 |
ความคิดเห็นที่ 3 |
เรียน คุณเจ้าของกระทู้ อีกครั้งหนึ่ง
ต่อคำถามที่ว่า "...... ทำไมการสอบวันที่สอง จะมีผู้เข้าสอบเหลือไม่ถึงครึ่งหนึ่งของวันแรก ????? เป็นเพราะอะไร ????? "
คำตอบที่ สั้น และชัดเจนที่สุด คือ " ก็มัน ยาก น่ะ "
หากจะถามต่อว่า " มัน ยากอย่างไร ? ยากแค่ไหน? " ก็เป็นคำถามที่มีคุณค่าสำหรับผู้สนใจเข้าสอบทำงานในงานในตำแหน่งนักการทูต ดีมาก
จึงขออธิบายดังนี้
1. เนื่องจากกระทรวงการต่างประเทศต้องการ " ผู้มีความรู้ " ขนานแท้ ไม่ว่าจะต้องรู้เรื่องการเมืองระหว่างประเทศเป็นอย่างดี ต้องรู้เรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นอย่างดี ฯลฯ แล้ว นักการทูตยังจะต้องเก่ง " ภาษาต่างประเทศ " อีกด้วย ก็ชื่อบอกอยู่แล้วว่า กระทรวงการต่างประเทศ
พื้นฐานคือทุกคนต้องรู้ภาษาอังกฤษในระดับ " ใช้งานได้ดี " และหากใครรู้ภาษาอื่นๆ อีก ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อตัวเขาเองและต่อประเทศชาติของเราในที่สุด
ก็จะได้ " รู้เขา " (ทุกอย่างของชาติอื่นๆ ) ได้เร็วขึ้นไงล่ะ
และแน่นอน ในการสอบแข่งขันนักการทูตในแต่ละครั้ง จะมีผู้สมัครที่เป็น " ผู้ทรงภูมิรู้ " ขนานแท้ ของจริง มาสมัครสอบกันทุกปี โดยเฉพาะคนเก่งภาษาต่างๆ ไม่ว่าภาษาอังกฤษ หรือภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย จีน ฯลฯ
เขาเหล่านี้ " เก่ง" แค่ไหน และเขาเป็นใคร เพราะอะไรจึงเก่ง ?
ตอบว่า เขาพวกนี้ คือ
1. 1. ตั้งแต่เด็กเล็ก เขาเรียนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษมาตลอด ก็เพราะต้องติดตาม พ่อ - แม่ ซึ่งเป็นคณะทูตไทยไปอยู่ต่างประเทศบ่อยๆ เมื่อมาอยู่เมืองไทย ก็เข้าเรียนที่โรงเรียน " อินเตอร์ " ของกระทรวง ฯ คือโรงเรียน " ร่วมฤดีวิเทศศึกษา " จนกระทั่งระดับปริญญาตรี หรือโทก็จบจากต่างประเทศ
1.2 อีกประเภทหนึ่ง พวกนี้ถึงแม้เขาจะไม่ได้มีพ่อ-แม่เป็นนักการทูตไทยให้ต้องได้ติดตามไปต่างประเทศตลอดแบบประเภทที่ 1. แต่เขาคือคนไทยที่ขยัน หมั่นเพียรศึกษาสุด ๆ ไม่ว่าจะเรียนเศรษฐศาสตร์ นิติ ฯ หรืออักษร หรือรัฐศาสตร์ ฯลฯ ก็ได้เกียรตินิยม หรือจะเรียนสาขาใดก็เรียนได้ดี ดี ดี ทั้งสิ้น อีกทั้งยังเก่งภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ อีกด้วย ด้วยการไม่ปล่อยเวลาว่าง เขาเรียนหาความรู้ในสาขาวิทยาการอื่นๆ ไปตลอด ตอนเรียนปริญญาตรี หรือโท อาจขวนขวายไปเรียนต่อต่างประเทศจนจบ
1.2 ในการสอบนักการทูตทุกครั้ง กระทรวง ฯ จึงไม่ออกข้อสอบประเภท " ง่าย ๆ " " หมู ๆ " มาให้ผู้สมัครสอบทำแน่นอน เพราะรู้ว่ามีคนเก่งๆ มาสอบกันมาก จึงต้องออกข้อสอบให้มัน " ยาก ๆ " เข้าไว้ เพื่อให้เป็นการ " ตัดเชือก " หรือ knockout กันชัดเจน อย่างที่เรียกกันว่า ใครดี ใครอยู่ หรือใครเก่งจริงๆคนนั้นก็เอาไปกิน ( ไม่งั้นจะตรวจข้อสอบลำบาก )
2. ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ข้อสอบภาษาอังกฤษ ( รวมทั้งข้อสอบภาษาต่างประเทศอื่นๆ ) จะเป็นการออกข้อสอบแบบชนิดเอางานที่ต้องทำกันจริงๆ ในสถานทูต มาให้ทำกันเลย
