 |
จขกท. ยังไม่รู้เหรอว่านี่คือธุรกิจอย่างหนึ่ง
ไม่เพียงแต่ "การศึกษาคือการลงทุน"
แต่ "การศึกษาคือธุรกิจอย่างหนึ่ง" เพราะก่อนจะได้ศึกษา เราต้องลงทุนกับการสอบภาษาอังกฤษ และเมื่อภาษาผ่าน ก็ต้องไปเสียเงินค่าเทอมมหาศาลอีก
เรียกว่าเดี๋ยวนี้ธุรกิจการศึกษานี่ ครบวงจรเลยล่ะครับ
จริงๆ ก็เข้าใจอยู่ว่าถ้าเราภาษาไม่ดีพอ เขาก็กลัวว่าเราจะไปเรียนไม่รอด เดี๋ยวจะฟัง จะเขียน จะพูด จะอ่านภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่อง แล้วจะเป็นปัญหา ก็เลยต้องใช้วิธีการสอบวัดผลทางภาษาอังกฤษขึ้นมา เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากล รองรับนักศึกษาต่างชาติที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่
แต่จะบอกว่า เดี๋ยวนี้มันกลายเป็นธุรกิจอยู่เนืองๆ เพราะว่า หากเรามาคิดดูให้ดี เกณฑ์การเข้าเรียนหรือเงื่อนไขคะแนนภาษาอังกฤษในแต่ละ U เริ่มสูงขึ้น แบบว่า มรึงสอบให้ตายไปข้างเลย ถึงจะเข้า U ฉันได้ หรือ ว่าก็ต้องเสียเงินจำนวนหนึ่ง (หลักแสนขึ้น) เพื่อไปลงเรียน pre-sessional course หรือ pre-enrollment english program หรือ Bridging program ของเขาก่อน (แล้วแต่ U ไหนจะตั้งชื่อ course ว่าอะไรแต่มันก็คืออันเดียวกันคือเรียนภาษาอังกฤษแบบเชิงวิชาการ)
อย่างที่ U ของผม แต่ก่อนเขารับ IELTS คือ ต้องได้ทุก band ไม่ต่ำกว่า 6.0 แล้วก็ overall 6.5 แต่เดี๋ยวนี้ ปรับใหม่ล่าสุด ต้องได้ทุก Reading ไม่ต่ำกว่า 6.5 writing 7.0 และก็ speaking ไม่ต่ำกว่า 6.5 เอ่อ คนไทยนะคร๊าบบบบบบบบ ไม่ใช่คนอังกฤษ จะได้พูดได้คล่อง 6.5 แค่ 6.0 ก็ได้ยากแล้วนะ
เล่นมาขึ้นเกณฑ์แบบนี้ คือถ้าไม่ได้ตามนั้น เขาก็จะ offer คอร์สภาษาอังกฤษมาให้ด้วยเลย ก็แหง ล่ะสิ ขึ้น English language requirement แบบนี้ กำหนดคะแนน IELTS ให้สูงขึ้นแบบนี้ เราก็ทำตามได้ยากขึ้น จริงๆ แบบเดิมก็น่าจะเหมาะสมแล้ว แต่ไปตั้งคะแนนมากขึ้น ก็จะทำให้นักศึกษาต่างชาติ ที่หวังจะเข้าเรียน U เข้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องสอบ IELTS ใหม่ๆๆๆๆ ซ้ำๆๆๆ จนกว่าจะผ่าน
หรือไม่ก็ไปเรียน course ภาษาอังกฤษก่อนเข้าเรียนโปรแกรมจริงๆ ซึ่งก็ได้เงินทั้งขึ้นทั้งล่อง ถ้าไปสอบ IELTS ใหม่ พวกศูนย์สอบ IELTS เขาก็ได้เงินเยอะแยะ แต่เราไปเลือกเรียน course Pre-sessional หรือ Bridging program ก็เสียเงินให้ U ตั้งหลายเหรียญ คิดเป็นเงินไทยก็เป็นแสน
มหาวิทยาลัยเมืองน้อย นี่ได้กับได้อย่างเดียวล่ะครับ
