นานๆ จะนึกอยากตั้งกระทู้เล่นเกมกับเค้าซักที พอดีเมื่อวานนึกๆ ขึ้นมา
ว่าถ้าเกิดเล่นเกมประเภทต่อคำสุภาษิต หรือคำพังเพย น่าจะดีเหมือนกัน
จะได้ทบทวนกันด้วยว่าเรารู้จักคำพังเพยไทยกันแค่ไหน หรือลืมกันไปหมด
แล้ว หวังว่าคงจะเวิร์คนะคะ
ตัวอย่างนะคะ
คนแรก : ไก่ได้พลอย
คนที่สองอาจจะมาต่อว่า : พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
คนที่สามก็อาจจะ : ท้องยุ้งพุงกระสอบ (ทำตัวท.ให้เข้มไม่ได้
อ่ะค่ะ)
ประมาณเนี้ยค่ะ หลักการก็เหมือนเกมต่อเพลง หรือต่อกลอน(มั้ง) ค่ะ
คือต่อด้วยตัวอักษรนำ ของคำลงท้ายของคนก่อนหน้า (เอ้า... เข้ามาแก้ให้
งงหนักเข้าไปใหญ่)
เริ่มต่อจากท้องยุ้งพุงกระสอบนี่แล้วกัน ส.เสือค่ะ
ปล. ได้ทั้งสำนวน สุภาษิต คำพังเพยเลยนะคะ ว่าแล้วก็ขอเอาความหมาย
ของทั้งสามคำมาแปะให้ทราบค่ะ
สุภาษิต ได้แก่คำพูดที่พูดออกมา ไม่ว่าจะเป็นทำนองสำนวนโวหาร
หรือคำพังเพย แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอน
และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้อง
แปลความหมาย ตีความหมาย เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
2. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที
ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้
ของคำเหล่านั้น เช่น ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย
สำนวน ได้แก่คำที่พูดหรือกล่าวออกมาทำนองเป็นโวหาร เป็นคำพังเพย
เปรียบเทียบ จึงฟังแล้วมักจะ ไม่ได้ความหมายของตัวมันเอง ต้องนำไป
ประกอบกับบุคคล กับเรื่อง หรือเหตุการณ์จึงจะได้ความหมายเป็น คติ
เตือนใจ เช่นเดียวกับคำที่เป็นสุภาษิต
คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมาเป็นความหมายกลาง ๆ
คือ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่ก็แฝงคติเตือนใจหรือ ข้อคิดสะกิดใจให้นำไป
ปฏิบัติได้ และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ
ความจริงแท้ แน่นอน
รายละเอียดจาก http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-5/no44/
แก้ไขเมื่อ 17 เม.ย. 47 12:20:18
แก้ไขเมื่อ 17 เม.ย. 47 12:19:16
แก้ไขเมื่อ 17 เม.ย. 47 11:20:31
จากคุณ :
พริม @ Santa Monica
- [
17 เม.ย. 47 11:17:18
]