ความคิดเห็นที่ 8
อย่างไรก็ดีการทำสงครามปฏิวัติโดยใช้บริเวณชานเมืองเป็นฐานที่มั่นนั้น ยังคงต้องได้รับ การสนับสนุนจากประชาชน เพื่อทำสงครามยืดเยื้อตามทฤษฎีของเหมาฯ แต่วิธีการอาจจะแตก ต่างออกไป สิ่งที่ผู้นำการปฏิวัติจะต้องกระทำคือ สร้างแรงกดดันให้รัฐบาลปรับเปลี่ยน ยุทธศาสตร์โดยใช้การททหารนำการเมือง และยั่วยุให้ใช้อาวุธเข้าปราบปรามผู้ก่อการปฏิวัติ และประชาชนที่ให้การสนับสนุน หากการปราบปรามเพิ่มความรุนแรงและขยายตัวออกไป อาจ ทำให้ประชาชนหันมาสนับสนุนฝ่ายปฏิวัติมากยิ่งขึ้น นั่นคือ การบรรลุผลสำเร็จตามขั้นตอนการ ทำสงครามประชาชน
การทำสงครามบริเวณชานเมืองนี้หากมองย้อนไปในอดีตจะเห็นได้ว่า มีการนำมาใช้ใน สงครามโลกครั้งที่ ๒ หลายแห่ง อาทิ การต่อสู้ของทหารรัสเซียเพื่อป้องกันเมืองสตาลินกราด จากการโจมตีของทหารเยอรมัน และการการต่อต้านกำลังทหารอเมริกันของทหารญี่ปุ่นใน การบุกเพื่อปลดปล่อยกรุงมะลิลา ซึ่งในครั้งนั้นทำให้ทหารอเมริกันเสียชีวิตไปถึง ๑,๐๐๐ นาย การทำสงครามในลักษณะนี้ กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง ของกลุ่มหัวรุนแรงที่ต้องการแบ่งแยก ดินแดนเรียกร้องเอกราชและเสรีภาพในยุโรปเช่น ในเชซเนีย ไอร์แลนด์เหนือ และบอสเนีย เป็นต้น สำหรับในลาตินอเมริกานั้นการทำสงครามบริเวณชานเมือง ที่ผ่านมามักจะไม่ได้รับ ผลสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้นพวกผู้ก่อการร้ายจึงหันกลับไปใช้การทำสงครามประชาชนโดยจัดตั้ง ฐานที่มั่นใน ชนบทโดยใช้กลยุทธ์ป่าล้อมเมือง และเป็นสงครามยืดเยื้อตามแนวความคิดของ เหมาฯ แทนอย่างไรก็ดีหากสภาพเศรษฐกิจ สังคมและลักษณะทางภูมิศาสตร์เปลี่ยนแปลงใน ลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการทำสงคราม บริเวณชานเมืองแล้ว พวกกลุ่มต่อต้านรัฐบาลอาจจะหัน กลับไปใช้วิธีการต่อสู้โดยยึดชานเมืองเป็นฐานที่มั่น มากขึ้นก็เป็นไปได้
บทสรุป การล่มสลายของสหภาพโซเวียตนอกจากจะทำให้สงครามเย็นสิ้นสุดลงแล้วยังทำให้ความ เลื่อมใสศรัทธา และความเชื่อมั่นที่มีต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ของประชาชนในส่วนต่างๆ ของโลก ต้องเสื่อมถอยตามไปด้วยแต่อย่างไรก็ดีแนวความคิดในการต่อต้านรัฐบาลที่จะนำ ไปสู่การทำ สงครามปฏิวัตินอกจากจะดำรงอยู่มิได้สูญเสียหรือเสื่อมถอยลงไปด้วยแล้ว ยังมีการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง ตราบเท่าที่การใช้อำนาจรัฐเพื่อบังคับขู่เข็ญ และกดขี่ข่มเหงประชาชน ตลอดจนความ เหลื่อมล้ำของสังคม ความยากจนและการว่างงานยังคงมีอยู่ในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะ ประเทศในโลกที่ ๓
ในการทำสงครามปฏิวัติที่ผ่านมานั้น จะเห็นได้ว่ายุทธศาสตร์ และยุทธวิธียังคงมีความ สำคัญ ต่อความสำเร็จและความล้มเหลวบทเรียนในอดีตจะเปรียบเสมือนกุญแจที่นำไปสู่ความ สำเร็จของการทำสงครามปฏิวัติในอนาคต นอกจากนี้การจัดกลุ่มเพื่อรณรงค์ต่อต้านรัฐบาลทาง การเมืองการทำสงครามกองโจร และการก่อการร้ายยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการ ต่อต้านรัฐบาล แต่อย่างไรก็ดี ความสำเร็จของการปฏิบัติการ ยังคงขึ้นอยู่กับความสามารถของ ผู้นำการปฏิวัติที่จะปรับเปลี่ยนทฤษฎีให้เหมาะสมกับ สภาวการณ์ทางสังคมเศรษฐกิจ การเมือง และภูมิศาสตร์ สำหรับทฤษฎีหลักนิยม และอุดมการณ์ที่กลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มขวาจัด หรือกลุ่มคลั่งลัทธิศาสนาหรือกลุ่ม เชื้อชาติ จะนำมาใช้ในศตวรรษที่ ๒๑ นั้น จะยังคงวนเวียน อยู่กับการยุทต์ทฤษฎีของมาร์กซ์ เลนิน และเหมาเจ๋อตุง ซึ่งที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามี ประสิทธิภาพสำหรับสงครามปฏิวัติ
สำหรับการต่อต้านการทำสงครามปฏิวัตินั้น ประเทศต่างๆ จะต้องศึกษาและทำความ เข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของการทำสงครามปฏิวัติ ต้องพยายามขจัดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่สถาน การณ์ ปฏิวัติ ใช้เครื่องมือและกลยุทธ์ทาง การเมือง การทหารเศรษฐกิจหรือแม้แต่ทางสังคม ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการต่อสู้ โดยผสมผสานกันทั้งในระดับยุทธศาสตร์และยุทธวิธี การใช้ปฏิบัติการทางทหารแต่เพียง อย่างเดียวอาจจะนำไปสู่ความล้มเหลวและพ่ายแพ้
จากคุณ :
Skyman (Analayo)
- [
11 มิ.ย. 50 17:55:36
]
|
|
|