ความคิดเห็นที่ 17
คงต้องพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ครับ คือ ถ้าปล่อยคุณ ซูจี ออกมาแล้ว จะเกิดผลอะไรขึ้นบ้าง
ข้อแรก คือ ผลกระทบภายในประเทศ ผมไม่ทราบว่า รัฐบาลทหารพม่าประเมินความมั่นคงของตนเองไว้ขนาดไหน หมายความว่า ถ้าปล่อยคุณซูจีออกมา เขาสามารถจะคุมสถานการณ์ได้หรือไม่ ตรงนี้คงต้องพิจารณาจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง:-
- พรรคฝ่ายค้านและผู้สนับสนุน
- ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ซึ่งมีการตั้งเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าเป็นจำนวนมาก ตรงนี้ผมว่าเป็นปัญหามากกว่ากลุ่มพรรคฝ่ายค้านของคุณซูจีเสียอีก เพราะกลุ่มพวกนี้จัดการได้ยาก, มีวิธีหารายได้ของตนเอง เช่นยาเสพติด, มีกำลังติดอาวุธ และอาจมีการสนับสนุนจากนอกประเทศด้วย
- กลุ่มในกองทัพพม่าเอง อย่านึกว่าจะคุมกันอยู่นะครับ เรื่องของผลประโยชน์ มันจะมีผู้ได้ประโยชน์ และผู้เสียประโยชน์ ผมยกตัวอย่างให้ฟังเรื่องนึง
ผู้บังคับบัญชาทหารพม่าที่อยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่านี่ ใครถูกโยกย้ายมาตรงนี้เขาถือว่าเป็นการให้รางวัล เพราะมีหนทางหากินสารพัด ดังนั้นตำแหน่งตรงนี้มักจะมีการโยกย้ายเสมอๆ เพราะผู้บังคับบัญชาในกองบัญชาการ SLORC ไม่อยากให้เกิดความแตกแยก ต้องให้ได้รับการแบ่งสรรประโยชน์เท่าเทียมกัน. การปฏิวัติซ้อนนี่มักจะเกิดเพราะการระแวงสงสัย การอุ้มชูลูกน้อง จนคนอื่นรู้สึกว่าผู้บังคับบัญชาไม่ให้ความเป็นธรรม
ข้อที่สอง คือ ผลกระทบภายนอก
ตรงนี้ผมว่า รัฐบาลทหารพม่าไม่ค่อยแคร์ เพราะแม้ในเวลานี้ที่ชาติตะวันตกพากันไม่ยอมติดต่อเขา แต่ผมว่า พม่าชอบใจซะอีก เพราะเขาอยากอยู่อย่างพอเพียงแบบนี้ อันนี้ที่บอกว่าเขาอยากอยู่คือความคิดของผู้นำทหารพม่านะครับ เพราะเมื่อไรให้ฝรั่งเข้าไป จะมีการตามอย่างฝรั่ง เพราะฝรั่งเข้าไปก็ต้องเอามาตรฐานฝรั่งตามเข้าไปด้วย อย่างน้อยก็โรงแรมต้องมีมาตรฐาน พอคนพม่าเห็นก็คงเหมือนคนทุกชาติ ว่าทำไมเราจะมีมั่งไม่ได้ แล้วก็จะตามมาด้วย รัฐบาลจำกัดสิทธิคนพม่า แต่ยกเว้นให้กับคนต่างชาติ ผลก็คือ ความวุ่นวายตามมา
ตอนนี้พม่ามีการนำเข้าสินค้าจากจีน, ไทย, มาเลย์ และสิงคโปร์ ซึ่งแค่นี้เขาก็ถือว่า เขาอยู่ได้แล้ว การส่งออกของพม่ารายการใหญ่สุดก็คือ ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวเมาะตะมะ วิ่งเข้ามาที่โรงไฟฟ้าราชบุรีของไทย ไม่ต้องห่วงเพราะยังไงไทยก็ต้องซื้อ มาเกี่ยงงอนอะไรไม่ได้ ไม่งั้นไม่มีไฟฟ้าใช้. ส่วนลูกค้าของพม่ารายอื่นก็คือ ญี่ปุ่น.
