 |
ขอบคุณค่ะ ไม่เป็นไรค่ะ แย้มก็ตอบเท่าที่รู้มาค่ะ พอดีแย้มไม่ได้เข้ามาอ่านอีกน่ะค่ะ เพิ่งทราบว่าคุณ ธ.ธรรมาธิกุล ถามอีก สำหรับคำถามที่คุณ ธ.ธรรมาธิกุล ถามต่อนะคะ
โดยปกติในสหรัฐอเมริกา สามารถเรียนข้ามสายวิชาได้นะคะ แต่สายวิชานั้นจะต้องเป็นสายวิชาที่มีวิชาเรียน ป.ตรี พื้นฐานใกล้เคียงกัน หรือ เคยเรียนวิชาพื้นฐานสำคัญๆ ร่วมกันมา
เช่น คนที่จบ ป.ตรี สาขา Physics มาสามารถไปเรียนต่อวิศวะ ได้ค่ะ ซึ่งเท่าที่ดิฉันเคยเห็นมา ก็จะมีคนที่จบ Physics แล้วข้ามไปเรียน Master's degree ในสาขา Civil Engineering, Environmental Engineering, Geological Engineering หรือ Electrical Engineering, Materials Engineering เป็นต้น อะไรแบบนี้ เพราะส่วนใหญ่หลักสูตร ป.ตรี Physics ของอเมริกา (และในหลายประเทศ) ก็จะให้เรียนวิชาพื้นฐาน ป.ตรี คล้ายๆ กับเด็กวิศวะ
เช่น เรียน Calculus, Advanced Calculus, Differential Equation, Electronics, Statics, Thermodynamics มาด้วยค่ะ แม้ความเข้มข้นอาจแตกต่างกันบ้าง (ตามลักษณะการนำไปประยุกต์ใช้/หรือทางสายวิทย์อาจเน้นทฤษฎีมากกว่า) แต่ก็ยังอยู่ scope เดียวกัน ดังนั้น ถ้าจะข้ามมาเรียน Master's degree ของอีกคณะหนึ่งก็ทำได้ เพียงแต่อาจจำเป็นต้องไปเก็บ course วิชาแกน ป.ตรี ของวิศวะ บางวิชาที่สำคัญๆ ค่ะ เพื่อให้มีพื้นฐานความรู้เพียงพอสำหรับการเรียนและทำวิจัยในระดับ Master's degree
แต่ก็มีเด็กวิศวะบางคนที่อเมริกากลับอยากกลับมาเรียนวิชาของทางคณะวิทยาศาสตร์ (Science) มากกว่าค่ะ คือบางคนจบวิศวะ แต่เลือกกลับมาต่อโททางสายวิทย์ก็มีไม่น้อยเช่นกันค่ะ บางคนเรียนจบเป็นแพทย์มาแล้ว กลับมาต่อเอกทางด้านคณิตศาสตร์/ฟิสิกส์ก็มีค่ะ แล้วเอาความรู้มาประยุกต์ใช้สร้างทฤษฎีอธิบายการไหลเวียนเลือดเฉยเลย
****************************************************** ขอคั่นนิดหนึ่งค่ะ
โดยทั่วไปวุฒิปริญญาตรี (Bachelor's degree) ในทางวิทยาศาสตร์ของอเมริกาเขาจะ มีวุฒิ 2 แบบค่ะ คือ B.A. (Bachelor of Arts) หรือ B.S. (Bachelor of Science) (ถ้าที่ Harvard , Princeton จะได้วุฒิเป็น A.B. เป็นคำย่อลาติน artium baccalaureus)
ซึ่งส่วนใหญ่คนที่จบจากคณะวิศวะในอเมริกาก็จะได้วุฒิ B.S. ค่ะ แต่จะวงเล็บหรือระบุว่าสาขาลงไปเช่น B.S. in Civil Engineering หรือ B.S. in Chemical Engineering เป็นต้น
ซึ่งวุฒิ ป.โท ของวิศวะ ของอเมริกาส่วนใหญ่ก็จะเป็นวุฒิ M.S. (Master of Science) ค่ะ เช่น M.S. (Civil Engineering) หรือ M.S. in Civil Engineering
ซึ่งแตกต่างจากทางฝั่งอังกฤษ ออสเตรเลีย หรือในบ้านเรา ซึ่งมักจะเป็นวุฒิชื่อว่า M.Eng. (Master of Engineering) หรือออสเตรเลียจะมี 2 แบบ คือ M.Eng. และ M.Eng.Sc. (Master of Engineering Science) ค่ะ
คนไทยบางคนจะคุ้นแค่ว่าวุฒิ M.S. เป็นวุฒิของคนจบคณะวิทยาศาสตร์ จริงๆ ไม่ใช่สำหรับทางฝั่งอเมริกาค่ะ เพราะวุฒิทางอเมริกาเขาไม่ทำให้ยุ่งยากซับซ้อน และเขาถือว่าคนเรียนจบทางวิศวกรรมศาสตร์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิทยาศาสตร์ค่ะ เขาจึงให้วุฒิ B.S. (ป.ตรี) หรือ M.S. (ป.โท) แต่บาง U ในอเมริกาอาจมีวุฒิ M.Eng. ซึ่งเป็นการเรียนแบบไม่ทำ Thesis ก็มีค่ะ
