั่นเอง
ส่วนใหญ่เขาเปิดรับสมัครลูกจ้างสถานทูต ตามสถานทูตต่างๆทั่วกรุงเทพ นั้น มักจะไม่ค่อยเป็นข่าว คนภายในจะรู้กันเอง เขากำหนดรับวุฒิความรู้แตกต่างกันไป สำหรับลูกจ้างที่สถานทูตต่างชาติที่ทำหน้าที่เป็นเลขาฯนายฝรั่ง หรือที่นั่งรับเรื่องราวขอวีซ่าตามช่องหน้าต่างในแผนกกงสุลของสถานทูตต่างๆ นั้น เขารับผู้จบปริญญาตรีขึ้นไป สาขาใดก็ได้ ไม่มีจำกัด ผ่านสอบข้อเขียน ผ่านสัมภาษณ์ได้ ก็ได้ทำงาน ที่เห็นๆ ว่าคนไทยลูกจ้างสถานทูตเหล่านี้บางคนพูดภาษาอังกฤษได้เพราะดี ก็เพราะมีหลายท่านที่ได้ไปเรียนจบระดับปริญญาจากต่างประเทศมา นั่นเอง
*** ในทำนองกลับกัน (หรือในทำนองเดียวกัน) สถานทูตไทยในต่างประเทศทุกประเทศ ก็มีอัตราจ้าง ลูกจ้างท้องถิ่น local staff เช่นกัน เช่นสถานทูตไทยในกรุงนิวเดลี อินเดีย ก็จ้างคนอินเดียมาทำงานรับเรื่องขอวีซ่า หรือเป็นล่าม หรือเป็นพนักงานรับใช้ทั่วไป แต่สถานทูตไทยหลายแห่งหากอยู่ในเมืองที่มีคนไทยอาศัยอยู่มาก ก็มักจะรับคนไทยเข้าทำงานเป็นลูกจ้างปนกับคนพื้นเมือง (คนไทยพูดภาษาเดียวกันฟังง่ายกว่า)
3. ส่วนตำแหน่ง " นักการทูตอาชีพ" หรือ Diplomatic Career ที่ประจำอยู่ตามสถานทูตไทยในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่ทุกคนต่างมีจุดมุ่งหมายปลายทางคือ ได้รับพระบรมราชโองการ ฯ แต่งตั้งให้เป็น ฯพณฯ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศต่างๆ ซึ่งในภาคภาษาอังกฤษเขียนว่า H.E. Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary ซึ่งคนสัญชาติไทยเราสามารถเป็นกันได้ทุกคน ถ้ามีความสามารถ (ห้ามคนต่างชาติเป็น) นั้น คือต้องเริ่มต้นไปสมัครเข้ารับราชการในตำแหน่ง " นักการทูตปฎิบัติการ " ที่กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา กทม. เสียก่อน
ปัจจุบันนี้เขากำลังเปิดรับสมัครอยู่จนถึงวันที่ 11 กันยายน ศกนี้
วุฒิที่เปิดรับ ตั้งแต่ปริญญาตรี และปริญญาโท
สาขาที่เปิดรับ รับสายศิลปทั่วไปทุกสาขา ไม่จำเป็นต้องจบรัฐศาสตร์สาขาการทูตแต่อย่างใด ไม่จำเป็นจริง ๆ กรุณาทำความเข้าใจเสียใหม่ให้ถูกต้องด้วย
จบจากอักษร ฯ ครุฯ นิเทศก์ ฯ เศรษฐฯ นิติฯ บัญชี ฯ สังคมฯ บริหารธุรกิจ ฯลฯ ก็เห็นเป็น " ท่านทูต " ในปัจจุบันกันได้มากมายตัวอย่างที่เห็นๆ ตามสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 60 ประเทศ
หากท่านสนใจเรื่อง "อาชีพนักการทูต หรือนักการทูตอาชีพ " ในแง่มุมต่างๆ รวมทั้งการสอบเข้าทำงาน กรุณาดูรายละเอียดต่อได้ที่กระทู้ถามก่อนหน้านี้ไม่นานนัก
http://www.pantip.com/cafe/klaibann/topic/H8241995/H8241995.html " มีใครทราบวันสอบเจ้าหน้าที่การทูต......" และ
http://www.pantip.com/cafe/klaibann/topic/H8240200/H8240200.html " ตำแหน่งเลขานุการตรี โท เอก ในสถานทูต......."
ซึ่งจะมีคำตอบแสดงรายละเอียดเกียวกับ การทูต และการกงสุล ของกระทรวงการต่างประเทศมากมาย
หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านที่สนใจ
แก้ไขเมื่อ 26 ส.ค. 52 15:24:32
แก้ไขเมื่อ 26 ส.ค. 52 14:51:26
จากคุณ |
:
นักการทูตฝึกหัดปี 1 (Detente)
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ส.ค. 52 12:19:57
|
|
|
|
 |