ความคิดเห็นที่ 19
ปรัสเซียฉวยโอกาสที่ฝรั่งเศสกําลังเพรี่ยงพล้ําเข้าสู่สงครามอีก นโปเลียนกลับมาฝรั่งเศสเร่งระดมพลอย่างรวดเร็วอีกครั้ง ทําให้กําลังของฝรั่งเศสที่เตรียมรับมือรัสเซียในแนวรบด้านตะวันออกเพิ่มขึ้นจากเดิม ๓๐,๐๐๐ คน เป็น ๑๓๐,๐๐๐ คน และเป็น ๔๐๐,๐๐๐ คน ทั้งสองฝ่ายรบกันในการยุทธ์ที่ลึทเซน (Battle of Lutzen) ในวันที่ ๒ พฤษภาคม และในการยุทธ์ที่เบาทเซน (Battle of Bautzen) ในวันที่ ๒๐-๒๑ พฤษภาคม โดยมีทหารเข้าร่วมรบกว่า ๒๕๐,๐๐๐ นาย ผลของการรบครั้งนี้ส่งผลไปถึงอนาคตของฝรั่งเศส วันที่ ๔ มิถุนายน ทั้งสองฝ่ายตกลงสงบศึกชั่วคราว จนถึงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ในระหว่างที่พักรบนี้ทั้งสองฝ่ายต่างพยายามเสริมกําลังที่สูญเสียไปราว ๒๕๐,๐๐๐ นาย นับตั้งแต่เดือนเมษายน ฝ่ายพันธมิตรเองก็พยายามเจรจากับออสเตรียให้ตัดสัมพันธ์กับฝรั่งเศส ในที่สุดออสเตรียก็ส่งทหารสองกองทัพ เข้าร่วมกับพันธมิตร ทําให้พันธมิตรมีกําลังเพิ่มขึ้นอีก ๓๐๐,๐๐๐ คน ในดินแดนเยอรมนี รวมแล้วพันธมิตรมีทหารอยู่ในแนวรบด้านเยอรมนีถึง ๘๐๐,๐๐๐ คน และมีกําลังสํารองอีก ๓๕๐,๐๐๐ คน ที่พร้อมเสริมแนวหน้าได้ตลอดเวลา นโปเลียนเองก็พยายามเสริมกําลังทหารเพิ่มขึ้นเป็น ๖๕๐,๐๐๐ คน ในจํานวนนี้ ๒๕๐,๐๐๐ คน ขึ้นตรงกับจักรพรรดิ อีก ๑๒๐,๐๐๐ คน อยู่ใต้บังคับบัญชาของจอมพล นิโคลัส ชาร์ลส อูดิโนต์ และอีก ๓๐,๐๐๐ คน อยู่ใต้บังคับบัญชาของจอมพล ดาวูท สมาพันธ์แห่งไรน์มีกําลังทหารจากแซ๊กโซนีและบาวาเรียเป็นส่วนใหญ่ รวมกําลังทหารจากภาคใต้ที่มาจากเนเปิ้ล (มูราต) และยูจีน เดอ โบฮาร์เนส์ (Eugene de Beauharnais) ที่ครองราชอาณาจักรอิตาลี รวมกันทั้งหมดเป็น ๑๐๐,๐๐๐ นาย ทางแนวรบด้านสเปน มีทหารฝรั่งเศสรวมกันราว ๑๕๐,๐๐๐-๒๐๐,๐๐๐ นาย ตั้งรับยันกับทหารสเปนและอังกฤษราว ๑๕๐,๐๐๐ คน รวมแล้วในแนวรบทุกด้าน, ฝรั่งเศสมีกําลังทหารราว ๙๐๐,๐๐๐ คน ส่วนกําลังของพันธมิตรมีราวหนึ่งล้านคน (ไม่รวมกําลังสํารองในเยอรมนี) ในความเป็นจริง, ทหารเยอรมัน (สมาพันธ์แห่งไรน์) ไม่ได้ภักดีกับฝรั่งเศสเท่าใดนัก ดังนั้นกําลังทหารของนโปเลียนในเยอรมนีจริงๆ มีไม่เกิน ๔๕๐,๐๐๐ คน