ถึงแม้เราจะรู้อยู่เต็มอกว่า ใช่ ถ้าภาษาอังกฤษไม่ดี อาจมีผลต่อการเรียนก็ได้ แต่บางครั้งมันก็ไม่ใช่เสมอไป เพราะการสอบบางทีมันวัดผลแค่ในช่วงเวลาที่เราสอบ บางคนอาจสอบแล้วมีความเครียด หรือ สอบแล้วตื่นเต้น หรือไม่สามารถทำข้อสอบทันเวลาที่กำหนด ทำให้คะแนนได้ไม่ค่อยดีตามที่ควรจะได้จริงๆ
เคยเห็นหลายคนเก่งมาก แต่พอสอบออกมาไม่ได้คะแนนอย่างที่ควรได้ เพราะอย่างที่ว่ามันมีปัจจัยจำกัดในช่วงของการสอบ บางคนอ่าน paper เก่ง เขียน paper เก่งแต่ไปสอบ TOEFL หรือ IELTS ได้คะแนนไม่ถึง 6.5 ก็มี ทั้งๆ ที่ความจริงศักยภาพเขาอาจเรียนแล้วผลิตผลงานดีๆ ได้ก็มี
จริงๆ มีงานวิจัยหลายชิ้นทางด้าน Education และการวิเคราะห์คะแนนทางภาษาอังกฤษ ที่จะแสดงให้เห็นว่า คะแนนภาษาอังกฤษมีผลต่อการเรียนในมหาวิทยาลัยมากน้อยเพียงใด
ตัวอย่างเช่น งานวิจัยชิ้นนี้ http://ehlt.flinders.edu.au/education/iej/articles/v3n4/feast/paper.pdf เขาก็พบว่าการขึ้นเกณฑ์ภาษาอังกฤษจาก IELTS 6.0 เป็น 6.5 ไม่ได้เป็นผลดีกว่าสักเท่าใด เพราะว่าอาจทำให้นักศึกษาต่างชาติลดจำนวนน้อยลง ในขณะที่คนที่เข้ามาเรียนโดยคะแนน IELTS 6.0 ก็ไม่ได้มีผลการเรียนแย่กว่าคนที่เคยได้ 6.5 สักเท่าใดนัก แต่ต้องกำหนดขั้นต่ำด้าน Reading และ Writing สัก 6.0 ก็เพียงพอแล้ว
ผมเองก็ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะว่าเด็กต่างชาติ โดยเฉพาะเอเซียอย่างๆเรา นั้นเป็นไปได้ยากที่จะไปพูดเก่งๆ จนจะได้ 6.5 หรือเขียนให้ได้ 7.0 ในช่วงเวลาจำกัดนี้ แล้วอีกอย่างการให้โอกาสเด็กต่างชาติเข้าเรียน ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นภาษาอังกฤษ ผมเชื่อว่าเขาก็จะพัฒนาทักษะขึ้นมาได้จากสิ่งแวดล้อมแน่นอน ดังนั้น การกำหนดที่ 6.0 จึงน่าจะเหมาะสมในเบื้องต้น ส่วนในสายที่ต้องใช้ภาษามากๆ อย่างกฏหมายหรือด้านแพทย์ อันนั้นก็เข้าใจว่าต้อง effective communication จริงๆ
ถ้าจะมองย้อนไปแล้ว ผมเองก็เห็นทั้งสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ชอบพูดว่า เราน่ะไม่กีดกัดคนต่างชาติ เราให้โอกาสประเทศโลกที่ 3 เราเป็นประชาธิปไตย เราค่อนข้างเห็นอกเห็นใจประเทศกำลังพัฒนา (รวมถึงไทยเราด้วย) และอื่นๆ ที่เขาเห็นอกเห็นใจเรา แต่เอาเข้าจริงๆ ไม่มีหรอก มีแต่จะเอาเงินจากเรานี่แหล่ะ
คิดดูแล้วกัน ประเทศเหล่านี้ ได้เงินค่าเรียนจากนักศึกษาต่างชาติปีหนึ่งๆ เท่าไหร่ มากมายเลยครับ อย่างออสเตรเลียเนี่ย รายได้หลักของประเทศมาจากเงินค่าเล่าเรียนของนักศึกษาต่างชาติเลยก็ว่าได้ ถ้าไม่มีนักศึกษาต่างชาติไปเรียนกับเขา เศรษฐกิจเขาคงจะแย่เลยล่ะ