เรื่องของอาวุธยุทโธปกรณ์ พม่ได้รับความช่วยเหลือจากจีน อันไหนที่จีนไม่กล้าขายให้เพราะเกรงใจประเทศตะวันตก พม่าไปซื้อเอาจากเกาหลีเหนือ ที่รับชำระเป็นยาเสพติดก็ได้
ระบอบเผด็จการทหารแบบพม่ามีผลประโยชน์มหาศาล เพราะเขามีอำนาจคุมทุกอย่างในประเทศ ดังนั้นเขาคงไม่ยอมสูญเสียตรงนี้แน่นอน ตราบใดที่เขายังทำให้คนอยู่อย่างพอเพียงได้ ตรงนั้นก็คือหลักประกันว่า เขายังครองอำนาจได้ เพราะไม่มีใครมาคิดว่า เขาทำไมมีสิทธิมีอำนาจอยู่คนเดียว ตรงนี้แหละครับที่ผมถึงบอกว่า สภาพการรับรู้ของสังคมต่างกัน พม่ามีทีวี ๒ ชอง วิทยุ AM/FM อย่างละหนึ่งสถานี นั่งอยู่ในอำนาจมาหลายเจนเนอเรชั่น ทุกอย่างทหารพม่าคุมไว้ได้หมด นี่แหละครับ ฝรั่งเข้ามาก็จะมายุ่งกับเขา ทำไมทำอย่างนั้นไม่ได้ ทำไมทำอย่างนี้ไม่ได้
ตอนนี้่มาถึงปัญหาว่า ท่าทีของพม่าอ่อนลงต่อประชาคมโลกหรือเปล่า - พม่าไม่สนใจต่อประชาคมโลกเท่าไหร่ เพราะไม่ว่าประชาคมโลกจะแข็งกร้าวกับเขา หรือจะมีมิตรภาพให้กับเขา เขาก็ยังติดต่อทำมาค้าขายเหมือนเดิม ไทยจะบอกว่า ไม่งั้นเราไม่ซื้อก๊าซนะ พม่าคงหัวเราะ เพราะท่อส่งก๊าซนี่เราก็ลงทุนเอง หรือจีนก็ไม่สนใจกับเรื่องแบบนี้ เพราะจีนมีจุดมุ่งหมายจะใช้พม่าเป็นฐานที่มั่นในการออกสู่มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งตอนนี้จีนให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเซียใต้มากกว่าสมัยก่อนเยอะ เดี๋ยวนี้จีนกับอินเดียหันมาค้าขายกันแล้ว สบายทั้งคู่
สรุปแล้ว ผมเห็นว่า ในสภาพที่เป็นอยู่อย่างปัจจุบัน รัฐบาลทหารพม่าสนเรื่องความมั่นคงของตนเองมากกว่า ประชาคมโลกจะมีท่าทีอย่างไรในเรื่องของคุณซูจี พม่าไม่สนใจ เพราะพม่าไม่อยากให้ฝรั่งเข้ามามีบทบาทในพม่ามากอยู่แล้ว
สิ่งที่ผมว่า SLORC กลัวมากๆ คือ การที่อเมริกันจะส่งทหารบุกเข้ายึดพม่าเหมือนที่ทำกับอิรัค การส่งทหารเข้าไปปลดปล่อยพม่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ อ้างได้ทั้งเรื่องเพื่อให้พม่ามีประชาธิปไตย และเรื่องปราบปรามยาเสพติด และเมื่อมีรัฐบาลประชาธิปไตย อเมริกันสามารถหาวิธีเข้าไปซื้อสัมปทานได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ
แต่สิ่งที่อเมริกันจะต้องคำนึงถึงมากคือ พม่าไม่ใช่อิรัค ที่ประเทศเพื่อนบ้านของอิรัคก็หวาดระแวง เพราะอิรัคเคยเข้าไปยึดคูเวต, อิรัครบกับอิหร่าน อิรัคเลยเป็นอันธพาลในสายตาเพื่อนบ้าน
แต่พม่าไม่ใช่ พม่าเป็นเพียงบ้านที่ชอบปิดบ้านเงียบ ไม่สุงสิงกับเพื่อนบ้าน อีกสองประเทศที่คงรับไม่ได้กับการที่ทหา่รอเมริกันจะเข้าไปจัดการกับพม่าอย่างที่ทำกับอิรัคก็คงเป็นอินเดียกับจีน เพราะพม่าไม่เป็นภัยกับทั้งสองชาตินี้ การที่อเมริกันจะแผ่อิทธิพลมาทางแถบทะเลอันดามันคงทำให้อินเดียไม่สบายใจ จีนก็คงไม่ชอบที่เห็นเรืออเมริกันมาป้วนเปี้ยนแถวนี้เหมือนกัน
นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของพม่าคงจะมีท่าทีอ่อนลงถ้าหากว่า ประชาคมโลกลดความแข็งกร้าวกับเขาเท่านั้นเอง แต่อย่าลืมว่า อำนาจสูงสุดอยู่ที่ผู้นำทหารพม่าเท่านั้น
จากคุณ :
hummel
- [
วันวิสาขบูชา 22:23:43
]
|
|
|