ซึ่งเท่ากับพันธมิตรเป็นต่อสองต่อหนึ่ง เมื่อการสงบศึกสิ้นสุดลง หลังเอาชนะกําลังที่เหนือกว่าของฝ่ายพันธมิตรได้ในการยุทธ์ที่เดรสเดน (Battle of Dresden, ๒๖-๒๗ สิงหาคม ๑๘๑๓) นโปเลียนดูเหมือนจะฟื้นขึ้นมาได้อีกครั้ง ฝ่ายพันธมิตรต้องสูญเสียทหารไปเป็นจํานวนมาก แต่ความผิดพลาดของบรรดาจอมพลของนโปเลียนและความล่าช้าเพราะพะวงในเรื่องความปลอดภัยทําให้ฝรั่งเศสสูญเสียความได้เปรียบที่จะได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ทั้งสองฝ่ายสู้รบกันอีกครั้งในการยุทธที่ไลพ์ซิก (Battle of Leipzig) ในดินแดนแซ๊กโซนี วันที่ ๑๖-๑๙ ตุลาคม ๑๘๑๓ ที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า ..การยุทธแห่งประชาชาติ.. (Battle of the Nations) ครั้งนี้ ทหารฝรั่งเศสต้องสู้รบกับทหารพันธมิตรกว่า ๔๕๐,๐๐๐ คน ฝรั่งเศสพ่ายแพ้และต้องถอนกําลังกลับเข้าไปตั้งมั่นในฝรั่งเศส นโปเลียนต้องสู้รบในสงครามย่อยๆ ซึ่งรวมทั้ง การยุทธ์ที่อาร์คิส-เซอร์-เอาเบ (Battle of Arcis-sur-Aube) ในฝรั่งเศส ซึ่งยังสามารถเอาชนะและผลักดันข้าศึกได้ ในระหว่าง ..สงครามหกวัน.. (Six Days Campaign, ๑๐-๑๔ กุมภาพันธ.) ที่เป็นการรบเพื่อยันกําลังของข้าศึกที่รุกเข้าหาปารีส นโปเลียนไม่เคยบัญชาการทหารพร้อมกันมากมายเหมือนครั้งนี้ที่มีทหารฝรั่งเศสกว่า ๗๐,๐๐๐ คน รบกับทหารพันธมิตรกว่า ๕๐๐,๐๐๐ คน ก่อนหน้านี้ฝ่ายพันธมิตรได้ทําข้อตกลงกันในสนธิสัญญาเชามองท์ (Treaty of Chaumont, วันที่ ๙ มีนาคม) ว่าจะร่วมกันรบจนกว่านโปเลียนจะพ่ายแพ้ ในที่สุดทหารพันธมิตรเข้าปารีสได้ในวันที่ ๓๐ มีนาคม ๑๘๑๔ นโปเลียนตั้งใจจะต่อสู้ต่อไป แต่ถึงเวลานี้สงครามได้ทําให้ประชาชนไม่สนับสนุนเขา ระหว่าง ..สงครามหกวัน.. นโปเลียนได้เรียกเกณฑ์ทหารใหม่อีก ๙๐๐,๐๐๐ คน ซึ่งก็มีพวกหนีเกณฑ์ และฝรั่งเศสไม่มีหวังที่จะชนะศึกครั้งนี้ได้ นโปเลียนจึงตัดสินใจยุติปัญหาโดยสละราชบัลลังก์ในวันที่ ๖ เมษายน มีการลงนามในสนธิสัญญาฟองเตนเบลอ (Treaty of Fontainebleau) และมีการจัดประชุม Congress of Vienna เพื่อจัดระเบียบในยุโรปขึ้นใหม่
[คลิกเพื่อชมภาพขนาดจริง] |
|
| | |
จากคุณ :
hummel
- [
29 พ.ค. 50 03:29:17
]
|
|
|