CafeTech-ExchangePantip MarketChatPantownBlogGangTorakhongGameRoom


    จาก Capitalism กลับไปสู่ Mercantilism

    รู้สึกทุนนิยมช่วงนี้จะถอยหลังลงคลอง ประเทศมหาอำนาจต่างๆ ให้ความสำคัญกับการสะสมน้ำมัน ตามแบบของพาณิชย์นิยม มากกว่าเน้นการผลิตตามแบบของทุนนิยม

    ปัจจัยของทุนนิยมแบบของสมิทธ ที่เน้นภาคการผลิตแข่งขันอย่างเท่าเทียม โดยผู้ผลิตรายเล็กหลายๆราย และผู้ซื้อรายเล็กๆหลายๆราย ที่ไม่มีอำนาจต่อรองในตลาด และรัฐไม่ควรจะยื่นมือแทรกแทรงการค้า

    แต่การแข่งขันอย่างรุนแรงและธรรมชาติของการค้าที่ใหญ่กว่าย่อมได้เปรียบ เลยทำให้คู่แข่งที่เล็กกว่าต้องยอมแพ้และตายไป อีกทั้งช่องว่างทางสังคมในประเทศต่างๆที่ถ่างออกไปเรื่อยๆ

    เมื่อถึงจุดนึงรัฐต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือรายย่อยต่างๆ ที่ถูกบริษัทใหญ่ๆบีบให้ตายไปจากตลาด ต้องกลับไปขายแรงงานประทังชีพไปวันๆตามอย่างมาร์กว่าไว้ โดยไม่มีทุนเป็นของตนเอง และไม่มีโอกาศจะมีทุน และไม่มีทุนจะมาลง

    รัฐช่วยด้วยการตั้งกำแพงภาษีเพื่อปกป้องบางอุตสาหกรรมในประเทศ และต้องมีสวัสดิการสังคมต่างๆ การรักษาพยาบาลฟรี ค่าเรียนลูกฟรี เพื่อช่วยเหลือแรงงาน


    แต่แทนที่ระบบเศรษฐกิจจะเป็นยุคใหม่ ที่ทุกคนเท่าเทียมกัน ทุกคนทำงานเพื่อมุ่งสู่จุดหมายเพื่อสร้างสังคมอุดมสุข ตามอย่างมาร์กได้ทำนายไว้ การปลดแอกโดยการรวมตัวกัน

    ยูเนี่ยนต่างๆของกรรมมาชีพได้ถูกลดทอนอำนาจ จากการซื้อตัวหัวหน้า เช่นข้อตกลงทางการเมืองกับหัวหน้าต่าง เมื่อพวกเข้าร่ำรวยขึ้น ก็ไม่ใช่ชนชั้นกรรมมาชีพอีกต่อไป อีกทั้งยังออกกฎหมายเอาผิดกับการประท้วงหยุดงานต่างๆ จนทำให้ยูเนี่ยนสลายตัวลงไปในที่สุด

    ทุนนิยมวันนี้กลับถอยหลังไปเป็นการสะสมวัตถุดิบเพื่อการสงคราม และ อุตสาหกรรม วัตถุดิบอย่างน้ำมัน ซึ่งกลายเป็นว่ากลับไปสู่ยุคล่าอาณานิคม เอาทรัพยากรอีกครั้งหนึ่ง

    แทนที่จะเอาทองคำ และแรงงานทาส แต่กลับเน้นการส่งออกอุตสาหกรรมไฮเทคและการครอบครองสิทธิบัตรในการผลิต เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ ยารักษาโรค
    และประเทศมหาอำนาจนำเข้าสินค้าที่ใช้แรงงานในการผลิต เช่นเกษตรกรรม อุตสาหกรรมหนักที่ใช้เทคโนโลยีต่ำแต่ใช้แรงงานสูง และการล่าทรัพยากรน้ำมันเพื่อกักตุน

    น้ำมันที่มีแนวโน้มการใช้สูงขึ้นในทุกประเทศเป็นทรัพยากรที่มีค่าของอุตสาหกรรมในระยะยาว และในยามสงคราม

    ทุนนิยมที่กำลังจะตายนั้น มีโอกาศยื้อชีวิตต่อแต่เปลี่ยนรูปไปมาก จากการที่นักการเมืองประเทศต่างๆ ใช้นโยบายชาตินิยม โดยการส่งเสริมประชาธิปไตยไปทั่วโลกโดยใช้สื่อต่างๆ อ้างว่าประชาธิปไตยสามารถประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและต้องไปควบคุ่กับทุนนิยม แต่ประชาชนไม่สามารถรู้ได้ว่าประชาธิปไตยก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ทุนนิยมเสมอไป

    การค้าแบบกึ่งบังคับ ที่สหภาพยุโยปและอเมริกา ให้ทุกคนเปิดเสรี แต่บังคับใช้กฎหมายปกป้องนายทุนเช่นสิทธิบัตร เป็นผลให้ช่องว่างทางฐานะของประเทศร่ำรวยห่างออกจากประเทศยากจนมากขึ้นทุกที โดยไม่มีทางแก้ไข
    หากประเทศใดไม่ยอมทำตามจะมีบทลงโทษ และอาจร้ายแรงถึงขั้นกำลังทหารเข้าจัดการ

    แต่ข้อเสียของพาณิชย์นิยม คือเน้นการสะสมทองคำและแร่เงินมากเกินไป อย่างที่สเปนเคยทำ เป็นผลให้ราคาสินค้าเทียบกับทองคำมีค่าสูงมากเทียบกับประเทศอื่น ตัวของระบบเองที่สนับสนุนการผูกขาดของพ่อค้าโดยกฎหมายของรัฐ รายรับหลักของรัฐมาภาษีของพ่อค้า และการกดขี่แรงงานโดยพ่อค้า

    เป็นอย่างไรบ้างครับบทความผมเพิ่งหัดเขียน มีผิดพลาดมั่งไหมครับ

    จากคุณ : โย - [ 2 มี.ค. 49 00:22:56 A:158.94.119.132 X: TicketID:115487 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป