ความคิดเห็นที่ 52
จิน กับซ่งใต้ ประวัติราชวงศ์ จิน เกิดจากชนเผ่า หนิ่นจิน (หนึ่งจิง) หรือที่นักประวัติศาสตร์สากลรู้จักกันในนามว่า ชนชาติ ยุรเชน เมื่อสมัยยุค อู่ต้าย (โหงวต่อ) ค.ศ. 907 - ค.ศ. 960 ชนเผ่า หนิ่นจิน แบ่งแยกกันออกเป็น 2 พวก พวกที่อยู่ทางตอนใต้ของภาคอิสานของประเทศจีน เรียกว่าพวก ซู่หนิ่นจิน (เส็กหนึ่งจิง) อยู่ในความปกครองของราชวงศ์ เหลียว ส่วนอีกพวกหนึ่งอยู่ทางเหนือขึ้นไปอีกทางภาคอิสานของจีน เรียกว่า เซินหนิ่นจิน (แชหนึ่งจิง) พวกนี้เป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้อาณัติของใคร ชนเผ่านี้ มีเผ่าที่เข้มเข็งที่สุดคือ เผ่า หยวนเหยียน (อ่วงง้วง) นำโดย หยวนเหยียนอากู้ต้า (อ่วงง้วงอากุ๊กต่า) อากู้ต้า ได้นำกองกำลังมาล้มล้างราชวงศ์ เหลียว ดังนั้น ในศักราช เจินเหอ (เจ่งฮั้ว) ปีที่ 5 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเฟยจง ค.ศ. 1115 เมื่อทางพระราชสำนัก ซ่ง เห็นราชวงศ์เหลียวอ่อนแอลง จึ่งได้ส่งราชทูตไปทำสัมพันธ์ไมตรีกับราชวงศ์ จิน เมื่อศักราชเจิ้นเหอปีที่ 7 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเฟยจง พ.ศ. 1117 ได้ตกลงทำสัญญากันว่า ราชวงศ์ ซ่ง และราชวงศ์ จิน จะร่วมมือกันโจมตีราชอาณาจักร เหลียว โดยราชวงศ์ จิน จะโจมตีจากทางทิศเหนือของกำแพงเมืองจีนลงมา ณ นครหลวงของราชอาณาจักร เหลียว นคร จงจิน หรือ ต้าติ้น (ไต่เตี่ย) ส่วนราชวงศ์ ซ่ง โจมตีจากทางใต้ขึ้นไป ณ นคร เยี่ยนจิน (อี่เกีย) ซึ่งก็คือกรุ ปักกิ่ง ในปัจจุบัน ที่ราชอาณาจักร เหลียว ครอบครองอยู่ เมื่อราชวงศ์ เหลียว ล่มจมลง ราชวงศ์ ซ่ง ก็ได้หัวเมืองตามชายแดนกลับคืนมาหลายเมือง แต่ราชวงศ์ จิน ได้ครอบครองราชอาณาจัก เหลียว ทั้งหมด นอกจากนี้ ราชบรรณาการที่ราชวงศ์ ซ่ง เคยส่งส่วยให้กับราชวงศ์ เหลียว กลับต้องมาส่งส่วยให้แก่ราชวงศ์ จิน แทน แต่ราชวงศ์ จิน ยังหาได้พอใจกับผลที่ได้รับเช่นนี้ไม่ จึ่งได้มุ่งเข็มลงมาทางใต้ เพื่อรังควาญราชวงศ์ ซ่ง ซึ่งกำลังอ่อนแอ ดังนั้น ในศักราช ซวนเหอ (ซวงฮั้ว) ปีที่ 7 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเฟยจง ค.