 |
ความคิดเห็นที่ 31 |
จากประสบการณ์ดิฉันนะคะ ดิฉันได้รู้จักชาวต่างชาติหลายคน หลายเชื้อชาติ ตั้งแต่ คนธรรมดา เด็กนักเรียน โปรเฟสเซอร์ ข้าราชการ คนแก่คนเกษียณ นักธุรกิจ
ทั้งจากญี่ปุ่นบ้าง อเมริกาบ้าง จีน ไต้หวัน ยุโรปบ้าง อิหร่านบ้าง และอื่นๆ ทุกๆ คนจะตื่นตาตื่นใจมาก ว่าทำไมบ้านเราถึงมีผัก ผลไม้ มีอาหารหลากหลายชนิด เป็นที่ฮือฮาทุกครั้งที่พาไปทานอาหารและไปเดินตลาดสด แถมยังราคาถูกแสนถูก รสชาดอร่อย หลายๆ ท่านบอกว่า ผลไม้ของแท้ มันต้องรสชาดแบบนี้สิ (ไทยแลนด์ดินแดนมหัศจรรย์)
เค้าอิจฉาคนไทยกัน มีของกินตลอดปี แถมราคายังถูก
พอพูดถึงข้าว ข้าวหอมมะลิบ้านเราก็อร่อย (ไม่มีใครเหมือน)
คือจะบอกว่า คนต่างชาติที่ได้รู้จักบ้านเรา เค้าอิจฉาคนบ้านเรามากๆ เลยนะคะ ที่ค่าครองชีพบ้านเรายังไม่สูงมาก อาหารหลากหลาย ปลูกอะไรก็ขึ้น
(ส่วนสวัสดิการขอไม่พูดถึงละกันค่ะ ๓๐บาทรักษาได้ทุกโรค ที่ดิฉันเคยเจอมา ก็ยังไม่มีปัญหาอะไร คุณยายเข้าโรงบาล ผ่าตัดขา จ่ายไปไม่ถึงพัน เพราะใช้สิทธิ์, ตอนนี้คุณแม่ก็รักษาโรคประจำตัวฟรี ตรวจร่างกายฟรีทุกเดือน, หลานอีกคนที่พิการ พ่อแม่เค้าก็ได้กู้เงินสำหรับคนพิการโดยใช้สิทธิ์ของลูกสาว มาเปิดร้านรับเย็บผ้าจากโรงงาน)
อีกเรื่อง คุณจะให้ชาวนาเค้าจ่ายภาษี คุณคิดว่ารายรับพวกเขามีเท่าไหร่กันคะ? เอาง่ายๆ ที่ดิน ๑๒ ไร่ ทำนาปี (แบ่งขายส่วนหนึ่ง เก็บไว้กินส่วนหนึ่ง) ขายข้าวหอมมะลิ ที่ราคา แสนละ ๑,๔๐๐ บาท (ราคาหน้าโรงสี) ปีนึงจะได้เงินจากการขายข้าวประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท บวกกับส่วนต่างที่รัฐบาลช่วยประกัน (เค้าประกันให้ที่แสนละ ๑,๘๐๐ บาท)
คุณรู้มั้ย ไอ้ ๓๐,๐๐๐ บาทเนี่ย มันอยู่ในมือชาวนาได้ไม่เกินอาทิตย์หรอกค่ะ เพราะเค้าต้องเอาเงินเนี๊ยไปหักหนี้ ธกส. เช่น - จ่ายเงินกู้ระยะสั้น/ เงินกู้ระยะยาว ของ ธกส. (เงินกู้พวกนี้ เค้าจะกู้กันปีต่อปี สมมติคุณไปกู้เงินครั้งแรก จะต้องเอาที่นาไปค้ำถึงจะได้เงินออกมา เหมือนธนาคารทั่วไป แต่ดอกเบี้ยถูกกว่ามาก พอขายข้าวได้เงิน ต้องเอาเงินไปจ่ายดอก/ต้น จากนั้นคุณก็จะสามารถกู้ต่อได้ พอทำนาขายข้าวได้ก็เอาเงินไปจ่ายดอก/ต้น เป็นวัฏจักรแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหาเงินมาไถ่ที่ๆ จำนองไว้ออกมา)
- จ่ายค่าปุ๋ย ธกส. (ชาวบ้านที่ไม่มีเงินสด ต้องซื้อปุ๋ยที่ ธกส. ค่ะ ถึงแม้ว่ามันจะแพงกว่าท้องตลาด)
- นอกจากนี้ยังมีเงินค่าสมาคม (เงินฌาปนกิจ, เหมือนประกันชีวิตแหละค่ะ แต่สมาชิกจะเป็นเกษตรกรลูกค้า ธกส.)
บางคน อาจจะมองว่าชาวนาเป็นตัวปัญหาสำหรับคนทำงานในเมืองใหญ่ คุณรู้มั้ยเศรษฐกิจบ้านเรามันหมุนได้ ก็เพราะพวกชาวนาชาวไร่นี่แหละ
ชาวนาชาวไร่ คือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พื้นฐานของห่วงโซ่เศรษฐกิจ
ดูนะคะ
ชาวนาปลูกข้าว ขายข้าวเปลือกให้โรงสี--->โรงสีขายข้าวสารให้โรงงานผลิตแป้ง---> โรงงานผลิตแป้ง ขายแป้งให้โรงงานทำขนม---> โรงงานทำขนมผลิตขนมแล้วแจกจ่ายให้ผู้ค้าส่ง---> ผู้ค้าส่งขายขนมให้ผู้ค้าปลีก---> แล้ววันนึง ชาวนาคนนั้น ที่เพิ่งได้เงินจากการขายข้าว ได้เดินทางไปติดต่อชำระหนี้ที่ ธกส. พอเสร็จจากธุระที่ ธกส. ชายคนนั้นเดินเข้าร้านมินิมาร์ทชื่อดัง ซื้อขนมแป้งอบกรอบกลับไปฝากลูกชายที่บ้าน
ปล. เมื่อปีที่แล้ว น้าดิฉันเล่าให้ฟังว่า ข้าวออกรวงกำลังสวยแต่ว่าโดนแมลงกิน แถมยังโดนภัยแล้งอีก ทำให้ข้าวแห้งตาย แล้วก็เม็ดลีบไปสามไร่กว่า ทำเรื่องไปที่เกษตรอำเภอ ขอให้เค้าส่งคนมาช่วย ก็ไม่มีใครมา เลยตัดต้นข้าวเอาไปให้เกษตรอำเภอดู ทางเกษตรฯ บอกว่า ให้ถ่ายรูปไปให้เค้าแล้วก็ทำเรื่องขอเงินช่วยเหลือมาละกัน
สุดท้าย เมื่อเดือนเมษาที่ผ่านมา น้าได้เงินช่วยเหลือมาประมาณหกร้อยกว่าบาท
เอ่อ... ให้เงินหกร้อยมาทำไม ที่น้าดิฉันอยากได้ คืออยากได้นักวิชาการทางการเกษตรที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยแก้ปัญหา
โยนเงินหกร้อยบาทมาทำไม? ทำไมไม่โยนคนมีความรู้มาช่วยชาวบ้านเขาแก้ไข
(ยาวหน่อยนะคะ มันอัดอั้นน่ะค่ะ เหอๆ)
จากคุณ |
:
คนเลี้ยงแกะปริศนา
|
เขียนเมื่อ |
:
10 ก.ย. 53 01:17:08
|
|
|
|
 |