**************************************************** ทีนี้หากคุณ ธ.ธรรมาธิกุล ถ้าสนใจจะเรียนต่อโท สาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่เป็น core ของทางด้าน engineering จริงๆ เช่นพวก Civil, Mechanical, Environmental, Geological, Chemical, Electrical, Materilas คงเป็นไปได้ยากค่ะ เพราะไม่ได้เรียนวิชาพื้นฐานทางด้าน Physics, Maths, Chemistry หรือ Calculus มาค่ะ แต่ถ้าเรียนพวกบริหารการจัดการทางวิศวกรรมศาสตร์ อะไรแบบนี้อาจพอเป็นไปได้ค่ะ
ส่วนสายวิทยาศาสตร์ถ้าเป็นพวก core / pure science ไปเลยก็คงยากค่ะ เพราะหากจะต่อโทในสายพวก Biology, Maths, Physics, Chemistry อะไรพวกนี้เขาต้องมีพื้นฐานวุฒิตั้งแต่ ป.ตรี หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงกันในสายวิทย์มาก่อน เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ/เกษตรศาสตร์ อะไรแบบนี้ เป็นต้น ค่ะ แต่ในสายวิทย์ด้วยกันก็ต้องมีรายวิชาที่เรียนร่วมกันหรือคล้ายๆ กันมาพอควรนะคะจึงข้ามสายกันได้ง่าย
ที่อาจเหมาะกับเจ้าของกระทู้ ก็อาจมีพวก IT (Information Technology) ค่ะ เพราะถ้ามีความสามารถทางคอมพิวเตอร์สักหน่อย น่าจะเอามาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ เพราะการเรียนทางด้านสารสนเทศศาสตร์กับภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นอะไรที่เป็น Integrated knowlege อยู่นะคะ
แต่อาจจำเป็นต้องไปลงทะเบียนเรียนรายวิชา ป.ตรี ทาง IT หรือ Computer กับเด็ก ป.ตรี สัก 9-12 หน่วยกิต อันนี้ขึ้นกับทางคณะกรรมการหลักสูตร/อาจารย์ในหลักสูตรเขาจะแนะนำค่ะ ก็เคยเห็นนะคะ เด็กที่จบ B.A. in Anthropology มาเรียนต่อโทสาขาวิชา ICT (Information & Communication Technology) ค่ะ เขาก็ไปเรียนวิชา ป.ตรี พวก Software Design, Introduction to Programming, และ Information Technology, Computer Architecture & Database อะไรแบบนี้ค่ะ
แต่ก็จะทำให้เราเสียเวลาไปประมาณ 1 เทอมค่ะ ที่ต้องเก็บวิชาเหล่านี้ เผลอๆ อาจได้เก็บอีกเทอม แต่เทอมที่ 2 ก็น่าจะได้เริ่มลงบางวิชาใน ป.โท ได้แล้วค่ะ
ดังนั้นอาจใช้เวลา 2 ปีครึ่ง -3 ปี สำหรับการเรียน Masters สาขานี้
แต่เอาเข้าจริงๆ ก็ไม่ค่อยอยากแนะนำให้เรียนข้ามสายมากค่ะ
เพราะเวลาเราจะกลับมาทำงานเมืองไทย เขาก็มักดูเราตั้งแต่วุฒิ ป.ตรี เลยก็เลยทำให้เป็นข้อจำกัดของคนจบตรีด้านสาขาหนึ่งแต่ไปเรียนอีกสาขาหนึ่งค่ะ ซึ่งไม่เหมือนกับต่างประเทศนะคะ คนละเรื่องเลยค่ะ เพลียมาก บ้านเรา ขี้เกียจเมาท์ เดี๋ยวเขาจะหาว่าเรากระแดะค่ะ อิ อิ
************************************************ ถ้าหากอยากเรียนทางด้าน Linguistics จริงๆ ก็น่าจะเรียนในหลักสูตร Applied Linguistics นะคะ มีหลายแห่งนะคะที่เปิดสอนสาขานี้ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ของภาษา น่าจะเหมาะกับคุณ ธ.ธรรมาธิกุลมากกว่านะคะ
ซึ่งในต่างประเทศสาขานี้มักได้วุฒิเป็น M.Sc./ M.S. นะคะ เพราะเขาถือว่าเป็นศาสตร์ทางด้านกาเรียนวิทยาศาสตร์การออกเสียงและการสร้างเสียงภาษา แต่บาง U ก็ได้วุฒิ M.A. ค่ะ
ซึ่ง Lingistics จริงๆ ก็เหมาะสำหรับการนำมาใช้สอนและวิจัยได้นะคะ เหมาะสำหรับการมาทำงานเป็นนักวิชาการทีเดียวค่ะ อีกทั้งยังเป็นสายวิชาที่ยืดหยุ่น ทำงานได้หลายทาง น่าจะเลือกเรียนด้านนี้ให้เด่นๆ ไปเลยค่ะ คือ รู้อะไรให้รู้เริ่ดไปเลยค่ะ แล้วคน + เงิน + งานก็จะวิ่งหาเราเองค่ะ
เอาใจช่วยนะคะ เชียร์ค่ะ
(แก้คำตก + คำผิด)
แก้ไขเมื่อ 26 ธ.ค. 53 22:46:09
แก้ไขเมื่อ 26 ธ.ค. 53 22:25:52
แก้ไขเมื่อ 26 ธ.ค. 53 22:25:09
จากคุณ |
:
คุณหญิงแย้ม ณ นางทาส (คุณหญิงแย้ม ณ นางทาส)
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ธ.ค. 53 22:22:20
|
|
|
|
 |