 |
มาต่อครับ
ประเด็นที่สำคัญอีกเรื่องคือ รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้รับการยกเว้นภาษีตามกฏหมาย ซึ่งรายได้ที่ฟอร์บส์ประเมินตกปีละ 9-11 พันล้านบาท แต่สิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ รัฐบาลยังต้องจ่ายเงินงบประมาณซึ่งได้มาจากภาษีประชาชนให้แก่สำนักพระราชวังอีกต่างหากถึงปีละ 84 ล้านเหรียญ สำนักงานอื่นที่เกี่ยวข้องอีก 15 ล้านเหรียญ และเมื่อรวมค่าใช้จ่ายสำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยเข้าไปด้วย เบ็ดเสร็จแล้วรัฐบาลมีงบประมาณค่าใช้จ่ายไว้เพื่อการนี้ทั้งหมด 194 ล้านเหร๊ยญสำหรับราชวงศ์และข้าราชบริพาร ในปี 2011
ที่ฝรั่งนำข้อเท็จจริงนี้ไปเปรียบเทียบกับราชวงศ์อื่น ไม่ใช่เพราะฝรั่งไม่ชอบกษัตริย์ไทยตามที่ คห 17 คิดและสรุปเอาเอง (ก็คูณบอกเองแท้ๆ ว่าในหลวงได้รับเสียงชมเชยและรางวัลมากมาย ซึ่งผมเชื่อว่าส่วนใหญ่ก็มาจากต่างประเทศทั้งสิ้น) แต่เป็นเพราะราชวงศ์อื่นในประเทศพัฒนาแล้วนั้น มีการแสดงที่มาที่ไปของรายได้อย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ รายได้ทั้งหมดที่ได้มานั้นไม่ว่าทางใดจะต้องเสียภาษีให้แก่รัฐ แม้แต่เจ้าชายชาลส์มกุฏราชกุมารอังกฤษยังเสนอด้วยความเต็มใจที่จะเสียภาษีรายได้ให้แก่รัฐ
Quote: Charles, Prince of Wales, has stated publicly that the Duchy of Cornwall is a "well managed private estate" and voluntarily pays certain taxes
แล้วก็เรื่องภาษีเป็นแบบนี้ครับ
Quote: In 2010, the duchy generated £17.1 million in income. Prince Charles paid income tax of 40%, the rate generally applicable to citizens of the UK liable to pay tax at the higher rate.
เหมือนหรือต่างกับ สนง. ทรัพย์สิน อย่างไรครับ?
ที่ คห 17 บอกว่าเปรียบเทียบกษัตริย์ที่ทำงานกับกษัตริย์ที่ไม่ทำงาน นั่นก็ผิดข้อเท็จจริงอีกครับ เจ้าหญิงแอนน์รับเป็นองค์อุปถัมภ์องค์กรกุศลมากกว่า 200 องค์กรและออกปรากฏตัวเพื่อหาทุนรายได้แก่องค์กรกุศลต่างๆ ถึงปีละ 700 ครั้ง เจ้าชายแฮรี่ก็อาสาสมัครออกไปรบในอัฟกานิสถาน แต่ไม่ได้รับอนุญาตเพราะอาจตกเป็นตัวประกัน และยิ่งเป็นอัตรายต่อชีวิตเพื่อนทหารและประเทศชาติ กระนั้นก็ยังแอบไปอยู่ได้ตั้ง 3-4 เดือนจนนักข่าวรู้กันในที่สุดก็ต้องกลับ เจ้าชายวิลเลี่ยมขณะนี้ก็ไปประจำการอยู่ที่เกาะฟอลค์แลนด์ ทุกคนไม่มีใครอยู่เฉยนั่งกินนอนกิน เพียงแต่ว่าสถานะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศต่างกัน ลักษณะการช่วยเหลือบ้านเมืองและประชาชนก็ต่างกันออกไป กษัตริย์ยุโรปนั้นถูกฝ่ายการเมือง การปกครองกันออกไปไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวเพราะถือว่าเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐบาล และจะได้ป้องกันมิให้ฝ่ายการเมืองใดใช้เป็นเครื่องมือหาเสียงกับประชาชน แยกภาระหน้าที่ออกไปต่างหากอย่างชัดเจน
แน่นอนครับ ฝรั่งเปรียบเทียบตามหลักการที่ฝรั่งคิด ความยุติธรรม เสรีภาพ และความโปร่งใส เหมือนกับที่ฝรั่งคิดวิธีการจัดอันดับ corruption กับประเทศทั่วโลก ถ้าไทยคิดว่ามีวิธีอื่นที่ดีกว่าก็น่าจะลองเสนอดูได้ครับ
แก้ไขเมื่อ 26 มี.ค. 55 18:32:18
แก้ไขเมื่อ 26 มี.ค. 55 17:55:38
จากคุณ |
:
Bhageera (Bagheera)
|
เขียนเมื่อ |
:
26 มี.ค. 55 17:12:54
|
|
|
|
 |