ประเทศเหล่านี้ทั้งอเมริกา ออส อังกฤษ ได้เงินจากเราๆ ท่านๆ จากประเทศเอเซีย หรือประเทศที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเยอะมากมาย เขาไม่เห็นจะมาพูดว่าให้โอกาสอะไรหรอกครับกับกรณีนี้
ค่าสอบ IELTS ที่ออสเตรเลีย แพงกว่าที่ไทย 2 เท่านะครับ คือ 330 เหรียญ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 11,000 บาทต่อการสอบ 1 ครั้งนะครับ ไปดูสนามสอบเลยครับ สอบรอบหนึ่งมีคนสอบเกือบๆ 500 คน คิดดูสิครับ ผมลองคำนวณดูนะครับ 330 เหรียญ x 500 คน = 165,000 เหรียญ (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 5,445,000 บาท) ไม่รวยเละก็ให้รู้ไปเลยครับ
ยิ่งบาง U มาปรับคะแนน IELTS ขึ้นสูง เราๆ ท่านๆ ก็ต้องสอบใหม่แล้วสอบใหม่อีก บางคนอาจพอใจที่จะเลือกเข้า pre-sessional/pre-enrollment/bridging program จ่ายค่าเรียนภาษาเป็นแสนเอา (หวานหมู U เขาล่ะ) แต่จะบอกว่าไอ้ course พวก pre-sessional/pre-enrollment/bridging program เนี่ย บางทีไปเรียนแล้วก็ใช่ว่าจะสอบผ่านได้ง่ายๆ นะครับ บาง U ก็แข็งน่าดู สอบตกกันเยอะก็มี ก็ต้องเสียเงินทิ้ง กลับบ้าน หรือ ไม่ก็ขอเข้าเรียนใหม่ วนเวียนไปแบบนี้
คิดดูแล้วกันว่ารายได้ที่เข้า U ต่างประเทศมากน้อยแค่ไหน
ถึงเขาจะบอกว่าให้โอกาสการศึกษากับประเทศโลกที่ 3 หรือประเทศที่กำลังพัฒนา แต่เขาก็ต้องคิดระบบธุรกิจขึ้นมาควบคู่กันนะครับ เงินนะครับ ใครจะไม่อยากได้ แรกๆ อาจคิดแบบเชิงมนุษยธรรมอยู่หรอก แต่เวลาผ่านไป มีรายได้เยอะ เห็นเงินเป็นกอบเป็นกำ เขาก็ต้องหาวิธีให้ได้เงินเยอะขึ้นล่ะครับ
อย่าง course ภาษาอังกฤษที่ว่าหลายๆ U ในออสเตรเลียเขาก็ตัดจำนวน week ที่เป็น 5-6 weeks ทิ้งแล้วนะครับ ขั้นต่ำสุดส่วนใหญ่เกือบทุก U จะไปเริ่มที่ 10 weeks กันครับ ก็อาจใช่ที่ว่าเรียนแค่ 5-6 weeks ภาษาอังกฤษอาจไม่ดีขึ้น ต้องเรียนเยอะๆ หน่อย แต่เอาจริงๆ นะ เวลาไปเรียน course พวกนี้ มันก็ไม่ได้ทำให้เก่งอังกฤษเยอะขึ้นหรอก ต่อให้เรียน 10 สัปดาห์ก็ตาม เพราะมันเป็นการเรียนแนว research methodology เน้นการ take note การเขียน report การฟัง lecture และ presentation อะไรแบบนี้ แล้วเด็กๆ ก็ต้องทำงานหนักๆ การบ้านให้ทำก็เยอะ เสียจนไม่มีโอกาสไปฝึกพูดกับฝรั่งจริงๆ หรอก แบบว่าต้องรีบกลับบ้านไปทำ assigment แล้วคิดว่าการโยนการบ้านให้ทำเยอะๆ เนี่ยจะทำให้คนที่ไม่ได้เก่งภาษามากมาย พัฒนาขึ้นมาฉับพลันเหรอครับ เป็นไปไม่ได้หรอกครับ อาจดีขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น ที่สำคัญคือการเรียนในคลาสก็มีแต่นักเรียนต่างชาติเอเซียหรือคนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่แบบเราๆ คุยกันก็ไม่รู้ใครถูกใครผิด ครูเขาก็ไม่ได้มาสนใจหรอกนะครับ
