ความคิดเห็นที่ 7
มาขอแจมคุณอุดรหน่อยนะครับ
เรื่องชานี่ yourdictionary.com บอกว่าอย่างนี้ครับ
[Probably Dutch thee, from Malay teh, from Chinese (Amoy อ้ายมุ้ย ชื่อเก่าของไหหลำครับ) te (equivalent to Chinese (Mandarin) cha).] Word History: "Here thou, great Anna! whom three realms obey,/ Dost sometimes counsel take - and sometimes tea." When Alexander Pope wrote these lines from The Rape of the Lock in 1714, tea still rhymed with obey. This was true of many words spelled with ea, and it was just about in Pope's time that nearly all these words started changing their pronunciation from (เ -) to (อี), as in our modern pronunciation of tea (ที). Most modern English words whose main vowel sound is spelled -ea- were pronounced with long vowels in Middle and Old English. Many of these vowels were shortened in the 16th and 17th century to their modern pronunciations, as in our words dead and sweat. But those words that were pronounced with an (เ -) sound in Middle English (ภาษาของ Middle Earth เอ๊ย ไม่ใช่ ภาษาอังกฤษยุคกลางอ่ะครับ รอให้เจ๊ภูเขามาอธิบายละกัน) did not undergo this sound change and kept their long vowels, undergoing the further change in Pope's time to the modern "long e" sound. There were several exceptions to this last sound change, most notably the words break, great, and steak. Interestingly, the old pronunciation is also retained in Irish family names, such as Reagan, Shea, Beatty, and Yeats (in contrast to British family names such as Keats).
ผมต้องเปลี่ยนเป็นสระไทยเพราะพันธุ์ทิพย์ไม่มีฟอนท์ตัว phonetics ใช้อ่ะครับ
กลับมาเรื่องภาษาอังกฤษต่อละกันครับ เท่าที่ผมรู้นี่สมัยพระนารายณ์ตอนที่ทรงส่งพระยาโกษาฯ (ปาน) ไปฝรั่งเศสนี่คนไทยยังเจรจาความเมืองเป็นภาษาฝรั่งเศสไม่ได้นะครับ แต่ว่ามีล่ามเป็นพวกบาทหลวงฝรั่งเศสที่มาอยู่เมืองไทยนาน รู้สึกว่าจะมีบันทึกของบาทหลวงพวกนี้อยู่เยอะเหมือนกัน เช่น ของบาทหลวงกีย์ ตาชารด์ บาทหลวงลาลูแบร์ หาอ่านได้ที่นี่ครับ
ความอยู่รอดของพระพุทธศาสนา อุทาหรณ์จากสมัยกรุงศรีอยุธยา คัดลอกจากวารสาร สยามอารยะ เขียนโดย ด.ร. กิ่งแก้ว อัตถากร http://shalawan.www2.50megs.com/budhist-servive.htm
รายการวรรณกรรมสองแคว (เบอร์ 18, 21-23) http://www.thai-folksy.com/L2Qua/L2Q.html
อีกอย่างนึงตอนนั้นผมคิดว่าพระนารายณ์ท่านทรงอยากเผยแพร่ชื่อเสียงกรุงศรีอยุธยามากกว่าจะทำสนธิสัญญาจริงจัง ภาษาก็เลยไม่จำเป็นมากนัก
ที่น่าสนอีกอย่างนึงคือไม่ใช่ว่าคนไทยจะเพิ่งมาพูดอังกฤษกันได้ไม่นานมานี้ แต่ภาษาอังกฤษก็เพิ่งจะมามีความสำคัญเมื่อไม่นานมานี้เองนะครับ อย่างสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (คศ. 1638-1715) ตอนโกษาปานไปยุโรปเนี่ย อังกฤษก็นับว่าเป็นประเทศยุโรปชั้นสองเท่านั้น เศรษฐกิจและกองทัพก็ไม่ได้เข้มแข็งเหมือนสมัยหลังๆ จนเมื่อร้อยปีที่แล้วภาษาฝรั่งเศสก็ยังเป็นภาษาหลักของการทูตอยู่ และผมว่าด้วยความที่กองทัพเรือของอังกฤษยังไม่มีแสนยานุภาพมากมายเท่าสมัยหลังๆนี่แหละครับ ที่ทำให้สมัยนั้นไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษได้ในแถบบ้านเรา
อย่างสินค้าที่นำพวกยุโรปให้เข้ามาล่าอาณานิคม คือพวกทองคำ เพชรนิลจินดา กับเครื่องเทศเนี่ยนะครับ เครื่องเทศนี่ก็มีมากแถวอินโดนีเซียปัจจุบันซึ่งพวกฮอลแลนด์กับฝรั่งเศสก็แย่งชิงกันอยู่ ตอนสมัยอยุธยาตอนปลายรู้สึกว่าบริษัทค้าเครื่องเทศของฮอลแลนด์ก็มีโกดังเก็บสินค้าอยู่แถวๆกรุงเทพด้วยนะครับ จะสังเกตได้ว่าในพงศาวดารก็มีเรื่องพวกวิลันดาอยู่เยอะ และพวกทองคำ เพชรนิลจินดาทั้งหลายก็มีมากแถวอเมริกาใต้ ซึ่งสเปนกับปอร์ตุเกสก็แย่งชิงกันอยู่ อย่าง New York แต่ก่อนก็ชื่อ New Amsterdam นะครับ เพิ่งถูกอังกฤษแย่งชิงมาได้สมัยหลัง
ทีนี้ผมว่าที่น่าทึ่งเนี่ยคือประเทศเราเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้เร็วมากต่างหาก สมัยร. ๒ ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามระหว่างอังกฤษกับนโปเลียนเพิ่งจะจบไปไม่นาน และเป็นช่วงเริ่มต้นของยุคที่อาณาจักรบริติชครอบคลุม 1/4 ของพื้นแผ่นดินโลกเนี่ย คนไทยก็ยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ รู้สึกว่าตอนครอเฟิร์ดเข้ามานี่มีล่ามแปลตั้งสามทอดแน่ะครับ คือมีล่ามแปลไทยเป็นมลายู มลายูเป็นภาษาดัทช์ และดัทช์เป็นอังกฤษอีกรอบ แต่พอมาถึง ร. 4 นี่ท่านก็ทรงพระอักษรโต้ตอบกับ Sir John Bowring เป็นภาษาอังกฤษได้แล้ว และยังทรงพระอักษรภาษาลาตินไปหาบรรดากษัตริย์ในยุโรปอีกด้วย
เอ่อ แต่ที่ผมพล่ามมาตั้งนานเนี่ย อย่าเชื่อผมมากนะครับ ด้วยความที่ผมจบโรงเรียนไทยแค่ป. ๖ ก็เลยหาไอ้โน่นไอ้นี่อ่านไปเรื่อย จำได้อย่างละนิดอย่างละหน่อยถูกๆผิดๆ หาเพิ่มจาก google มั่งอะไรมั่ง เพราะฉะนั้นยกเวทีคืนให้คุณอุดรฯก็แล้วกันนะครับ
แต่ผมก็อยากรู้เหมือนกันนะเนี่ย ว่ากระทรวงศึกษาธิการเริ่มสอนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ตอนไหน
จากคุณ :
อนุมูลอิสระ
- [
วันจักรี 16:14:20
]
|
|
|