ศ. 1125 ราชวงศ์ จิน ได้ใช้ขุนศึกของราชวงศ์ ซ่ง ที่สวามิภักดิ์กับราชวงศ์ จิน คือ จางเค่อ (เตียขัก) ยกทัพแบ่งแยกกันเป็น 2 ทาง มาโจมตีราชอาณาจัก ซ่ง เมื่อกองทัพของราชวงศ์ จิน ยกทัพลงมาใกล้นคร เปี้ยนจิน (เบี่ยงเกีย..หรือนคร ไคฟง) อย่างรวดเร็ว พระเจ้า ซ่งเฟยจง ทรงตกพระทัยทรงจับแขนของขุนนาง ไฉซิว (ฉั่วฮิว) เขย่า ทรงตรัสว่า ข้านึกไม่ถึงว่า ชาว จิน จะยกทัพรุกลงมาอย่างรวดเร็วเช่นนี้ แล้วพระองค์ก็ทรงตกพระทัยสิ้นสติสมฤดีอยู่บนพระแท่นบรรทม เมื่อทรงฟื้นคืนพระสติขึ้นมา ก็ทรงมีพระราชโองการลาออกจากตำแหน่ง ฮ่องเต้ ทรงแต่งตั้งพระราชโอรส จ้าวหวน (เตียวฮ้วง) ขึ้นเป็น ฮ่องเต้ แทนพระองค์ ทรงพระนามว่าพระเจ้า ซ่งจินจง (ซ้องคิมจง) บริหารประเทศ ส่วนพระองค์เองทรงไม่รับรู้เรื่องการศึกการเมืองทั้งปวง ทรงแต่งตั้งพระองค์เองเป็นพระเจ้า ไท่ซ่านหวาง (ไท้เซี่ยงด้วง) ทรงเสพสุขไปวัน ๆ ส่วนพระเจ้า ซ่งจินจง แม้นมีพระชนมายุได้ 25 พรรษา แต่พระองค์ทรงถูกเลี้ยงดูเจริญพระวัยแต่ในวัง ทรงมิประสีประสาในการบริหารบ้านเมือง พระองค์ทรงอาศัยขุนนางอำมาตย์เก่าแก่ เช่น ไฉจิน (ฉั่วเกีย), ถงก่วน (ท่งก้วง), เหนียนซือ (เนี่ยซือ), และ หลี่ปันหยาน (ลี่ปังหงีง), ซึ่งล้วนแต่เป็นขุนนางที่รักตัวกลัวตาย อาศัยการเจรจาสงบศึก ยอมเชือดเฉือนแผ่นดิน ซ่ง ให้แก่ราชวงศ์ จิน ไป วัน ๆ แต่กองทัพทหารราชวงศ์ จิน หาได้หยุดยั้งไม่ จนกระทั่งเมื่อศักราช ชินคัน (เช็งคัง) ปีที่ 2 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งจินจง พ.ศ. 1127 กองทัพของราชวงศ์ จิน นำโดยแม่ทัพ ซานฮาน ก็สามารถล้อมนคร เปี้ยนจิน เมืองหลวงของราชวงศ์ ซ่ง ไว้ได้ ราชวงศ์ ซ่ง ยอมแพ้ แม่ทัพ ซานฮาน จึงได้ควบคุมตัวพระเจ้า ซ่งเฟยจง, พระเจ้า ซ่งจินจง, พระมเหสี, พระสนมนางใน, เจ้าชาย, เจ้าหญิง, และเหล่าพระประยูรญาติ, ประมาณ 3,000 กว่าคน กวาดต้อนไปทางเหนือ ไปเป็นข้าทาสบาทบริจาริกาของ ฮ่องเต้ และขุนศึกของราชวงศ์ จิน เพราะฉะนั้น ราชวงศ์ ซ่ง ที่ถูกสถาปนาโดยพระเจ้า ซ่งไท่จู่ (ซ้องไท้โจ้ว) จ้าวคันย่าน (เตียวคังเอี๊ยง) จึงถึงแก่กาลอวสาน มีอายุราชวงศ์ได้ 167 ปี ค.ศ. 960 - ค.