จริงๆ ภาษาจะพัฒนามันต้องอยู่ว่าเราได้มีโอกาสไปสื่อสารกับเจ้าของภาษาบ่อยไหม ได้ฝึกฟัง ฝึกพูดกับเจ้าของภาษาด้วย แต่ในช่วงที่เรียน course พวกนี้มักจะไม่ค่อยได้ใช้หรอก เพราะต้องอยู่กับเพื่อนเอเซียหรือคนที่ไม่ได้เป็นเจ้าของภาษา ก็อาจทำให้เรากล้าพูดมากขึ้นเท่านั้น แต่ทักษะจริงๆ มันจะได้น้อยกว่าการได้พูดกับเจ้าของภาษาจริงๆ ครับ ดังนั้น ไอ้เหตุผลขึ้นเป็น 10 weeks น่ะ น่าจะเป็นข้ออ้างมากกว่า จะได้มีเงินเยอะขึ้นไงล่ะครับ เรียนตั้ง 10 weeks นี่เงินเป็นแสนนะครับ บาง U แสนกว่าครับ ยิ่งเรียน 15 weeks นะก็เฉียด 2 แสนเลย
คือ ต้องเข้าใจว่าเดี๋ยวนี้อะไรๆ มันก็เป็นธุรกิจไปหมดแล้วครับ และเราก็ทำอะไรไม่ได้ นอกจากเราจะต้องฝึกภาษาอังกฤษให้ดีพอ ที่จะสอบให้ผ่านเป็นที่พึงพอใจ U ต่างประเทศเขา เพราะมันเป็นเหมือนลูกโซ่ไปหมดแล้ว อย่าง U ดังๆ เขาก็ยิ่ง require ภาษาอังกฤษสูง ก็เพราะชื่อเสียงของ U ดังๆ ก็มีผลต่อการที่นักศึกษาจบแล้วจะได้ไปทำงานในบริษัทดังๆ ธุรกิจดีๆ อะไรแบบนี้ด้วย
=============================================== อีกอันหนึ่งที่แปลก (อาจไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง) คนไทยบางส่วนก็ชอบดูถูกคนไทยด้วยกัน ประมาณดูถูกคนที่ที่เรียนจบโทหรือเอกในไทย ซึ่งเป็นนิสัยที่ไม่ดีเลย ตรงนี้ก็มีผลทำให้เกิดค่านิยมแห่ไปเรียนเมืองนอกด้วย เราก็เหมือนนำเงินไปยังต่างประเทศมากขึ้น คือก็ต้องยอมรับว่าประสบการณ์ต่างประเทศก็ให้อะไรมากมาย แต่บางอย่างของไทยเราก็มีดีเช่นกัน อาจเรียนแบบไปทำวิจัยต่างประเทศเอาก็ได้ ก็จะได้ไม่ต้องเสียเงินมากมาย แต่ก็อย่างว่ามันคือค่านิยมไปแล้ว คนไทยบางคน ก็ดูถูกคนไทยด้วยกันอะไรแบบนี้ ทั้งๆ ที่แทนจะคิดว่าอาจารย์บางคนเขาก็จบจากสถาบันดีมาสอนให้ได้ความรู้ อุตส่าห์ไปเรียนถึงเมืองนอกมาสอนเด็กไทย แต่เด็กไทยกลับมาเหยียดสถาบันกันเอง บางคนดูถูกคนอื่น จนลืมไปว่า บางทีอาจารย์ที่สอนตัวเองให้เก่งเนี่ย อาจไม่ได้จบจากสถาบันดังๆ ก็ได้ อืม มันก็นานาจิตตังครับ แต่ตรงนี้ของไทยเราจะแตกต่างจากชาติญี่ปุ่น เกาหลี เขาภูมิใจกับสถาบันการศึกษาของเขามากนะ เขาไม่ได้มีค่านิยมขนาดไทยที่ต้องแห่ไปเรียนต่างประเทศมากมาย บางคนอาจไปเพื่อเพิ่มทักษะบางอย่าง เช่น ทักษะภาษาอังกฤษ หรือ ทำวิจัย เงินทองเขาจึงไม่รั่วไหลมาก และก็สามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้เทียบเท่าชาติตะวันตกด้วย
จากคุณ |
:
ภาพสะท้อนของกระจกเงา
|
เขียนเมื่อ |
:
27 มิ.ย. 54 13:27:14
|
|
|
|
 |