เช่น อาจมีข้อสอบเรียงความภาษาอังกฤษ ออกมาว่า " สมมุตว่าท่านเป็นนักการทูตในประเทศหนึ่ง ที่ต้องแสดงสุนทรพจน์ให้แขกผู้มีเกียรติต่างประเทศฟังเนื่องในงานเฉลิมพระชนม์พรรษา 5 ธันวาคม ณ สถานทูตที่ท่านประจำการอยู่ จึงขอให้ท่านร่างสุนทรพจน์ ( speech ) ที่ท่านต้องขึ้นพูดเป็นภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราที่มีต่อคนไทยตลอดระยะเวลาแห่งการของราชย์ "
ความยาวสุนทรพจน์ 20 นาที
นี่แหละคือตัวอย่างหนึ่งของข้อสอบภาษาอังกฤษ แต่นับว่ายังดีนะที่กรรมการสอบไม่ออกข้อสอบ ว่า " ให้ท่านร่างคำแถลงการณ์ในฐานะหัวหน้าผู้แทนไทยที่เข้าร่วมประชุมสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ค ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีจะต้องขึ้นพูดใน G.A. ในการประชุม UN ปีนี้ "
หมายเหตุ : ข้อสอบประเภทนี้เคยออกมาแล้วมากกว่า 2- 3 ครั้ง
3. ก็กระทรวงการต่างประเทศเล่นเอา " ของจริง " มาออกข้อสอบอย่างนี้นี่เอง ดังนั้นจึงมีปรากฎการณ์ธรรมชาติแบบปกติธรรมดา ๆ ในทุกครั้งที่มีการสอบ กล่าวคือ พอถึงการสอบในวันที่สอง โดยเฉพาะช่วงสุดท้าย คือช่วงบ่าย หลังจากได้ผ่านการสอบภาษาต่างประเทศมาแล้วในช่วงเช้า ผู้สมัครสอบที่มี " ความรู้สึกไว " จึงไม่ยอมไปนั่งสอบต่อในตอนบ่ายของวันที่สองให้เสียเวลาและเสียพลังงาน
4. อยากจะให้ตัวอย่างคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่มีที่ใช้บ่อยครั้งสำหรับการสอบในระดับนี้ (ทั้งที่เป็นโจทก์มาให้เราต้องทำ-ต้องแปล และที่เราควรจะใช้ในการแปลไทยเป็นอังกฤษ หรือในการบรรยายคำตอบด้วย) ซึ่งเป็นคำศัพท์เกี่ยวกับงานในกระทรวงการต่างประเทศทั้งสิ้น จะยกมาให้ท่านดู เป็นตัวอย่างสักเล็กน้อย
joint communique, watershed, talweg , statement ( สี่คำนี้ใช้บ่อยในกรณีพิพาทกับกัมพูชาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน)
coalition government, shadow cabinet, hinterland , landlocked country, joint development area ( JDA), tax evasion, market sentiment, intimidation campaign, presidential ballot, regulatory arbitrage, divergence, insurgents, a royal state visit.
ลองดูนะ และขอแนะนำว่า หากท่านสามารถใช้คำเหล่านี้ใส่ลงในคำตอบ-คำบรรยายของท่านได้ รับรองว่ากรรมการตรวจข้อสอบจะรู้ทันที่ว่าท่านมีความรู้ในภาษาอังกฤษขนาดไหน ซึ่งจะให้คะแนนท่านดีแน่นอน ( แต่การผูกประโยค เนื้อเรื่อง และไวยากรณ์ต้องดีด้วยนะ)
และทั้งนี้ หากท่าน " รู้ความหมาย รู้คำแปล " เป็นภาษาไทยของคำศัพท์เหล่านี้โดยไม่ต้องเปิด dictionary เชื่อว่าท่านมีความสามารถพอที่จะแข่งขันการสอบครั้งนี้ชนะผู้อื่นได้ ( แต่วิชาอื่นๆ ต้องดีด้วยนะ)
แต่ที่สำคัญ ผู้เข้าสอบทั้ง 2 ประเภทตามข้อ 1 . ข้างบนนั้น เขาทราบคำศัพท์เหล่านี้และทำได้แน่นอน ( รวมทั้งคุณ genf และสมาชิกอีกหลายท่านในห้องไกลบ้านนี้ด้วย)
ขอเอาใจช่วยให้ท่านติดอยู่ในกลุ่มคนพวกเหล่านี้ ซึ่งจะเป็นผู้สอบเข้าได้
5. งานทุกอย่าง งานทุกประเภท หากเรารัก ก็เป็นงานที่สนุก งานการทูต ก็เป็นงานหนึ่งในจำนวนงานอาชีพทั้งหลายที่มีความสนุกในตัวของมันเอง
แก้ไขเมื่อ 18 ก.ย. 52 22:38:11
แก้ไขเมื่อ 18 ก.ย. 52 22:23:47
จากคุณ |
:
นักการทูตฝึกหัดปี 1 (Detente)
|
เขียนเมื่อ |
:
18 ก.ย. 52 22:13:58
|
|
|
|
 |