ศ. 1127 มี ฮ่องเต้ รวม 9 พระองค์ นักประวัติศาสตร์จีน เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า กรณีภัยพิบัติ ชินคัน ส่วนทางด้านทิศใต้ของประเทศต่ำลงมา ยังคงอุดมสมบูรณ์ บรรดาเหล่าขุนนางอำมาตย์ซึ่งสามารถหลบหนีจากการกวาดต้อนจับคร่ากุมของทหารราชวงศ์ จิน หนีลงมาทางใต้ได้ ต่างพากันยกย่องสถาปนาพระโอรสองค์ที่ 9 ของพระเจ้า ซ่งเฟยจง พระอนุชาต่างมารดาของพระเจ้า ซ่งจินจง คือเจ้า คันหวาง (คังอ๊วง) จ้าวเกา (เตียวเกา) เป็น ฮ่องเต้ ของราชวงศ์ ซ่ง สืบต่อไป ทรงพระนามว่าพระเจ้า ซ่งเกาจง (ซ้องเกาจง) แต่พระเจ้า ซ่งเกาจง แทนที่จะทำนุบำรุงกองทัพเพื่อยกทัพทำศึกกับราชวงศ์ จิน กู้คืนประเทศกลับมา พระองค์กลับทรงห่วงใยในตำแหน่ง ฮ่องเต้ ของพระองค์ เกรงว่า เมื่อช่วยพระบิดาและพระเชษฐากลับมาแล้ว พระองค์ก็ไม่สามารถอยู่ในตำแหน่ง ฮ่องเต้ ต่อไป พระองค์ทรงมิยินยอมทำศึกกับราชวงศ์ จิน แก้แค้นให้แก่ประเทศชาติ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ก็ทรงมีขุนศึกนายทัพที่มีความสามารถ ยกทัพไปโจมตีราชวงศ์ จิน จนเกือบสยบราชวงศ์ จิน ได้อยู่ ดั่งเช่น ขุนพล เย่ว์เฟย (งักฮุย), ขุนพล หันซื่จง (ฮั่งสี่ตง), พระองค์กลับทรงวางแผนเจรจาสันติภาพกับราชวงศ์ จิน และทรงวางแผนกำจัดขุนพลงักฮุย จนกระทั่งเป็นเหตุให้ 2 ฮ่องเต้, และ ฮองเฮา ต้องทรงทิ้งพระชนม์ชีพอยู่ในดินแดนของศัตรู นักประวัติศาสตร์จีน จึ่งได้เรียกราชวงศ์ใหม่ของพระเจ้า ซ่งเกาจง ว่า ราชวงศ์ หนานซ่ง (น่ำซอ้ง) ซึ่งแปลว่า ราชวงศ์ ซ่ง ฝ่ายใต้ หลังจากนั้นจินกับซ่งใต้ก็ทำสัญญาสงบศึกกับราชวงศ์ จิน ด้วยนโยบายที่เห็นแก่ตัวอย่างร้ายแรง พระองค์ทรงยอมลดฐานะของราชวงศ์ ซ่ง เปรียบเสมือนเมืองขึ้นของราชวงศ์ จิน ทรงยอมลดศักศรีของพระองค์ดั่งเช่นขุนนางของราชวงศ์ จิน ทรงยอมเชือดเฉือนดินแดนของราชวงศ์ ซ่ง หลายแห่ง กับทรงยินยอมเสียเงินทองและผ้าไหมคิดเป็นมูลค่า 250,000 ตำลึง เพื่อเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่ราชวงศ์ จิน นอกจากนี้ ยังทรงนำเอาชีวิตของขุนพล เย่ว์เฟย (งักฮุย) ซึ่งจงรักภัคดีต่อราชวงศ์ ซ่ง เป็นเครื่องเซ่นสังเวย เพื่อแลกกับสนธิสัญญาเลือด เป็นกระดาษสัญญาเพียงใบเดียว จนสุดท้ายมองโกลกล้าแข็งจีงปราบทั่งจินและซ่ง สถาปนาราชวงศ์หยวนขึ้นต่อไป
จากคุณ :
เซียวอิด
- [
22 ม.ค. 50 15:38:51
A:202.90.6.36 X:
]
|
|
|